โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 4 ธันวาคม 2563 1,883 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด หัวหน้างานนักบริหาร / การพัฒนาผู้นำในภูมิทัศน์ทางธุรกิจ (Business Landscape) ที่เปลี่ยนไป
6 ม.ค. 2564 อ่าน 4,210 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
4 มี.ค. 2564 อ่าน 901 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
4 มี.ค. 2564 อ่าน 1,342 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
4 มี.ค. 2564 อ่าน 2,870 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
30 มี.ค. 2564 อ่าน 1,165 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
28 เม.ย. 2564 อ่าน 716 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
โลกธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนร่วมในทุกแง่มุมของการดำเนินชีวิต นวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลาทำให้โฉมหน้าธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง
ผู้นำที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต ไม่สามารถใช้ประสบการณ์เดิมๆ มาใช้กับภูมิทัศน์ทางธุรกิจ (Business Landscape) ที่กำลังจะเปลี่ยนโฉมองค์ประกอบทั้งหมดของธุรกิจ ได้อีกต่อไปทำให้ผู้นำต้องปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างมหาศาล ในภูมิทัศน์ทางธุรกิจใหม่นี้ให้ได้ ต้องมองเห็นทั้งภาพใหญ่และสัมผัสถึงความต้องการของผู้บริโภคอย่างละเอียดลึกซึ้งในเวลาเดียวกันด้วย จึงเป็นโจทย์ที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับผู้นำเป็นอย่างมาก
เรื่องสำคัญที่ผู้นำควรเตรียมความพร้อมกับภูมิทัศน์ทางธุรกิจใหม่ ดังนี้....
1. การดำเนินธุรกิจแบบ Business as Unusual
: การกระตุ้นเตือนตัวเองอยู่เสมอกับความไม่ปกติของโลกธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงจนกลายเป็น “The New Normal” ในอนาคต เพราะหากยังยึดติดกับวิธีการทำธุรกิจแบบเดิมๆ อยู่ โดยไม่ได้พัฒนาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงแล้ว ธุรกิจย่อมไปต่อไม่ได้
2. การสร้างโปรแกรมความภักดีของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
: การสร้างประสบการณ์ที่ดีแบบใหม่ๆ ให้กับลูกค้าเกิดประสบการณ์ที่ดี (New Customer Experience) ให้ทันสถานการณ์…เพื่อรักษาลูกค้าเก่าให้สามารถเลือกใช้บริการขององค์กรไปได้อย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า (Customer Need) ได้อย่างทันท่วงที ไม่รอให้ลูกค้าเกิดการเปลี่ยนใจ แล้วไปใช้บริการจากที่อื่นๆ เพราะสินค้าและบริการของเราไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
3. การสร้างนวัตกรรมภายในองค์กรให้กลายเป็นวัฒนธรรม
: การเปิดโอกาสและกระตุ้นให้เกิด “กรอบความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovation Mindset)” ให้กับบุคลากรภายในองค์กรในทุกๆ โอกาสที่สามารถปฏิบัติได้ เพื่อให้บุคลากรมีความพร้อมในการสร้างนวัตกรรมต่างๆ ในแต่ละหน่วยงานของตัวเองอย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งจะส่งผลให้บุคลากรพร้อมรับความไม่แน่นอนของ VUCA World …และสามารถสร้างสินค้าและบริการเชิงนวัตกรรมตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปได้ทันความต้องการ ส่งผลให้ลูกค้าเกิดความภักดีต่อสินค้าและบริการขององค์กร
4. การสร้างและปรับโมเดลธุรกิจขององค์กรให้สอดคล้องกับลูกค้าเป้าหมาย
: ผู้บริโภคปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ส่งผลให้เกิดความต้องการที่หลากหลาย เพราะเทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง โมเดลธุรกิจเดิมๆ อาจไม่สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเดิม หรือ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายเดิมอาจไม่ใช่ กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจที่องค์กรดำเนินการอยู่ หากต้องการตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ …องค์กรก็ต้องปรับหรือเปลี่ยนโมเดลธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าเดิมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย หรือตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่
5. การสร้างระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ให้ธุรกิจอยู่กับภูมิทัศน์ของธุรกิจได้
: ผู้นำที่ดีจะมองเห็นภูมิทัศน์ของธุรกิจ (Business Landscape) ได้อย่างชัดเจน เห็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างครบถ้วน สัมผัสได้ถึงความคิด ความรู้สึกของกลุ่มบุคคลที่อยู่ในสังคมนั้นๆ อย่างลึกซึ้ง จึงต้องสร้างระบบนิเวศน์ ที่มีธุรกิจอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในระบบนิเวศน์ที่ตัวเองอยู่ด้วย เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ในการให้บริการลูกค้าเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ เพราะธุรกิจไม่สามารถเติบโตได้เพียงลำพังอีกต่อไปแล้ว
การตระหนักรู้กับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ยังไม่เพียงพอต่อการนำพาธุรกิจให้อยู่รอดต่อไปได้ การมองเห็นภูมิทัศน์ของธุรกิจ (Business Landscape) ของตัวเองที่ชัดเจน จะทำให้ผู้นำสามารถนำพาทีมงานและองค์กรเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน
6 ม.ค. 2564 อ่าน 4,210 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
4 มี.ค. 2564 อ่าน 901 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
4 มี.ค. 2564 อ่าน 1,342 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
4 มี.ค. 2564 อ่าน 2,870 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
30 มี.ค. 2564 อ่าน 1,165 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
28 เม.ย. 2564 อ่าน 716 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
หมวด Coaching อ่าน 2,964
หมวด Coaching อ่าน 2,631
หมวด Coaching อ่าน 2,825
หมวด Leadership อ่าน 3,025
หมวด Leadership อ่าน 5,319
หมวด Leadership อ่าน 3,345
หมวด Leadership อ่าน 3,855
หมวด Leadership อ่าน 3,115