โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 15 สิงหาคม 2561 1,254 0
หน้าแรก ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง หมวด ทั่วไป การบริหารความขัดแย้งในทีม
วันหนึ่งผู้จัดการเดินมาปรึกษาว่าจะให้พนักงานขายอาวุโสคนหนึ่งในทีมขายตรงลาออก เมื่อสอบถามได้ความว่าน้องคนนี้ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้ จากการมอบหมายงานพิเศษให้เป็นตัวแทนดูแลทีมก็ทำได้ไม่ดี มักจะแอบไปทำธุระส่วนตัวเป็นประจำ มีผลทำให้ทีมเกิดความระส่ำระสาย ยอดขายของทีมตกต่ำลงเรื่อยๆ ยอดขายรายคนของทีมก็มีปัญหาจึงถามผู้จัดการไปว่า
1. ผลการขายของพนักงานขายอาวุโสคนนี้เป็นอย่างไร? (บรรลุเป้าหมาย 80%)
2. ทราบได้อย่างไรว่าพนักงานขายอาวุโสคนนี้แอบไปทำธุระส่วนตัวบ่อยๆ (น้องในทีมเล่าให้ฟัง)
3. เพราะเหตุใดยอดขายของน้องในทีมคนอื่นจึงมีน้อย หรือไม่มีเลย? (น้องในทีมทุกคนตอบว่าพี่พนักงานขายอาวุโสไม่ได้มีการวางแผนการขาย ก่อนการขายจริงเลย และช่วงเวลาในการขายของแต่ละวันมีน้อย ซึ่งมีแค่เฉพาะตอนเย็น เป็นช่วงเวลาที่น้อยมาก)
4. จำได้ว่ากรณีน้องพนักงานขายอาวุโสรายนี้เกิดขึ้นหลายครั้งแล้ว ใช่หรือไม่? (ผู้จัดการยอมรับว่าใช่ และบอกด้วยว่ารอบนี้ไม่ไหวแล้วจริงๆ ที่ผ่านมาได้ให้โอกาสมาหลายครั้งแล้ว)
5. ทางผู้จัดการคิดอย่างไรและมีการวางแผนงานในการตัดสินใจแก้ปัญหานี้อย่างไร? (ผู้จัดการตอบว่าจะเรียกน้องคนนี้มาคุยพร้อมกับชี้แจงให้รู้ว่าน้องมีผลงานการขายที่ไม่ถึงเป้าหมาย และไม่สามารถบริหารทีมงานได้ รวมทั้งที่ผ่านมาได้ให้โอกาสในเรื่องนี้หลายครั้งแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรดีขึ้น จึงขอให้น้องทำเรื่องลาออกภายในสิ้นเดือนนี้)
เมื่อได้รับฟังคำตอบจากผู้จัดการแล้วจึงใช้หลักการ Coaching เพิ่มเติมว่า
1.น้องพนักงานขายอาวุโสคนนี้ยังมีคุณค่าสำหรับบริษัทหรือไม่?
(ยังมีอยู่ เพราะ มีคุณภาพการขายที่ดีจากการทำยอดขายที่บรรลุเป้าหมาย 80% ของตัวเอง เพียงแต่ไม่ต้องให้ดูแลทีมงานขายแล้ว)
2.มีการวางแผนบริหารทีมงานขายทีมนี้ต่อไปอย่างไร?
(เปลี่ยนผู้บริหารทีมงานขายนี้ใหม่ วางแผนการขายก่อนที่จะดำเนินการขายจริง และเพิ่มช่วงเวลาในการขายให้มีมากขึ้น โดยระหว่างนี้ทางผู้จัดการจะลงไปดูแลทีมขายทีมนี้ด้วยตัวเอง และเร่งสรรหาหัวหน้าทีมที่มีคุณภาพเข้ามาดูแลโดยตรงต่อไป)
แนวทางโค้ชชิ่ง : หลุมพรางทางความคิด เป็นความรู้สึก ไม่ใช่ข้อเท็จจริง การเป็นกระจกที่ใส ให้ผู้จัดการส่อง เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการของการโค้ชชิ่ง เมื่อผู้จัดการมองเห็นตัวเอง จะเริ่มหาทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
สาเหตุของความขัดแย้ง : เป้าหมายที่แตกต่างกัน
การบริหารความขัดแย้ง : สร้างทัศนคติเชิงบวกให้ทีมงานมองที่เป้าหมายของทีมมากกว่าส่วนตัว
Categories
แสดงความคิดเห็น