โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 3 เมษายน 2562 8,883 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การโค้ชงาน / ทักษะที่สำคัญกับบทบาทของโค้ช
3 เม.ย. 2562 อ่าน 1,642 หมวด การโค้ชงาน
3 เม.ย. 2562 อ่าน 2,035 หมวด การโค้ชงาน
19 เม.ย. 2562 อ่าน 2,382 หมวด การโค้ชงาน
19 เม.ย. 2562 อ่าน 2,193 หมวด การโค้ชงาน
19 เม.ย. 2562 อ่าน 1,662 หมวด การโค้ชงาน
25 เม.ย. 2562 อ่าน 2,825 หมวด การโค้ชงาน
ผู้จัดการ/หัวหน้างานยุคใหม่ให้ความสำคัญกับทักษะการโค้ช (Coaching) มากกว่าการสั่งให้ทำงานเพราะพนักงานรุ่นใหม่ ต้องการหัวหน้าที่มีเหตุผล และเปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ ดังนั้นผู้จัดการ/หัวหน้างานจึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้สมารถใช้บทบาทของโค้ชได้มากขึ้น ซึ่งโค้ชที่ดีจะสามารถดึงศักยภาพของทีมงานได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ทักษะท่ำสคัญดังต่อไปนี้ การใช้คำถามในสถานการณ์ต่างๆ (Questioning)
การรับฟังอย่างตั้งใจ (Listening)
การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback)
การจูงใจและให้กำลังใจ (Motivation)
การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Set Goal)
ทักษะการโค้ช (Coaching) ไม่เหมือนการสอน (Teaching) เพราะทักษะการโค้ช โค้ชมีหน้าที่ดึงศักยภาพซึ่งมีอยู่แล้วในตัวโค้ชชี่ออกมา โดยทำให้โค้ชชี่เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวของเขาเอง โดยการใช้คำถามและกระตุ้นให้โค้ชชี่เลือกที่จะลงมือปฏิบัติมากกว่า การให้ความรู้ที่บังคับให้โค้ชชี่นำไปใช้
การใช้คำถามในสถานการณ์ต่างๆ (Questioning)
เทคนิคการใช้คำถามเพื่อทำให้โค้ชชี่ได้มีโอกาสคิด ด้วยตัวเอง ว่าแนวความคิดของตัวเองเป็นอย่างไร เมื่อโค้ชชี่เป็นผู้คิดด้วยตัวของเขาเองแล้ว เขาก็จะสามารถมองเห็นตัวของเขาเองได้ชัดเจนขึ้น และถ้ายอมรับในสิ่งที่เขาเป็นอยู่ว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ก็จะกระตุ้นให้เขาเกิดความอยากเปลี่ยนแปลง ทำให้เขารู้สึกว่าต้องเลือกปฏิบัติตัวใหม่แล้ว การเปลี่ยนแปลงก็จะเกิดขึ้น โดยที่โค้ชชี่เต็มใจปฏิบัติด้วยตัวของเขาเอง ไม่ต้องมีใครบังคับ
หมายเหตุ : เทคนิคการใช้คำถามประเภทต่างๆ
การฟังเป็นทักษะการโค้ชที่โค้ชต้องฝึกฝนเป็นอย่างมาก เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว เราจะไม่ค่อยได้ฟังผู้พูด เพราะเราจะมีคำพูดของเราที่เตรียมไว้อยู่แล้วทำให้โค้ชบางคน รับฟังอย่างผิวเผิน
ได้ยินแต่ไม่ได้ฟัง
รับฟังเพื่อโต้แย้ง
คอยพูดแทรกอยู่เรื่อยๆ
การรับฟังอย่างตั้งใจ (Listening)
การที่โค้ชไม่ฟังโค้ชชี่พูดก็จะทำให้ไม่สามาราถโค้ชชิ่งได้ เพราะโค้ชต้องดึงศักยภาพของโค้ชชี่ออกมาโดยจูงใจ ให้โค้ชชี่อยากเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเองการรับฟังจึงจะทำให้โค้ชชี่ยอมรับในตัวโค้ช แล้วอยากปฏิบัติตามในสิ่งที่โค้ชให้เป็นแนวความคิดไว้ การรับฟังอย่างตั้งใจจึงเป็นสิ่งที่โค้ชควรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งในระหว่างการโค้ชชิ่ง
การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก (Positive Feedback)
คนส่วนใหญ่ชอบคำชม มากว่าคำตำหนิ โค้ชควรให้ความระมัดระวังในการโค้ชชิ่งว่า ไม่ได้มีเจตนาตำหนิ แต่ชี้ให้เห็นประเด็นสำคัญที่โค้ชชี่ไม่ได้คิด โดยการใช้คำถามแทนการบอกว่าโค้ชชี่ผิด และเมื่อโค้ชชี่ปฏิบัติสิ่งใดได้ดีหรือมีแนวความคิดดีๆ โค้ชก็ควรชื่นชมอย่างจริงใจในทันที เพื่อให้โค้ชชี่เกิดความภาคภูมิใจในตัวเองเพิ่มขึ้น การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก ยังรวมถึงการให้ข้อมูลที่เป็นจริง แต่โค้ชชี่ต้องเป็นผู้พิจารณาว่าคิดอย่างไรกับข้อมูลนั้นๆ แล้วเลือกปฏิบัติด้วยตัวของโค้ชชี่เอง
การจูงใจและให้กำลังใจ (Motivation)
การพัฒนาตัวเองโดยการเปลี่ยนแปลงตัวเอง เป็นสิ่งที่หลายคนขาดความมั่นใจในตนเองว่าจะสามารถทำได้ เพราะเป็นเรื่องของอนาคต ทำให้เครียดและเป็นกังวลในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ส่วนใหญ่มองมองเป็นอุปสรรค และจินตนาการแต่ผลลัพธ์ที่เป็นเชิงลบมากกว่า ดังนั้นโค้ชจึงต้องใช้เทคนิคส่วนการจูงใจให้มองเห็นประโยชน์มากกว่าโทษ และให้กำลังใจเพื่อให้โค้ชชี่ก้าวข้ามอุปสรรคไปให้สำเร็จ โดยการเล่าประสบการณ์ต่างๆ ของโค้ชที่เคยผ่านเหตุการณ์ยากลำบากมาแล้ว ก็จะสามารถจูงใจให้โค้ชชี่เกิดกำลังใจกับตัวเองมากขึ้นถ้าโค้ชทำให้โค้ชชี่พูดถึงข้อดีของตัวเองได้ ก็จะยิ่งทำให้โค้ชชี่เกิดความเชื่อมั่นในตัวเองเพิ่มขึ้น
การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Set Goal)
ทักษะการโค้ชที่มีประสิทธิผลนั้น โค้ชต้องจูงใจให้โค้ชชี่เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยการตั้งเป้าหมายว่าจะลงมือปฏิบัติเรื่องอะไร โดยที่โค้ชและโค้ชชี่มีส่วนร่วมกับเป้าหมาย แต่โค้ชชี่ต้องเป็นผู้ปฏิบัติในเป้าหมายนั้น แต่เพียงผู้เดียว โค้ชเป็นเพียงพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาที่ให้แนวความคิดและบอกเล่าประสบการณ์เท่านั้น ไม่ควรเป็นผู้ปฏิบัติแทนโค้ชชี่ เพราะจะทำให้โค้ชชี่ไม่เติบโต แต่โค้ชรู้สึกมีส่วนร่วมกับเป้าหมายของโค้ชชี่ ก็จะทำให้โค้ชชี่มีกำลังใจ และเชื่อมั่นในเป้าหมายนั้นๆมากขึ้นแล้วครับ
ผู้จัดการในฐานโค้ช ควรพัฒนาทักษะต่างๆ ให้ดีเพราะจะสามารถทำให้โค้ชชี่เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยดึงศักยภาพที่มีอยู่แล้ว ในตัวของโค้ชชี่ออกมาด้วยตัวของเขาเอง ผู้จัดการไม่จำเป็นต้องบังคับ ทำให้การบริหารงานเกิดประสิทธิผลสูงขึ้น และความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและลูกน้องก็จะดียิ่งขึ้นครับ
ผู้จัดการควรใช้บทบาทโค้ช ในที่ทำงานให้มากขึ้นนะครับ
3 เม.ย. 2562 อ่าน 1,642 หมวด การโค้ชงาน
3 เม.ย. 2562 อ่าน 2,035 หมวด การโค้ชงาน
19 เม.ย. 2562 อ่าน 2,382 หมวด การโค้ชงาน
19 เม.ย. 2562 อ่าน 2,193 หมวด การโค้ชงาน
19 เม.ย. 2562 อ่าน 1,662 หมวด การโค้ชงาน
25 เม.ย. 2562 อ่าน 2,825 หมวด การโค้ชงาน
หมวด Coaching อ่าน 6,856
หมวด Coaching อ่าน 4,756
หมวด Train The Trainer อ่าน 11,906
หมวด Coaching อ่าน 7,808
หมวด Coaching อ่าน 4,582
หมวด Advance Coaching อ่าน 2,224
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,036
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,693