โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 10 กันยายน 2561 2,292 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด สุขภาพกับการทำงาน / กฏแห่งพฤติกรรม
10 ก.ย. 2561 อ่าน 2,137 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
10 ก.ย. 2561 อ่าน 2,030 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,845 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,903 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,949 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,515 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
“You are what you eat”
เราคงเคยได้ยินประโยคอมตะประโยคนี้กันมาบ้างแล้ว ความจริงไม่ใช่แค่เรื่องการรับประทานเท่านั้น แต่พฤติกรรมทางสุขภาพอื่นๆ ในปัจจุบันของเรา จะเป็นตัวกำหนดสภาวะทางสุขภาพของเราในอนาคตได้เช่นเดียวกัน เสมือนกฏแห่งกรรมกันเลยทีเดียว แถมยังเป็นกรรมชนิดติดจรวดให้เห็นกันในชาตินี้เสียอีกด้วย
ดังนั้นนอกเหนือจากการรับรู้สภาพของร่างกายในปัจจุบันของเราแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ควรหันมามองคือพฤติกรรมทางสุขภาพของเราในขณะปัจจุบัน เพราะพฤติกรรมเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดสภาพร่างกายและสภาวะสุขภาพของเราในอนาคต เราจึงควรหันกลับมาสำรวจตัวเราเองเสียทีว่า ตอนนี้ตัวเรามีพฤติกรรมด้านดีกับด้านที่ไม่ดีกันอยู่อย่างละมากน้อยเท่าใด เพื่อที่เราจะได้เอาสิ่งเหล่านี้มาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดเป็นเป้าหมายทางสุขภาพที่ดีต่อไปในอนาคต
ลองหยิบกระดาษปากกามาค่อยๆ เขียนดูกันเสียหน่อยดีกว่าว่า ตอนนี้เรามีพฤติกรรมมทางสุขภาพดีๆ ที่น่าภาคภูมิใจสักกี่ข้อ แล้วพฤติกรรมที่ไม่ดี ที่เราเคยละเลยมันไปมีสักกี่ข้อ ฝั่งไหนมันมากกว่ากัน
หลังการสำรวจ ถ้าเรามีพฤติกรรมอะไรที่จะส่งผลที่ไม่ดีต่อสุขภาพของเรา เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือการรับประทานอาหารตามใจปาก เราก็สามารถนำเอาสิ่งเหล่านี้มาเป็นเป้าหมายที่จะนำไปแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้เราอยู่รอดปลอดภัย ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของพฤติกรรมที่เลวร้ายเหล่านั้น หลายๆ คนอาจจะมีเหตุผลหลายๆ อย่างมาคัดค้านความอยากเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ บ้างก็อ้างเหตุผลทางสังคม บ้างก็อ้างการให้รางวัลกับชีวิตตัวเอง แต่จริงๆ แล้ว เราเองก็น่าจะสามารถให้คำตอบกับตัวเราเองได้โดยไม่ต้องอาศัยคำตอบจากหมอๆ ทั้งหลายเสียด้วยซ้ำว่า สุดท้ายแล้วพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลอย่างไรกับตัวเรา ลองถามตัวเราเองให้ดี ว่าเราต้องการแลกความสุขจากสุขภาพที่ยั่งยืน กับความสุขที่ฉาบฉวยเฉพาะหน้านี้จริงๆ หรือไม่ มันคุ้มกันแล้วหรือ
ในทางกลับกันพฤติกรรมอะไรที่ดีอยู่แล้ว ก็ใช่จะวางเฉยและพอใจแค่นั้น เราสามารถนำสิ่งดีๆ เหล่านั้นมาตั้งเป้าหมายให้ท้าทาย และเกิดการพัฒนาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีกได้ เสมือนเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งของเกราะป้องกันโรคของตัวเราเอง จนยากที่โรคภัยไข้เจ็บใดๆ จะสามารถเจาะเข้ามาถึงตัวเราได้ เช่น บางคนสามารถออกกำลังกายได้อาทิตย์ละสามวันตามคำแนะนำขั้นต่ำของหมอ แต่คงจะดีกว่าถ้าเราสามารถแบ่งเวลามาให้ตัวเราเองสักวันละชั่วโมงเพื่อที่จะออกกำลังกายทุกวัน หรือผู้ป่วยโรคเบาหวานบางคนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี เพราะขยันรับประทานยาทุกวัน แต่จะดีกว่าไหมถ้าเขาสามารถควบคุมอาหารให้ดีขึ้น แล้วควบคุมระดับน้ำตาลได้โดยไม่ต้องรับประทานยาอีกต่อไป เป็นต้น ในเมื่อในชีวิตการทำงานเรายังสามารถพัฒนาศักยภาพการทำงานของตัวเราเองได้ แล้วทำไมเราไม่หันมาพัฒนาศักยภาพทางสุขภาพของตัวเราเองบ้าง จริงไหมครับ
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป้นสิ่งที่เราเองรู้ตัวเราเองดีที่สุด เรารู้จักความคิดและพฤติกรรมของตัวเราได้ดีกว่าใคร ไม่เว้นแม้กระทั่งหมอเจ้าของไข้อย่างผม แต่จะมีสักกี่คนที่ตะหนักและให้เวลากับมัน ส่วนใหญ่ก็จะโยนหน้าที่ไปให้หมอเป็นคนบอกแทนว่าเป้าหมายสุขภาพของเราคืออะไร แล้วเราควรทำอย่างไร แล้วในที่สุดมันก็ไม่ประสบความสำเร็จ มันก็ไม่เกิดความเปลี่ยนแปลง เพราะเป้าหมายของหมอเอง อาจไม่ใช่เป้าหมายสำคัญอะไรเลยสำหรับเรา เป้าหมายนั้นอาจจะไม่ใช่เป้าหมายที่เราอยากจะทำ เมื่อเราไม่มีความคิด “อยาก” เสียแล้ว ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
10 ก.ย. 2561 อ่าน 2,137 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
10 ก.ย. 2561 อ่าน 2,030 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,845 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,903 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,949 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,515 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
หมวด Coaching อ่าน 4,743
หมวด Coaching อ่าน 2,645
หมวด Coaching อ่าน 3,882
หมวด Coaching อ่าน 2,948
หมวด Coaching อ่าน 2,598
หมวด Coaching อ่าน 4,154
หมวด Leadership อ่าน 3,002
หมวด Leadership อ่าน 10,616