โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 2 กันยายน 2562 1,559 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด ทั่วไป / การเรียนรู้ตำแหน่งที่ต่างกัน
23 ก.ย. 2562 อ่าน 2,090 หมวด ทั่วไป
26 ก.ย. 2562 อ่าน 4,311 หมวด ทั่วไป
1 ต.ค. 2562 อ่าน 9,763 หมวด ทั่วไป
1 ต.ค. 2562 อ่าน 10,288 หมวด ทั่วไป
28 ต.ค. 2562 อ่าน 1,575 หมวด ทั่วไป
28 ต.ค. 2562 อ่าน 1,384 หมวด ทั่วไป
หลักการโค้ชคือการช่วยทำให้ผู้รับการโค้ชออกจากหลุมที่เป็นอยู่ไปสู่จุดที่ดีขึ้นด้วยการตัดสินใจด้วยตัวของเขาเอง ซึ่งโค้ชต้องเลือกวิธีที่เหมาะสมกับลักษณะของโค้ชชี่ เรื่องราว สถานการณ์ และวัตถุประสงค์ในการโค้ชแต่ละครั้ง ดังนั้นการพัฒนาตัวเองด้วยการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม นับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งของโค้ช เพราะถ้าโค้ชใช้เทคนิคเครื่องมือไม่เหมาะสมเท่าที่ควรก็ไม่อาจช่วยอะไรโค้ชชี่ได้มาก
ผมมักพัฒนาตัวเองให้สามารถใช้เทคนิคและเครื่องมือต่างๆ อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เข้าใจอย่างแท้จริงว่าแต่ละเ
เทคนิคและเครื่องมือเหมาะกับอาการของโค้ชชี่อย่างไร วันนี้อยากนำเทคนิคที่ผมได้จากการเรียนรู้จาก NLP Top Coach ในโปรแกรม NLP Coaching และฝึกฝนจนเข้าใจมาใช้กรณีที่โค้ชชี่ยืนยันว่าสิ่งที่ตัวเองคิดหรือรู้สึกนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง คนอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างที่เขาคิดและรู้สึกจริงๆ เขาค่อนข้างมั่นใจและไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลง สรุปคือเขามีการรับรู้อย่างที่เขาคิดอย่างหนักแน่น
ผมมักใช้เทคนิค “การเรียนรู้ตำแหน่งที่ต่างกัน (Perceptual Position)” โดยการให้โค้ชชี่อยู่กับตำแหน่งต่างกัน 3 ตำแหน่งคือ
1. ตำแหน่งที่เป็นตัวเอง
2. ตำแหน่งที่เป็นคนที่เกี่ยวข้องด้วย
3. ตำแหน่งผู้สังเกตการณ์ของทั้ง 2คน
ผมมักใช้คำถามโค้ชให้เขาได้คิดในตำแหน่งต่างๆกัน ประมาณนี้ครับ
ตัวเอง : คุณช่วยเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้ นกับเรื่องนี้ว่ามีอะไรบ้าง ? ความรู้สึกของคุณในฐานะอีกคนหนึ่งเป็นอย่างไร ?
คุณให้คะแนนความรู้สึกนี้สักเท่าไหร่ ? (1-10 โดย 10 แย่สุด)
ผู้เกี่ยวข้อง : คุณในฐานะอีกคนหนึ่ง (ที่เกี่ยวข้อง) บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น ว่ามีอะไรบ้าง ? ความรู้สึกของคุณในฐานะอีกคนหนึ่งรู้สึกอย่างไร ?
คุณอยากอธิบายสิ่งที่เป็นความตั้งใจดีของคุณกับอีกคนหนึ่ง (ตัวคุณเอง) ว่าอย่างไร ? มีอะไรอีกไหม ? จนไม่มีแล้ว
สังเกตการณ์ : คุณในฐานะสังเกตการณ์คิดอย่างไรกับเหตุการณ์นี้ ? คุณได้เรียนรู้สถานการณ์นี้ด้วยเรื่องอะไรบ้าง ? มีอะไรอีกบ้าง ?
ผมจะให้โค้ชชี่กลับมาอยู่ในฐานะเดิมของตัวเอง แล้วใช้คำถามดังนี้
คุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง?
ความรู้สึกของคุณตอนนี้อยู่ที่คะแนนเท่าไหร่?
คุณตั้งใจทำอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง?
คุณจะทำให้สถานการณ์ดีขึ้นได้อย่างไร?
23 ก.ย. 2562 อ่าน 2,090 หมวด ทั่วไป
26 ก.ย. 2562 อ่าน 4,311 หมวด ทั่วไป
1 ต.ค. 2562 อ่าน 9,763 หมวด ทั่วไป
1 ต.ค. 2562 อ่าน 10,288 หมวด ทั่วไป
28 ต.ค. 2562 อ่าน 1,575 หมวด ทั่วไป
28 ต.ค. 2562 อ่าน 1,384 หมวด ทั่วไป
หมวด Management and Productivity อ่าน 2,809
หมวด Management and Productivity อ่าน 3,426
หมวด Thinking อ่าน 5,996
หมวด Thinking อ่าน 2,931
หมวด Thinking อ่าน 5,684
หมวด Thinking อ่าน 12,734
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,223
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 1,692