โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 1 มีนาคม 2565 259 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การบริหารโครงการ / บริหารโครงการนอกตำรา EP. 6
1 มี.ค. 2565 อ่าน 272 หมวด การบริหารโครงการ
1 มี.ค. 2565 อ่าน 273 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 42 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 44 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 39 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 57 หมวด การบริหารโครงการ
=====================
หนึ่งในสถานการณ์ที่ผู้บริหารโครงการไม่ค่อยอยากเจอคือ "การถูกเปลี่ยนแปลงแผนงานที่วางไว้แล้วหรือการถูกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นในเรื่องที่ตัวเองมีข้อจำกัด" เช่น
Owner ขอเปลี่ยนแปลงขอบเขตหรือรายละเอียดงาน
ทีมอื่นขอให้จัดสรรปันส่วนทรัพยากรไปช่วยเหลือเช่น แรงงาน เครื่องจักร วัสดุ
ถูกขอให้ปรับเปลี่ยนแผนงานหรือวิธีการที่เราเซ็ตไว้เป็นอย่างดีแล้ว
ผู้ใหญ่หรือฝ่ายที่มีอำนาจขอปรับลดงบประมาณในส่วนต่างๆลงเช่น ชั่วโมงทำงาน จำนวนแรงงาน
---------------------
การถูกเปลี่ยนแปลงมักจะมาในรูปแบบของ "คำสั่งแบบเป็นทางการ" เช่น Memo , Letter , MOM หรืออาจจะเป็น "การข้อร้องแบบคนกันเอง" บางเรื่องเปลี่ยนแล้วดี เปลี่ยนแล้วไม่มีผลกระทบ ไม่ทำให้การบริหารงานยุ่งยากหรือซับซ้อนขึ้นผู้บริหารโครงการก็ยินดีที่จะเปลี่ยนหรือทำให้ หรือหากผู้บริหารโครงการมี Hidden Agenda อื่นเช่น ต้องการสร้าง Relation & Connection หรือคาดหวังรายได้จากงานเพิ่มเติม (Additional Work) ก็ยินดีที่จะเปลี่ยนหรือทำให้เช่นกัน แต่จากประสบการณ์ของผม การเปลี่ยนแปลงหรือขอความช่วยเหลือมักจะกระทบกับแผนงาน ขั้นตอนที่เตรียมไว้แล้วหรือกระทบกับทรัพยากรที่มีในมือ (อย่างจำกัด) หากยินยอมทำตามก็ต้องเสียเวลาในการปรับเปลี่ยนหลายๆเรื่อง รื้อแผนหรือต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่เลยก็มี บางที่ต้องเรียกประชุม ต้องแจ้งคนที่เกี่ยวข้อง ไปขอร้องคนอื่นให้เขาเปลี่ยนแปลงอีกต่อหนึ่ง ซึ่งจะ Interupt เราทั้งความรู้สึกและความคิด บางทีกระทบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือบรรยากาศการทำงานภายในโครงการก็มี
---------------------
ผู้บริหารโครงการหลายคนอยากปฏิเสธหรือไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ทำไม่ได้เพราะ ขี้เกรงใจบ้าง กลัวมีปัญหาภายหลังบ้าง ไม่กล้าปฏิเสธบ้าง แต่ผู้บริหารโครงการมือเก๋ามีเทคนิคในการปฏิเสธที่ทำให้ผู้ร้องขอต้องลังเลบ้าง หรือเข้าใจ จนนำไปสู่การจะไม่เปลี่ยน ไม่ปรับ ไม่ร้องขอความช่วยเหลือ (ซึ่งอาจจะไม่เต็มใจแต่พอเข้าใจและรับได้) โดยเทคนิคที่ใช้เช่น ....
#Impact : ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นตามมาหากปฏิบัติตามคำนั้น โดยมักจะยกกรณี Worst Case ไว้ก่อน แล้วอาศัยข้อมูลเชิงประสบการณ์จริงที่เคยผ่านมา ทำให้ผู้ขอร้องเกิดความลังเล (Dilemma) ชั่งใจและเปลี่ยนใจในที่สุด
...........
#Refer : อ้างบุคคลที่มีอำนาจสูงกว่าเช่นระดับผู้บริหารองค์กร MD CEO เพื่อเพิ่มน้ำหนักของคำปฏิเสธ แต่ผู้บริหารมือเก๋าๆไม่ได้ใช้วิธีนี้พร่ำเพรื่อ เพราะมันไปกระทบความสัมพันธ์ภายหลัง จึงเลือกใช้เฉพาะตอนที่จำเป็นจริงๆ หรือแบบถอยไม่ได้
............
#Bargain : การมีข้อแลกเปลี่ยนที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกหนักใจและทำให้เปลี่ยนใจเนื่องจากรู้สึก "ไม่คุ้มค่า" กับสิ่งที่จะได้จากคำขอนั้น ซึ่งก็ต้องอ่านใจ รู้จักและมีข้อมูลของอีกฝ่ายพอสมควรถึงจะเสนอข้อแลกเปลี่ยนที่ทำให้เกิดผลลัพธ์แบบนี้ได้ และข้อแลกเปลี่ยนนั้นก็ยังเป็นไปเพื่อประโยชน์ของโครงการหรือองค์กรอยู่ดี
...........
#Stick on Contract : ใช้การยืนยันตามข้อสัญญาที่ได้ตกลงไว้ วิธีนี้ต้องอาศัยความใจแข็ง (ความเขี้ยว) มากพอสมควร แต่ก็เป็นคุณสมบัติหนึ่งที่มีอยู่ในตัวผู้บริหารมือเก๋าหลายท่าน แต่ก็ต้องเตรียมใจไว้ว่าหากในอนาคตตนเองต้องไปขอความช่วยเหลือจากเขาบ้างก็จะยากขึ้นด้วยเช่นกัน
------------------
ทั้ง 4 เทคนิค การปฏิเสธที่ใช้นี้ไม่ได้มีศาสตร์หรือหลักการตายตัว ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล สถานการณ์ และอีกฝ่ายด้วยเช่นกัน หลายครั้งที่ปฏิเสธได้ผล แต่หลายครั้งก็ต้องไปเจรจาต่อรองกันต่อจะ Win-Win ,Win-Lost หรือ Lost-Lost ก็แล้วแต่ความเก๋าและความสามารถของผู้บริหารโครงการ แต่สุดท้ายแล้ว...วัตถุประสงค์จริงๆของการปฏิเสธก็เพื่อให้โครงการเดินหน้าได้ตามแผนแรกที่วางไว้ (แม้อาจจะเอนเอียงไปทางประโยชน์ส่วนของทีมบริหารบ้าง) แต่หากโครงการจบตามแผนงาน งบประมาณ และคุณภาพได้จริง ผลประโยชน์ก็กลับคืนสู่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอยู่ดี
1 มี.ค. 2565 อ่าน 272 หมวด การบริหารโครงการ
1 มี.ค. 2565 อ่าน 273 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 42 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 44 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 39 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 57 หมวด การบริหารโครงการ
หมวด Management and Productivity อ่าน 6,833
หมวด Advance Leadership อ่าน 1,659
หมวด Sales and Marketing อ่าน 4,782
หมวด Sales and Marketing อ่าน 3,770
หมวด Management and Productivity อ่าน 5,814
หมวด Management and Productivity อ่าน 6,441
หมวด Thinking อ่าน 3,673