Constra
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการ
    •   Program Development Consultant
      • All
      • Consultant Program
      • Training Roadmap
      • Blended Learning
      • Cascade Program
      • Specific Group Program
      • Course by Tooling Program
      • Program by Competency
      • People Development by Internal Manager Program
      • Height Potential Group Development
    •   Learning Management System
    •   Value Competency Solution Provider
      • Training & Group Coaching
      • One on One Coaching
      • Assessment Tools
    •   In-house Training
    •   New Program 2023
    •   Public Training 2023
    •   Virtual Class Room
    •   Online Merge Offline
    •   Online Course
    •   Package In-house
    •   หลักสูตรแบบบูรณาการ
    •   ทำแผนฝึกอบรมประจำปี
    •   Learning Journey
    •   Operation Package
  • วิทยากร
  • ผลงาน
    •   Our Portfolio and Gallery
    •   หลักสูตรที่เคยฝึกอบรม
    •   ตัวอย่างลูกค้าของเรา
    •   เสียงตอบรับจากผู้เข้าอบรม
  • HRD Zone
    •   การออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร
    •   เรียนออนไลน์ฟรี
    •   ห้องสมุดสำหรับ HR
    •   คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
  • ดาวน์โหลด
  • ห้องสมุด
  • ร้านค้า
  • แบบทดสอบ
  • ติดต่อเรา
  • Search
    ×

    ค้นหาบน ENTRAINING ด้วย GOOGLE

  • Member
  • EN
Login สู่ระบบสมาชิก
 สมัครเป็นสมาชิกฟรี     ลืมรหัสผ่าน

การคิดเชิงระบบ Systems Thinking

  โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง     7 มิถุนายน 2562     35,573     1

หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การพัฒนาตนเอง / การคิดเชิงระบบ Systems Thinking

บทความอื่นๆน่าสนใจ

การออกแบบระบบ Systems Design

7 มิ.ย. 2562   อ่าน 7,606    หมวด การพัฒนาตนเอง

องค์ประกอบที่สำคัญของหน้าที่

21 มิ.ย. 2562   อ่าน 2,963    หมวด การพัฒนาตนเอง

การฝึกฝนทักษะการฟัง

21 มิ.ย. 2562   อ่าน 1,873    หมวด การพัฒนาตนเอง

การสื่อสาร สร้างสัมพันธ์ ใจชื่นบาน งานสำเร็จ

28 มิ.ย. 2562   อ่าน 2,353    หมวด การพัฒนาตนเอง

การสร้างกรอบความคิดที่ดี Mindset

28 มิ.ย. 2562   อ่าน 2,114    หมวด การพัฒนาตนเอง

ประเภทของเป้าหมาย 5 ระดับ

5 ก.ค. 2562   อ่าน 10,921    หมวด การพัฒนาตนเอง

     เมื่อเอ่ยถึงการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) หลายคนคงนึกถึง หนังสือที่ชื่อว่า “The Fifth Discipline” ของ Peter M. Senge ซึ่งพูดถึงวินัยทั้ง 5 ประการ ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ได้แก่
     1. Personal Mastery
     2. Mental Models
     3. Shared Vision
     4. Team Learning
     5. Systems Thinking

     แต่เหตุใด Peter M. Senge จึงตั้งชื่อหนังสือว่า The Fifth Discipline เพราะ Senge เชื่อว่า การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) คือ วินัยที่เป็นเสาหลักสำคัญขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (The Cornerstone of the Learning Organization)

     Systems Thinking คือ ความคิดเชิงระบบ ที่มุ่งเน้นในการมองภาพรวม มองให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แทนที่จะมองแต่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มองให้เห็นรูปแบบการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะมองเฉพาะจุด

     จริง ๆ แล้ว การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) เป็นเรื่องที่เราสามารถมองเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ถ้าลองจินตนาการถึงการเติมน้ำใส่แก้วเพื่อแปรงฟัน คุณอาจจะคิดว่าก็คงไม่มีอะไร “ก็แค่เปิดก๊อกน้ำเติมน้ำใส่แก้ว” ดูเหมือนลำดับความคิดจะเป็นแบบเส้นตรง (Linear Thinking)

     แต่ในความเป็นจริง รูปแบบความคิดในสมองคุณไม่ได้เป็นเช่นนั้น ขณะที่คุณกำลังเติมน้ำนั้น สายตาคุณก็กำลังมองระดับน้ำในแก้วที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้น สมองคุณก็เริ่มเปรียบเทียบระดับน้ำในแก้วกับระดับน้ำที่ต้องการ จากนั้นสมองคุณก็เริ่มสั่งการร่างกายให้มือขยับไปหมุนก็อกน้ำให้ค่อย ๆ ปิดลง จนปิดสนิทเมื่อระดับน้ำในแก้วขึ้นมาถึงระดับที่ต้องการจะเห็นว่ากระบวนการ “เติมน้ำใส่แก้ว” นั้น ก็เป็นตัวอย่างง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ที่ใช้การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ดังแสดงในรูปที่ 2.1

     เหตุใดการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) จึงมีความสำคัญ ? ก็เพราะสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรา รวมไปถึงตัวเราเองด้วยนั้น ล้วนมีความสัมพันธ์โยงใยที่เกี่ยวเนื่องกัน

     เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องความคิดเชิงระบบมากขึ้น เราต้องเข้าใจเสียก่อนว่า “ระบบ คือ อะไร ?” และ “ความคิด คือ อะไร ?”

     ตัวอย่างระบบที่เราสามารถมองเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ระบบร่างกาย (Body Systems) ซึ่งประกอบไปด้วยระบบย่อย ๆ อีกหลายระบบ ได้แก่ ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบสืบพันธุ์ ระบบขับถ่าย ระบบย่อยอาหาร ระบบหายใจดังแสดงในรูปที่ 2.2



     อีกตัวอย่างของระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ ระบบรถยนต์ (Vehicle Systems) ซึ่งประกอบไปด้วยระบบย่อย ๆ อีกหลายระบบ ได้แก่ ระบบเครื่องยนต์ ระบบเชื้อเพลิง ระบบเบรก ระบบระบายความร้อน ระบบช่วงล่าง ระบบส่งกำลังดังแสดงในรูปที่ 2.3

     จะเห็นได้ว่าหากลองมองไปรอบตัวเราแล้ว ล้วนรายรอบไปด้วยระบบต่างๆ ทั้งๆ ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น หรือมนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นมา แต่โดยทั้งหมดแล้ว สิ่งที่เรียกว่า “ระบบ” จะประกอบไปด้วย
     1. ส่วนประกอบ (Elements)
     2. ความเชื่อมโยง (Linkage)
     3. กลไกการทำงาน (Mechanism)

     ในส่วนของความคิดนั้น กระบวนการคิดเกิดจากการรับรู้ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย มาผนวกรวมเข้ากับความรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่ จึงเกิดเป็นความคิดขึ้นมา ดังแสดงให้เห็นในรูปที่ 2.4


     Peter M. Senge ได้นำเสนอในเรื่องพื้นฐานการเขียนแผนภาพการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) อันประกอบด้วย

     1. Reinforcing Loop คือ วงจรเสริมแรง ที่ทำให้เกิดการเติบโตอย่างต่อเนื่อง หรือถดถอยอย่างต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับว่าเป็นในแง่บวกหรือในแง่ลบ ตัวอย่างเช่น ปรากฏการณ์ “ปากต่อปาก” จุดเริ่มต้นอยู่ที่การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าพึงพอใจก็จะช่วยกันบอกต่อ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้จำนวนลูกค้าที่พึงพอใจเพิ่มขึ้น และบอกต่อกันไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆดังแสดงในรูปที่ 2.5

รูปที่ 2.5 วงจงเสริมแรง (Reinforcing Loop) กรณียอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นจากกลยุทธ์ “ปากต่อปาก”

     2. Balancing Loop คือ วงจรสมดุล ที่ระบบพยายามปรับตัวเองเข้าสู่สภาวะสมดุล หรือเป้าหมายที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น เวลาเราขับรถ เมื่อเราต้องการไปถึงที่นัดหมายให้ได้ทันกำหนด เราก็จะตั้งเป้าหมายขับรถที่ความเร็วเฉลี่ยที่ค่า ๆ หนึ่ง เมื่อความเร็วที่เป็นอยู่ต่ำกว่าความเร็วค่าเป้าหมาย เราก็จะเหยียบคันเร่งเพื่อเร่งความเร็วให้ได้ตามค่าความเร็วเป้าหมาย หลังจากนั้นก็ค่อย ๆ รักษาระดับความเร็วนั้นไว้ ดังแสดงในรูปที่ 2.6

รูปที่ 2.6 วงจรสมดุล (Balancing Loop) กรณีต้องการทำความเร็วให้ได้ตามเป้าหมาย

     3. Delay คือ การหน่วงเวลา เพราะการกระทำในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ได้เกิดผลในทันที ตัวอย่างเช่น เวลาเราปรับอุณหภูมิน้ำในห้องอาบน้ำในโรงแรม เราต้องการให้ได้น้ำที่อุ่นพอดี แต่ส่วนใหญ่เราก็มักจะเร่งเปิดวาล์วน้ำร้อน แต่กว่าจะร้อนก็จะใช้เวลาสักครู่ แต่หลายครั้งเราใจร้อนเร่งไปปรับวาล์วน้ำร้อนเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้น้ำร้อนเกินพอดี เราก็ต้องปรับตำแหน่งวาล์วน้ำร้อนน้ำเย็นไปมาหลายครั้งจนกว่าอุณหภูมิจะอุ่นพอดีอย่างที่เราต้องการ ซึ่งเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นปรากฏการณ์การหน่วงเวลา (Delay) ที่เกิดขึ้นในระบบดังแสดงในรูปที่ 2.7

รูปที่ 2.7 วงจรสมดุลแบบหน่วงเวลา (Balancing Loop with Delay) กรณีต้องการปรับอุณหภูมิน้ำอุ่น

     พื้นฐานการเขียนแผนภาพการคิดเชิงระบบ (Systems Thinking) ที่อธิบายมาเบื้องต้นนี้ จะเป็นแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญที่เราจะนำไปใช้ในเรื่อง วิธีการออกแบบระบบ (Systems Design)

แสดงความคิดเห็น

  • กิตติ (บุคคลทั่วไป)
    (10 เดือนที่แล้ว )
    stop ai ทั้งหมดของระบบ

บทความอื่นๆน่าสนใจ

การออกแบบระบบ Systems Design

7 มิ.ย. 2562   อ่าน 7,606    หมวด การพัฒนาตนเอง

องค์ประกอบที่สำคัญของหน้าที่

21 มิ.ย. 2562   อ่าน 2,963    หมวด การพัฒนาตนเอง

การฝึกฝนทักษะการฟัง

21 มิ.ย. 2562   อ่าน 1,873    หมวด การพัฒนาตนเอง

การสื่อสาร สร้างสัมพันธ์ ใจชื่นบาน งานสำเร็จ

28 มิ.ย. 2562   อ่าน 2,353    หมวด การพัฒนาตนเอง

การสร้างกรอบความคิดที่ดี Mindset

28 มิ.ย. 2562   อ่าน 2,114    หมวด การพัฒนาตนเอง

ประเภทของเป้าหมาย 5 ระดับ

5 ก.ค. 2562   อ่าน 10,921    หมวด การพัฒนาตนเอง

หลักสูตรที่น่าสนใจ

กลยุทธ์การพัฒนาความคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 3,497

การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 856

การออกแบบระบบบริหารผลงาน อย่างบูรณาการ (Performance Management System Integration Design)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 4,524

การออกแบบระบบงานและพัฒนาโปรแกรมบริหารงานบุคคล อย่างมีประสิทธิภาพ (How to effectively implement HRIS)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 4,422

การออกแบบระบบประเมินค่างาน ให้สอดคล้องกับคุณค่าขององค์กร (Job Evaluation and Classification : Workshop)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 4,058

เทคนิควิเคราะห์และจัดการปัญหา ด้วยเครื่องมือนักคิดและการสรุปด้วยกระดาษหนึ่งหน้า (Problem Solving Tools & Report with 1 Page Summary)

หมวด Thinking   อ่าน 5,272

เทคนิคการวิเคราะห์และจัดการปัญหาด้วยผังสาเหตุและผลหรือผังก้างปลา (Analytical Thinking Development & Fishbone Diagram Tools)

หมวด Thinking   อ่าน 4,238

การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นกระบวนการด้วยหลักคิดเชิงระบบ (Logical Thinking for Problem Solving)

หมวด Thinking   อ่าน 2,977

สถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง

Constra

ศูนย์บริการครบวงจรสำหรับการพัฒนาบุคลากรขององค์กร รับออกแบบโปรแกรมฝึกอบรมโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์

Contact us

บริษัท เอ็นมาร์ก โซลูชั่น จำกัด

112 ซ.รามคำแหง 30/1 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

E-mail : asst.entraining@gmail.com
cocoachentraining@gmail.com
โทรศัพท์ : 02-732-2345 / 02-374-8638
Hotline : 086-303-6747 / 091-770-3350
091-770-3354
Fax : 0-2375-2347

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • เว็บไซต์การเรียนรู้ออนไลน์
  • แหล่งรวมความรู้เกียวกับโค้ช
  • เว็บไซต์ส่วนตัว อ.ปกรณ์
  • แบบทดสอบออนไลน์
  • เว็บไซต์เอ็นเทรนนิ่งภาษาอังกฤษ
  • เว็บไซต์ : Peakpotential
  • คำค้นหา / Tags,Keyword,Category
Copyright © All Rights Reserved. Enmark Solution Company Limited.