โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 7 มิถุนายน 2562 3,200 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การพัฒนาตนเอง / การแก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน Standard Problem
7 มิ.ย. 2562 อ่าน 35,515 หมวด การพัฒนาตนเอง
7 มิ.ย. 2562 อ่าน 7,602 หมวด การพัฒนาตนเอง
21 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,957 หมวด การพัฒนาตนเอง
21 มิ.ย. 2562 อ่าน 1,870 หมวด การพัฒนาตนเอง
28 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,351 หมวด การพัฒนาตนเอง
28 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,112 หมวด การพัฒนาตนเอง
“ปัญหา คือ อะไร ?”
“อะไร คือ ปัญหา ?”
คือ คำถามที่คิดว่าหลาย ๆ คนคงเคยโดนตั้งคำถาม หรือเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเอง เวลาที่ประสบพบเจอกับสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาซึ่งมีทั้งเรื่องส่วนตัว และเรื่องงาน
คำตอบที่มักได้ยินจากการตั้งคำถาม
“ปัญหา คือ อะไร ?”
“อะไร คือ ปัญหา ?” มักจะเป็น
จะเห็นได้ว่า คำตอบที่ได้ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำตอบกว้าง ๆ เป็นลักษณะ “อาการของปัญหา (Symptom)” ในเชิงนามธรรมไม่สามารถจับต้องได้ชัดเจน
นิยามของคำว่า “ปัญหา (Problem)” คือ “ความแตกต่าง (Gap)” ระหว่าง “สิ่งที่เป็นอยู่ (Actual)” กับ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” สามารถเขียนเป็นแผนภาพอธิบายได้ดังนี้
เพราะฉะนั้นการระบุหัวข้อปัญหาให้ชัดเจน ต้องระบุให้ได้ว่า
1. เราใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด (Indicator)?
2. สิ่งที่เป็นอยู่ (Actual) มีค่าเท่าไหร่ ?
3. สิ่งที่ต้องการ (Target) มีค่าเท่าไหร่ ?
ดังนั้นจะสามารถระบุหัวข้อปัญหาให้ชัดเจน ได้ดังนี้
1. ลดน้ำหนักตัวจาก 85 กิโลกรัมให้เหลือ 75 กิโลกรัม
2. ลด % ของที่ส่งไม่ทันกำหนดจาก 10% ให้เหลือ 2%
3. เพิ่มเงินออมจาก 0 บาทต่อเดือน ให้เป็น 2,000 บาทต่อเดือน 4. ลด % ของเสียจาก 5% ให้เหลือ 1%
หากย้อนกลับไปดู รูปที่ 1.1 นิยามของคำว่า “ปัญหา (Problem)” ก็จะพบว่าถ้าเรานำ “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ที่เราเคยทำได้ไปเปรียบเทียบกับ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” ก็จะมีความเป็นไปได้ของปัญหา 2กรณี คือ
กรณีที่ 1 “สิ่งที่ต้องการ (Target)” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน (Standard)”
ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 1 นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาท้าทาย (Challenge Problem)” ที่เราไม่สามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม “ค่ามาตรฐาน (Standard)”มาใช้ได้อีกต่อไป เพราะมันไม่เพียงพอที่จะนำเราไปสู่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)”
โดยเราจำเป็นที่จะต้องคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้ไปสู่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” โดยการใช้วิธีการออกแบบระบบ (Systems Design) ที่เราจะกล่าวในรายละเอียดในบทที่ 3
กรณีที่ 2 “สิ่งที่ต้องการ (Target)” น้อยกว่าหรือเท่ากับ “ค่ามาตรฐาน (Standard)”
ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาพื้น ๆ (Standard Problem)” ที่เราสามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม “ค่ามาตรฐาน (Standard)” มาปรับใช้ได้ โดยเราจำเป็นที่จะต้องคิดวิเคราะห์สาเหตุหาวิธีการปรับปรุง เพื่อให้ไปสู่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” โดยการใช้วิธีการวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) ที่เราจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป
แบบฝึกหัดท้ายบท จงระบุหัวข้อปัญหา (เรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัว) ที่ต้องการปรับปรุงให้ชัดเจน
7 มิ.ย. 2562 อ่าน 35,515 หมวด การพัฒนาตนเอง
7 มิ.ย. 2562 อ่าน 7,602 หมวด การพัฒนาตนเอง
21 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,957 หมวด การพัฒนาตนเอง
21 มิ.ย. 2562 อ่าน 1,870 หมวด การพัฒนาตนเอง
28 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,351 หมวด การพัฒนาตนเอง
28 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,112 หมวด การพัฒนาตนเอง
หมวด Management and Productivity อ่าน 2,808
หมวด Management and Productivity อ่าน 3,420
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,871
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,220
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 1,688
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 1,781
หมวด Advance Thinking อ่าน 2,628