โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 20 สิงหาคม 2561 1,291 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด หัวหน้างานนักบริหาร / คมคิดนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 1,172 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 3,983 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 72,432 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 1,677 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
21 ส.ค. 2561 อ่าน 946 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
21 ส.ค. 2561 อ่าน 2,309 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
ไม่กี่วันก่อนผมได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและให้คำแนะนำในด้านกลยุทธ์แก่ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรแห่งหนึ่ง โดยเนื้อหาสาระที่หยิบยกมาพูดคุยปรึกษาหารือกันหลักๆก็เป็นเรื่องของทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคต การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กร จากการที่ได้กำหนดวาระในการพูดคุยไว้ล่วงหน้าและทำการบ้านมาระดับหนึ่งก่อนที่จะเข้าพบกับผู้บริหาร เลยทำให้การพูดคุยในวันนั้นค่อนข้างจะออกรสชาติ เปิดสมองไขปัญหาและได้ไอเดียใหม่ๆไปพอสมควรทั้งสองฝ่าย จังหวะหนึ่งของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนั้นได้มีการพูดกันไปถึงสถานการณ์บ้านเมือง เศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่ในระดับประเทศ จนถึงระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องเด่นประเด็นร้อนในปัจจุบันก็ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยด้วยอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เห็นปัจจัยทั้งด้านบวกและด้านลบที่อาจจะเข้ามามีอิทธิพลส่งผลกระทบต่อ การทำมาหากินของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมพอสมควร แน่นอนว่าในการหยิบประเด็นแวดล้อมของธุรกิจมาพูดคุยกันนั้นเจตนาหนึ่งก็คือ ความต้องการที่จะหยั่งรู้ล่วงหน้าถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงและเป็นไปที่จะมีขึ้นในอนาคตอันใกล้ เพื่อที่จะได้เตรียมตัวและหัวใจเอาไว้ให้แข็งแกร่งพร้อมต้อนรับกับสถานการณ์ทั้งที่ดีและร้าย ซึ่งโดยธรรมชาติของนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จนั้นมักจะเป็นผู้ที่มองโลกทั้งสองด้านเสมอ บ่อยครั้งก็เลยกลายเป็นว่าเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ร้ายไปสักหน่อย เนื่องจากมักจะอดไม่ได้ที่จะหาข้อติติงหรือมีความคิดเห็นในทางที่ขัดแย้งกับสัญญาณในด้านบวกเสมอ ซึ่งก็เป็นคุณสมบัติที่ดีประการหนึ่งสำหรับผู้บริหารทำให้มีความรอบคอบและตระหนักถึง ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในทางธรรมเรียกว่าดำรงตนอยู่บนความไม่ประมาท การพยากรณ์เรื่องหนึ่งที่กระทำกันในวันนั้นก็คือ การทำนายการเติบโตของเศรษฐกิจในปีหน้าว่าจะเป็นอย่างไร จะเป็นตัวฉุดหรือจะเป็นตัวเสริมความสำเร็จของธุรกิจ ผลการทำนายที่ได้จากบรรดาเกจิทุกฝ่ายในที่ประชุมวันนั้นมีความเห็นตรงกันครับว่าเศรษฐกิจของประเทศเติบโตแน่นอน แต่อย่างที่บอกครับว่านักบริหารอย่างเราๆมักเป็นพวกมองโลกในแง่ร้ายเป็นทุนเดิมกันอยู่แล้ว โอกาสก็เห็นแต่ในเวลาเดียวกันความเสี่ยงก็เห็นด้วยครับ ดังนั้นการเติบโตจึงไม่น่าจะมากเท่ากับในปีปัจจุบันอย่างแน่นอน เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนในปัจจัยหลายๆด้าน บทความนักบริหาร เช่น เสถียรภาพทางการเมือง ภาวะเศรษฐกิจโลก รวมทั้งฝีไม้ลายมือของผู้บริหารประเทศด้วย (อนาคตไม่แน่นอนครับว่ารัฐบาลจะยังเป็นชุดเดิมหรือชุดใหม่) พอหันมาดูเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ก็ทำให้ละเหี่ยใจไปอีกระดับหนึ่ง เพราะสัดส่วนของงบลงทุนที่จะก่อให้เกิดผลิตภาพขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างแท้จริงนั้นชั่งน้อยนิดเหลือเกิน แต่งบพวกสิ้นเปลืองสูญเปล่าใช้แล้วหายสาบสูญวัดประโยชน์เป็นรูปธรรมไม่ได้ ประเภทใช้จ่ายไปแล้วไม่สามารถสร้าง รายได้ให้เกิดขึ้นในอนาคตเงินไม่เพิ่มพูนไม่ออกดอกออกผลช่างมากมายมหาศาล ได้รู้ได้เห็นแล้วพูดได้คำเดียวว่าเสียดายเงินภาษีของประเทศชาติจริงๆ เลยได้แต่อิจฉาประเทศอื่นๆที่มีผู้นำประเทศที่มีวิสัยทัศน์และนักการเมืองของเขามีจิตสำนึกตระหนักถึงประโยชน์ของ ประเทศของเขามากกว่าและที่สำคัญสติปัญญาของพวกเขาฉลาดและยังเป็นนักปฏิบัติมากกว่าด้วย ไม่ใช่เก่งแต่พูดพ่นถ่มถุยไปวันๆเหมือนนักการเมืองส่วนมากในประเทศของเรา สิ่งที่สำคัญมีสาระไม่รู้อะไรที่สมควรมีประโยชน์ไม่ทำ
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในหลายๆมิติของชีวิตทำให้ผมมีสมมติฐานข้อหนึ่งถึงที่มาของพัฒนาการของประเทศที่น้อยกว่าที่ควรจะเป็นไปมาก ทั้งๆที่ประเทศก็มีแผนพัฒนาฯมาแล้วหลายสิบปีใช้มาแล้วก็หลายแผน สมมติฐานนั้นก็คือ สมรรถนะในด้านการคิดของประชากรในทุกระดับชนชั้น ทุกสาขาอาขีพที่เป็นจุดอ่อนหลัก ส่วนใหญ่คิดในเชิงระบบไม่เป็น มองการเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆอย่างเป็นเหตุเป็นผลในเชิงตรรกะไม่ได้ เลยทำให้ไม่สามารถมองเห็นและเข้าใจภาพรวมถึงในระดับที่เพียงพอ ต่อการรับรู้ถึงกลไกของเรื่องต่างๆได้อย่างถูกต้อง เป็นผลพวงให้คิดและทำอะไรต่างๆแบบแยกส่วน เฉพาะหน้า ไม่ต่อเนื่องและยั่งยืน ที่ผ่านมาการพัฒนาต่างๆก็เลยคิดและทำกันแบบแยกส่วน ไม่ต่อเนื่อง ต่างฝ่ายต่างทำ ซ้ำซ้อน สูญเปล่า สิ้นเปลือง แก้ปัญหาเฉพาะหน้า วิธีการแก้ปัญหานำไปสู่ปัญหาใหม่ๆให้ตามแก้กันอย่างไม่จบสิ้น ถ้าจะเปรียบเทียบการพัฒนาประเทศกับเรื่องการบริหารธุรกิจก็เรียก ได้ว่าล้มเหลวตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนแล้ว ได้แผนกลยุทธ์ที่ไม่มีประโยชน์และไม่สามารถสนับสนุนให้องค์กร บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจได้ นอกจากคิดไม่ได้ซ้ำร้ายกว่านั้นยังทำไม่เป็นอีก กล่าวคือโดนทั้งสองเด้ง ทั้งเรื่องของ Planning และ Deployment อะไรที่สมควรและสำคัญไม่ทำ ทำแต่เรื่องสนองประโยชน์ผู้มีอำนาจและทำแต่เรื่องง่ายๆสบายๆแต่ได้หน้า ประเทศเลยไม่ไปถึงไหนสักที ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงน่าจะมาจากรากเหง้าทางวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมายาว นานหล่อหลอมกันมารุ่นต่อรุ่นตั้งแต่ครั้งอดีต ซึ่งก็ตรงกับที่คุณวิกรม กรมดิษฐ์ได้วิพากษ์ไว้ว่าคนไทยควรที่จะลด ละ เลิก และเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีปฏิบัติกันได้แล้วก่อนที่จะสายเกินแก้ โดยคุณวิกรมได้กล่าวถึงจุดอ่อนที่สำคัญของคนไทย 10 ประการที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทั้งการพัฒนาในระดับบุคคล ถึงระดับประเทศไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
การเปลี่ยนแปลงประเทศไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่ายๆ แต่สิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าคือ การเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยยึดมั่นในสิทธิและหน้าที่ของตนเอง มีเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งในด้านการงานและด้านส่วนตัว หากทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้แล้ว สุดท้ายก็จะเปลี่ยนแปลงประเทศได้แน่นอน
20 ส.ค. 2561 อ่าน 1,172 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 3,983 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 72,432 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ส.ค. 2561 อ่าน 1,677 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
21 ส.ค. 2561 อ่าน 946 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
21 ส.ค. 2561 อ่าน 2,309 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,539
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,299
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,291
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 1,232
หมวด Management and Productivity อ่าน 2,513