โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 13 กันยายน 2561 40,907 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ / การพัฒนาบุคลากรในองค์กรด้วย Competency
13 ก.ย. 2561 อ่าน 5,059 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
19 ก.ย. 2561 อ่าน 7,651 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2 ต.ค. 2561 อ่าน 6,666 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2 ต.ค. 2561 อ่าน 84,837 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
10 ต.ค. 2561 อ่าน 22,962 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
10 ต.ค. 2561 อ่าน 2,436 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
บทบาทหน้าที่อย่างหนึ่งของ HR คืองานพัฒนาบุคลากรในองค์กรโดยการพัฒนาขีดความสามารถ Competency ของพนักงาน เพื่อให้สร้างผลการทำงานที่ดีที่สุดในหน้าที่ของตนเอง โดยเกิดจากการปฏิบัติงานร่วมกัน ในการกำหนดขีดความสามารถในแต่ละตำแหน่ง แต่ละระดับจะต้องมีขีดความสามารถในแต่ละประเภทชนิดใดบ้าง ที่จะทำให้มีผลการปฏิบัติงานที่ประสบความสำเร็จ และทำให้บรรุลวิสัยทัศน์และนโยบายขององค์กรได้
ปัจจุบันในหลายๆ องค์กรได้นำเอาแนวคิดเกี่ยวกับ Competency มาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างกว้างขวาง โดยแนวคิดดังกล่าวสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสรรหา พัฒนา และการประเมินผลงานของบุคลากรได้ตรงความต้องการ ของตำแหน่งงาน และองค์กรเป็นอย่างมาก ในบทความนี้คงทำให้เราได้รู้จักและเข้าใจเรื่องราวของ Competency ซึ่งพอจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านได้บ้าง
David C. McClelland ได้ให้คำนิยมของ Competency เอาไว้ว่าเป็นบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายใต้ปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนด ในงานที่ตนรับผิดชอบ ความสามารถตามกรอบแนวคิดเรื่องขีดความสามารถ ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามแผนภาพโมเดลภูเขาน้ำแข็ง แสดงเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการของ Competency
เราสามารถสรุปได้ว่า Competency หมายถึง ทักษะหรือความสามารถ (Skill) ความรู้ (Knowledge) และคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล (Personal Characteristic of Attributes) ที่มีผลต่อพฤติกรรม (Behavior) ที่จำเป็นและผลก็คือทำให้บุคคลนั้นปฏิบัติงานในความรับผิดชอบของตนได้ดีที่สุด
Competency สามารถแบ่งออกตามประเภทต่างๆ ได้แก่
1.ขีดความสามารถหลัก (Core Competency) ขีดความสามารถชนิดนี้จะถูกกำหนดจากวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายหลัก หรือกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งบุคคลจะแสดงออกถึงพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม พนักงานทุกคนในองค์การที่มีขีดความสามารถประเภทนี้ จะมีส่วนที่จะช่วยสนับสนุนให้องค์ การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ได้ ยกตัวอย่าง เช่น องค์กรกำหนดวิสัยทัศน์เอาไว้ว่าจะต้องเป็นองค์กรที่เป็นเลิศ ในด้านการให้บริการทั้งในด้านจำหน่าย ระบบปฏิบัติการ ระบบบริการลูกค้า ด้านการดูแลพนักงาน การเงิน
ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จะต้องหาวิธีดำเนินการจัดทำขีดความสามารถหลักของพนักงาน เพื่อกำหนดให้พนักงานทุกคนขีดความสามารถหลัก ที่สอดรับกับวิสัยทัศน์และวัฒนธรรมองค์กรดังกล่าวข้างต้น เช่น การพัฒนาพนักงานในด้านความใฝ่รู้และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง, พัฒนาในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์, ความมุ่งมั่นในการให้บริการให้ไปสู่ความเป็นเลิศ, ความเป็นเลิศในการให้บริการ, การทำงานเป็นทีม เป็นต้น
2. ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ โดยจะแตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ (Role – Based) ตามตำแหน่งทางการบริหาร งานที่รับผิดชอบ ซึ่งบุคลากรในองค์กรทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อให้งานสำเร็จ และต้องสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์การ เช่น การวางแผนการทำงาน การกำหนดเป้าหมาย การบริหารการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม การติดต่อสื่อสาร การแก้ปัญหาและตัดสินใจ ภาวะผู้นำ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
3. ขีดความสามารถตามตำแหน่งหน้าที่ (Functional Competency) คือ ความรู้ ความสามารถในงานซึ่งเป็นคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ (Job – Based) เป็นขีดความสามารถเฉพาะบุคคลซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ พฤติกรรม และคุณลักษณะของบุคคลที่เกิดขึ้นจริงตามหน้าที่หรืองานที่รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย แม้ว่าหน้าที่งานเหมือนกันไม่จำเป็นว่าคนที่ปฏิบัติงานในหน้าที่นั้นจะต้องมีความสามารถเหมือนกัน เช่น ตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ควรต้องมีความรู้ทางด้านวิศวกรรม นักบัญชี ควรต้องมีความรู้ทางด้านการบัญชี เป็นต้น
4. ความสามารถที่มาจากคุณลักษณะส่วนบุคคล (Personal attribute) เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของบุคคล เช่น แรงจูงใจ ทัศนคติ ที่อาจส่งผลกระทบต่อทัศนคติต่อการทำงานและประสิทธิภาพการทำงาน
หลังจากที่เราทราบแล้วว่าแต่ละภาระงานในแต่ละส่วนมีอะไรบ้าง จำเป็นจะต้องมีขีดความสามารถใดบ้างในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ การวางแผนจัดทำขีดความสามารถจะต้องให้มีความชัดเจน มีความเข้าใจตรงกันทั้งผู้บังคับบัญชา และผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง ให้สอดคล้องกับขีดความสามารถที่องค์การกำหนด การสร้างความมีส่วนร่วมของพนักงาน โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ Competency เป็นเรื่องสำคัญและจะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่ามีส่วนร่วม จะสามารถสร้างการยอมรับและลดการต่อต้านการนำ Competency เข้ามาใช้ในหน่วยงานของท่านได้
ฝ่ายฝึกอบรมต้องการเน้นให้พนักงานมีความเชี่ยวชาญในงานตรงตามความรู้ความสามารถ ในการเป็นผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งเป็นที่ปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ อีกทั้งยังต้องการกำหนดและหาแนวทางในการพัฒนาระบบงานที่เอื้อต่อการนำแนวคิดเรื่อง Competency มาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาต่อไป
13 ก.ย. 2561 อ่าน 5,059 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
19 ก.ย. 2561 อ่าน 7,651 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2 ต.ค. 2561 อ่าน 6,666 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2 ต.ค. 2561 อ่าน 84,837 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
10 ต.ค. 2561 อ่าน 22,962 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
10 ต.ค. 2561 อ่าน 2,436 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 1,902
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 1,234
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 7,961
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,649
หมวด Coaching อ่าน 7,271
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 7,292
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,792
หมวด Advance Coaching อ่าน 3,225