โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 20 กันยายน 2565 138 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความ / การใช้คำคู่ชวนคิดสร้างการตระหนักรู้
28 ส.ค. 2561 อ่าน 16,455 หมวด การพัฒนาตนเอง
18 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,145 หมวด การโค้ชงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 1,572 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
18 ธ.ค. 2562 อ่าน 2,773 หมวด ทั่วไป
5 ก.ค. 2562 อ่าน 4,776 หมวด การพัฒนาตนเอง
30 ต.ค. 2563 อ่าน 984 หมวด การพัฒนาตนเอง
การใช้คำคู่ชวนคิดสร้างการตระหนักรู้ #coaching
เวลาที่ผู้เรียนกำลังเล่าความคิดของเขาผ่านเรื่องเล่าต่างๆ แล้วเรามองเห็นสิ่งที่เขาอาจจะติดหลุมพรางความคิดที่ทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงลบหรือไม่เป็นอย่างที่คิด ....
เราในฐานะวิทยากรสามารถทำอะไรได้บ้าง
1. บอกเขาตรงๆว่าเขาคิดผิดแล้วแนะนำวิธีการที่เราคิดว่าเหมาะกว่าให้กับเขา
หรือ
2. ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ของเราที่คล้ายๆกับเรื่องเขาให้เขาฟังแล้วบอกเขาว่าตอนนั้นเราทำอย่างไร
หรือ
3. พูดเชิงถามลอยๆแล้วปล่อยให้เขาคิดเอง
ผมเคยใช้ทั้งสามวิธีในคลาสและก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน แต่ผมมักจะฝึกใช้แนวทางที่สามคือการถามลอยๆ เพราะรู้สึกว่ายุ่งกับเขาน้อยดีครับ
เนื่องจากผมใส่หมวกโค้ชตอนสอน การจะถามลอยๆแล้วทำให้ผู้ถูกถามได้ประโยชน์จริงๆต้องอาศัยองค์ประกอบหลายอย่าง
1. การฟัง ... ตอนที่เขาเล่าเรื่องของเขาเราได้ยินอะไรบ้าง ซึ่งการฟังของโค้ชจะได้ยินทั้งด้านดีและหลุมพราง เพื่อเชื่อมโยงสู่คำถาม
2. การถาม ... คำถามมีหลายประเภท แต่คำถามที่ผมใช้ชวนคิดผมจะเลือกใช้คำคู่ ที่สะท้อนได้ทั้งกรอบความคิดและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเล่าของผู้เรียน
3. การสะท้อนกลับเชิงบวก ... เพื่อให้เขาไม่รู้สึกว่าถูกตำหนิและมีคนเข้าใจเจตนาของเขา ผมจึงต้องสะท้อนกลับให้เขามองเห็นคุณค่าหรือเจตนาที่ซ่อนอยู่ใต้พฤติกรรม
ยกตัวอย่างคลาสล่าสุดที่ผมได้ไปสอนเรื่อง การให้บริการ ( Service ) ซึ่งก็มีเคสน่าสนใจเคสหนึ่ง คือ ผู้เรียนในฐานะที่ต้องให้บริการลูกค้าเพื่อปิดงาน
ซึ่งกรอบความคิดในการบริการตรงนี้สำคัญเพราะหลายครั้งที่ผู้ให้บริการมุ่งหวังเพียงจะปิดงานให้ได้โดยพยายามใช้เทคนิคต่างๆมาโน้มน้าวเพื่อหวังผลระยะสั้นคือ #งานสำเร็จ มากกว่า #ความพึงพอใจ ของลูกค้าจากการใช้งานในระยะยาว
และสุดท้ายก็มักจะมีข้อร้องเรียนหลังการขายตามมามากมาย
ผมจึงใช้คำคู่สองคำคือ #Service กับ #Strategic เพื่อชวนเขาคิดถึงความแตกต่างระหว่างสองคำนี้และวัตถุประสงค์ทั้งระยะยสั้นและยาวของสองคำนี้
ซึ่งก็ชวนผู้เรียนสร้างการตระหนักรู้ได้พอสมควร
แม้ตอนที่ใช้เทคนิคนี้อาจดูเหมือนแข็งๆ วิทยากรไม่ช่วยเหลืออะไร ซึ่งก็ถือว่าทดสอบจิตใจของเราพอสมควร แต่ผมเชื่อว่าหากเราช่วยเขาคิดเยอะ เขาอาจจะได้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเราจริง แต่เราควรเสริมจังหวะที่เขาได้เป็นเจ้าของการเรียนรู้ด้วยตัวเองไปด้วยครับ
ตัวอย่างคำคู่อื่นๆครับ
ทัศนคติเชิงลบ VS ทัศนคติเชิงบวก
กรอบความคิดแบบยึดติด VS กรอบความคิดแบบเติบโต
ความเชื่อที่จำกัด VS ความเชื่อทรงพลัง
ความกลัว Fear VS ความกล้า Courage
พื้นที่ความคุ้นเคย VS พื้นที่ท้าทาย
Assertive VS Aggressive
Influencing VS Managing
Coaching VS Feedback
4 มิ.ย. 2564 อ่าน 652 หมวด ทั่วไป
20 ส.ค. 2561 อ่าน 2,903 หมวด การโค้ชงาน
23 ส.ค. 2561 อ่าน 12,398 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
3 เม.ย. 2562 อ่าน 8,906 หมวด การโค้ชงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 1,668 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,532 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 13,392
หมวด Softskill อ่าน 3,730
หมวด Train The Trainer อ่าน 3,534
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,966
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 10,220
หมวด Train The Trainer อ่าน 6,076
หมวด Train The Trainer อ่าน 55
หมวด Coaching and Thinking อ่าน 2,891