โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 22 สิงหาคม 2561 14,655 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด หัวหน้างานนักบริหาร / การเป็นผู้นำและจูงใจคนในฐานะผู้จัดการ
23 ส.ค. 2561 อ่าน 12,395 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
7 ก.ย. 2561 อ่าน 20,629 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
10 ก.ย. 2561 อ่าน 1,263 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
29 ต.ค. 2561 อ่าน 52,465 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
12 พ.ย. 2561 อ่าน 3,308 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
12 พ.ย. 2561 อ่าน 2,065 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
ความสามารถในการเป็นผู้นำและจูงใจคนได้เป็นเรื่องสำคัญและปฏิเสธไม่ได้หากคุณอยู่ในฐานะผู้จัดการ องค์กรและทีมงานของคุณฝากความหวังไว้ให้กับคุณในการที่จะนำพาทีมงานฟันฝ่าความเปลี่ยนแปลง และการตัดสินใจแก้ปัญหาที่ยากลำบากและเดินหน้ากับงานสำคัญให้สำเร็จลุล่วง การเป็นผู้นำไม่ใช่แค่การบังคับบัญชาโดยตำแหน่ง แต่เป็นการตั้งความคาดหวังหรือเป้าหมายที่สูงต่อคนและช่วยให้เขาไปสู่ความคาดหวังหรือเป้าหมายนั้นได้ กล้าตัดสินใจในปัญหาที่ยาก กล้าที่จะเสี่ยง กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง สร้างความกระตือรือร้น และเป็นผู้ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
การสร้างแรงจูงใจมีความสำคัญหากคุณเป็นผู้จัดการ ทีมที่ทำงานด้วยกันอย่างขันแข็งและกระตือรือร้นย่อมสร้างผลงานที่ดี มีประสิทธิภาพสูงกว่าทีมที่ทำงานไปวันๆ ในฐานะผู้จัดการ คุณ.....คือผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างแรงจูงใจให้คนในทีม ผู้เขียนขอสรุปหลักการที่สำคัญในการสร้างแรงกระตุ้นและจูงใจพนักงานในทีมในฐานะผู้จัดการหรือผู้นำทีมไว้ 10 ข้อ ดังนี้
1. พยามยามค้นหาว่าอะไรเป็นสิ่งที่สร้างแรงจูงใจให้กับลูกน้องของคุณ
วิธีที่ดีที่สุดคือการถาม หาเวลาคุยกับลูกน้องตัวต่อตัวให้ถามถึงความพอใจหรือไม่พอใจ ความเห็นต่องานที่ทำอยู่และบทบาทความเป็นผู้นำของคุณ สิ่งที่จะทำให้เขาทุ่มเทอย่างที่สุดได้และสิ่งที่เขาเห็นเป็นอุปสรรค ซึ่งสามารถนำคำถามเหล่านี้มาถามได้อีกครั้งตอนประเมินผลการปฏิบัติงานในปลายปี สามารถใช้ตัวอย่างคำถามในแบบของการโค้ชงานได้
คุณมีความภาคภูมิใจในผลงานไหนมากที่สุด
งานส่วนไหนที่คุณพบว่าท้าทาย
ความท้าทายแบบไหนที่สร้างความพอใจให้คุณมากที่สุด
งานด้านใดที่คุณชอบมากที่สุดและด้านใดที่คุณไม่ชอบที่สุด
อะไรคือสิ่งที่จะทำให้คุณทุ่มเทต่องานมากกว่าปกติ มีสิ่งใดบ้างที่คุณอยากได้เพิ่มขึ้นเพื่อทำให้คุณทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีก
คุณรู้สึกว่าได้รับการยกย่องจากการปฏิบัติงานได้ดีบ้างหรือไม่
งานประเภทใดหรือสถานการณ์แบบไหนที่ทำให้คุณทุ่มเททั้งพลังกายและความคิดให้กับงานได้มากที่สุด ในทางกลับกันสถานการณ์แบบไหนที่ทำให้คุณลดความกระตือรือร้นลง
มีใครบ้างไหมที่คุณสามารถพึ่งพาได้ในยามพบกับความลำบากในงานหรือเวลาที่งานล้นมือ
คำตอบต่อคำถามเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถเข้าใจในสิ่งที่สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาของคุณได้ ซึ่งจะเป็นแนวทางให้คุณในการจัดการกับปัญหาต่างๆในฐานะผู้จัดการ ให้จดบันทึกสิ่งที่คุณคุยกันไว้และนำมาอ่านทบทวนเป็นครั้งคราว เมื่อผู้ใต้บังบัญชาได้ให้ข้อมูลเหล่านี้กับคุณแล้วครั้งหนึ่ง พวกเขาก็จะคาดหวังว่าจะเห็นการดำเนินการจากคุณ
2. จ้างและรักษาคนเก่งไว้ทำงาน
จ้างคนที่มีความสามารถตรงกับงาน คนที่ไม่มีความสามารถตรงกับงาน สร้างความเหลื่อมล้ำภายในทีม และสร้างความไม่พอใจให้กับคนในทีมที่ทำงานดี รวมทั้งสร้างความอึดอัดให้กับคนที่เหลือในทีม ทั้งสองสิ่งนี้คือสิ่งที่ทำลายแรงกระตุ้นและจูงใจ
จ้างคนด้วยความระมัดระวัง และตรวจสอบประวัติย้อนหลังให้ถี่ถ้วน การได้คนที่ไม่เหมาะสมเป็นการสูญเสียทั้งเวลาในการฝึกงาน และสร้างความอึดอัดใจในการทำงาน
หากมีปัญหาเรื่องความไม่เหมาะสมของงาน ให้เร่งดำเนินการทันที
3. ให้ลูกน้องได้ทำงานที่สำคัญ
ให้ทีมงานเน้นการทำงานที่สร้างผลงานที่มีนัยสำคัญให้กับองค์กร
กำหนดเป้าหมายและใช้เป้าหมายเป็นเครื่องมือในการจัดแนวทางการทำงานให้ตรงกับความสำคัญของงานที่องค์กรกำหนด
เมื่อมอบหมายงาน จงใช้เวลาอธิบายทีมงานให้เข้าใจถึงความสำคัญของงาน และลำดับความสำคัญ รวมทั้งเชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กร
ช่วยลูกน้องเข้าใจถึงลำดับความสำคัญและมุ่งเป้าไปสู่งานที่สำคัญที่สุด ทำงานร่วมกับลูกน้องเพื่อที่จะได้ทราบว่าลูกน้องแต่ละคนมีวิธีการและนิสัยการทำงานอย่างไร
ในฐานะหัวหน้าทีม ต้องมีความเด็ดขาดที่จะบอกให้ลูกน้องรู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรที่ไม่สำคัญ หรืออะไรที่อยู่นอกประเด็น
ในฐานะหัวหน้าทีม ต้องมีความเด็ดขาดที่จะบอกให้ลูกน้องรู้ว่าอะไรสำคัญ อะไรที่ไม่สำคัญ หรืออะไรที่อยู่นอกประเด็น
4. อธิบาย ฝึกสอน และเป็นโค้ชให้กับลูกน้อง
ฝึกสอนลูกน้องให้มั่นใจว่าพวกเขามีความรู้ความสามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากไม่ได้ฝึกสอนเอง ก็จัดให้พวกเขาได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม
วางแผนงานล่วงหน้าให้ดี ให้ลูกน้องได้มีเวลาการทำงานอย่างเพียงพอและเหมาะสม
มอบหมายงานให้ตรงตามแผนงานที่ได้วางไว้ แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ วิธีนี้จะช่วยรักษาลูกน้องที่ดีๆเอาไว้
5. ให้ลูกน้องได้ทำงานอย่างมีอิสระตามสมควร
เมื่อมอบหมายงานไปแล้ว ให้ถอยตัวออกมาดูห่างๆ เพื่อให้ลูกน้องได้มีอิสระในการทำงาน และอย่าล้วงลูก อตรวจดูความก้าวหน้าของงานเป็นระยะ ให้มีการโค้ชตอนเริ่มต้น และปล่อยให้พวกเขาได้เรียนรู้จากการทำผิดบ้าง และพร้อมที่จะช่วยทุกเมื่อ แต่อย่าปล่อยให้พวกเขาออกนอกทางมากจนพลาดเป้าหมาย
มีสปิริตของความเป็นหัวหน้าและผู้นำ กล้าพอที่จะรับผิดชอบแทนเมื่อลูกน้องคุณทำผิด ซึ่งความผิดพลาดในการทำงานของทีมงาน ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการสั่งงานของคุณเอง ให้แสดงความรับผิดชอบและหาแนวทางแก้ไข หาสาเหตุของความผิดพลาดร่วมกับพวกเขา และหาวิธีแก้ไขร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีก
ให้โอกาสลูกน้องในการตัดสินใจบ้าง อธิบายเมื่อพวกเขามีคำถาม และให้การอนุมัติเมื่อคุณให้เขาตัดสินใจ เมื่อลูกน้องมาหาคุณเพื่อการตัดสินใจ และคุณรู้ว่าเขามีความรู้ที่จะทำการตัดสินใจได้ จงให้เขาตัดสินใจ และใช้วิธีการของโค้ช โดยถามเขากลับไปว่า “แล้วคุณคิดว่าอย่างไร” หรือ “แล้วคุณคิดว่าวิธีการไหนดีที่สุด”
6. ไม่ตระหนี่ถี่เหนียวคำชมเชย พร้อมทั้งแสดงการรับรู้เมื่อลูกน้องปฏิบัติงานดี
พนักงานต้องการความรู้สึกที่ดีต่อตัวเขา และในสิ่งที่เขาทำ การชมเชยเป็นการสร้างแรงกระตุ้นและแรงจูงใจที่ดี หากคุณไม่มีงบในการให้ค่าตอบแทนเป็นรางวัล ลองพิจารณาการพาเขาไปฉลองเล็กๆ เป็นการขอบคุณ หรือคำชมเชยดีๆจากใจ ก็เป็นแรงกระตุ้นจูงใจอย่างดีให้เขาได้เช่นกัน
ให้รางวัลเล็กๆ หรือคำชมเชยในส่วนของงานที่มีความก้าวหน้าด้วยเช่นกัน ไม่ใช่ให้เฉพาะตอนสุดท้ายที่งานสำเร็จ
กล่าวขอบคุณและชมว่า “ทำได้เยี่ยมมาก” บ่อยๆ
จับถูกมากกว่าจับผิด ชมเชยเมื่อพบเห็น
พยายามให้รางวัลอย่างสร้างสรรค์ ให้มีการเซอร์ไพร์สบ้าง
ใจกว้างในการให้เครดิตความสำเร็จแก่ลูกน้อง
7. คาดหวังความเป็นเลิศ
แรงกระตุ้นจูงใจ และความเป็นเลิศ เป็นสิ่งที่คู่กันเสมอ พนักงานจะรับรู้และอยากเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นเลิศและความสำเร็จระดับสูงขององค์กรเสมอ
ความคาดหวังเป็นเรื่องที่มีผลอย่างมหาศาล อย่ายอมรับงานที่ไม่มีคุณภาพ หากคุณคาดหวังความเป็นเลิศ
อย่ายอมรับทัศนคติที่เป็นลบและการบ่น หากมีปัญหา ให้คุยกันอย่างตรงไปตรงมา สรุปหาแง่มุมของปัญหา และทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าทุกปัญหามีทางออกหากเราร่วมมือกัน
8. เอาใจใส่ต่อคน และแสดงออกถึงความรู้สึกนั้น
รับฟังทุกคน ผู้นำที่ดีต้องเป็นผู้ที่เปิดกว้างต่อความคิดต่างๆ ยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ และตอบคำถามที่รบกวนความรู้สึกได้โดยไม่แสดงออกซึ่งความไม่พอใจหรือสีหน้า
หาเวลาคุยกับลูกน้องบ้างในเรื่องอื่นๆที่ไม่ใช่เรื่องงาน
เอาใจใส่และแสดงความสนใจฟังเวลาคุยกับผู้อื่น
แสดงออกถึงความใส่ใจลูกน้อง เมื่อลูกน้องรู้ว่าคุณใส่ใจเขา เขาจะใส่ใจในงานมากขึ้น
9. ให้เกียรติลูกน้อง
สร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง
แสดงการให้เกียรติลูกน้องโดยรับฟังพวกเขาอย่างตั้งใจ
สนับสนุนความแตกต่างและความสามารถที่หลากหลายของคนในทีม
10. เป็นผู้นำด้วยการเป็นตัวอย่าง
ผู้นำจะถูกมองว่าเป็นแบบอย่าง ไม่ว่าคุณจะทำหรือพูดอะไร คนมีแนวโน้มที่จะเห็นคล้อยและตามแบบคุณ หากคุณต้องการความเป็นเลิศในทีม ก็จงสร้างความเป็นเลิศในสิ่งต่างๆ ที่คุณทำ โดยเฉพาะในเรื่องที่สำคัญและมีคุณค่า
เป็นผู้ที่มีอารมณ์ดี มีมุกตลกบ้าง มีอารมณ์ขัน แสดงให้คนอื่นเห็นว่าการทำงานร่วมกับคุณเป็นความสนุก
กล้าตัดสินใจบนหลักการที่ยึดมั่น ทำในสิ่งที่ถูกต้อง
สร้างตัวอย่างของความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต แสดงให้เห็นว่าคุณสามารถทำงานให้เสร็จได้และยังมีเวลาให้ครอบครัวและมีเวลาพอสำหรับกิจกรรมอื่นๆ
จะเห็นได้ว่าการสร้างแรงกระตุ้นและจูงใจลูกน้องในฐานะผู้จัดการหรือผู้นำ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผู้จัดการหรือผู้นำ นอกจากจะต้องมีความรู้ในเนื้องานแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องมี คือ จิตวิทยาในการบริหารทีมงาน ต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence/EQ) และความฉลาดทางสังคม (Social Intelligence/SQ) นอกจากนี้ผู้จัดการหรือผู้นำต้องมีแรงจูงใจภายใสนของตนเอง (Inner motivation) เพื่อเป็นแรงขับให้ทำงานให้สำเร็จอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นแบบอย่างและเป็นแรงบันดาลใจให้กับน้องๆในทีม จึงจะทำให้การกระตุ้นจูงใจเกิดประสิทธิผลได้
23 ส.ค. 2561 อ่าน 12,395 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
7 ก.ย. 2561 อ่าน 20,629 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
10 ก.ย. 2561 อ่าน 1,263 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
29 ต.ค. 2561 อ่าน 52,465 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
12 พ.ย. 2561 อ่าน 3,308 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
12 พ.ย. 2561 อ่าน 2,065 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
หมวด Coaching อ่าน 3,216
หมวด Leadership อ่าน 10,964
หมวด Leadership อ่าน 2,969
หมวด Leadership อ่าน 4,125
หมวด Leadership อ่าน 3,003
หมวด Leadership อ่าน 4,337
หมวด Advance Leadership อ่าน 1,658
หมวด Sales and Marketing อ่าน 3,651