โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 11 มกราคม 2566 44 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การบริหารโครงการ / บริหารโครงการนอกตำรา EP:10
11 ม.ค. 2566 อ่าน 39 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 57 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 52 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 58 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 55 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 57 หมวด การบริหารโครงการ
บริหารโครงการนอกตำรา EP:10
======================
งานโครงการถือเป็นแหล่งรวมคนที่มีความหลากหลาย ทีมงานที่อยู่ในโครงการก็มีความหลากหลาย แต่สิ่งที่มีเหมือนกันคือทำงานภายใต้ข้อจำกัด
#ข้อจำกัดด้านเวลา
ไม่มีใครทำงานแบบไปเรื่อยๆได้ ทุกความล่าช้ามักจะกระทบคนอื่นและกระทบกับเป้าหมายๅโครงการ
#ข้อจำกัดด้านทรัพยากร
แม้ทรัพยากรอาจจะไม่ได้มีจำกัด แต่ก็ไม่ได้มีให้ใช้แบบไม่ต้องคิด แต่ละทีมจึงต้องมีแผนงานทีชัดเจนเพื่อมาจัดสรรปันส่วนกัน
#ข้อจำกัดด้านงบประมาณ
ผู้บริหารโครงการต้องบริหารcashflow ให้หมุนเวียนได้จนจบโครงการ การทุ่มเม็ดเงินไปที่เรื่องใดเรื่องหนึ่งอาจส่งผลกระทบก็ส่วนอื่น
จากข้อจำกัดดังกล่าวโดยธรรมชาติของมนุษย์คือการเอาตัวรอด ซึ่งวิธีการเอาตัวรอดนั้นก็มักจะกระทบกับเพื่อนร่วมโครงการอยู่เสมอ เช่น
• ถ้าต้องรอให้อีกฝ่ายหนึ่งเสร็จก่อน ผมจะทำงานยากขึ้น ทำไมไม่ให้ทำพร้อมกัน
• ผมจองพื้นที่ตรงนี้ไว้ก่อนแล้ว ผมต้องได้ทำงานก่อน
• งานผมเร่ง ผมขอวัสดุล๊อตนี้ก่อนละกัน
• ถ้าเขาทำแบบนี้ งานผมก็เสียหาย ถ้าส่งงานไม่ผ่านใครจะรับผิดชอบ
• ผมส่งงานก่อนแต่ทำไมทีมนั้นถึงเบิกเงินได้ก่อน
นี่คือตัวอย่างของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำในโครงการ
-----------
แต่ในฐานะผู้บริหารโครงการมือเก๋าชอบที่จะได้เห็นสถานการณ์แบบนี้เพราะมันสะท้อนว่าทีมงานมีความมุ่งมั่นและจริงจังกับการทำงานของตัวเองให้สำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่ามีการกระทบกระทั่งกันระหว่างคนที่ทำงานอยู่แล้ว เพียงแต่หากไม่ควบคุมให้ดี ความขัดแย้งอาจลุกลามจนส่งผลเสียต่อโครงการอย่างรุนแรงได้เช่น หยุดงาน ทิ้งงาน ทำลายทรัพย์สินโครงการ การบริหารความขัดแย้งจึงเป็นเหมือนการเป็นกรรมการห้ามมวยที่ต้องควบคุมให้แต่ละฝ่ายทำงานภายใต้กรอบกติกาเดียวกันและมองเป้าหมายที่ใหญ่กว่าของตนเองซึ่งก็คือ"ความสำเร็จของโครงการ"
---------
เทคนิคการจัดการความขัดแย้งของทีมงานในโครงการที่ผมได้เรียนรู้จากทั้งตัวเองและผู้บริหารโครงการเก๋าๆ มีดังนี้ครับ
1.เป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไปจนอีกฝ่ายรู้สึกเป็นส่วนเกินของโครงการ
2.วางแผนให้รอบคอบมองให้รอบด้าน ถ้าต้องมีใครเสียผลประโยชน์หรือได้รับผลกระทบควรพูดคุยให้เกิดการยอมรับก่อนตัดสินใจ
3.ทำให้ทุกคนในทีมโครงการรู้สึกว่าตนเองเป็นคนสำคัญเหมือนกันหมดและโครงการก็ต้องการทุกคน
4.มีความเด็ดขาด หากมีฝ่ายผิดก็ว่าไปตามผิดหลีกเลี่ยงการอลุ้มอล่วยให้มากที่สุด เพื่อคงความศักดิ์สิทธิของกฏ กติกาการทำงานร่วมกัน
5.สร้างบรรยากาศความสนุกสนานในการทำงานอยู่เสมอ สังสรรค์บ้าง ผ่อนคลายบ้าง มีกิจกรรมร่วมกันบ้างตามความเหมาะสม
6.ความไว้วางใจในตัวผู้นำจากทีมงานคือสิ่งสำคัญที่สุด ยืนยันหนักแน่นต่อทุกคนเหมือนกัน หลีกเลี่ยงการ"หลอกใช้"เพื่อให้คนบางคนหรือบางกลุ่มได้ผลประโยชน์
7.ความสำเร็จเป็นของทีม แต่ความล้มเหลวต้องเป็นของผู้นำ หลีกเลี่ยงการกล่าวโทษใครก็ตามแม้จะมีส่วนในความล้มเหลวนั้น
8.ปล่อยให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้นได้บ้าง เพื่อให้มีบรรยากาศของความมุ่งมั่นจริงจัง เพราะหากพยายามให้เกิดแต่ความประนีประนอม ถ้อยทีถ้อยอาศัย ก็จะกลายเป็นความสบาย ทำไปแบบเรื่อยๆ ได้
9.หากจำเป็นต้องจัดสรรทรัพยากรเพิ่มจากที่วางแผนไว้ก็ควรทำทันทีแม้จะมีผลกระทบด้านการเงินบ้างเพื่อทลายข้อจำกัดของผู้ปฏิบัติงานและลดบรรยากาศความตึงเครียด
10.พร้อมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงานของทุกคนโดยใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ ให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นผู้นำที่พึ่งได้
-----------
ความขัดแย้งมักเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเพราะแต่ละคนแต่ละทีมมีประสบการณ์มีมมุมองที่ต่างกันส่งผลถึงวิธีการทำงานและการตัดสินใจ ผู้บริหารโครงการที่เข้าใจธรรมชาติของความขัดแย้งมักจะรับมือกับความขัดแย้งได้ดี และยังทำให้คนในทีมรู้สึกและยอมรับได้ว่า "ความขัดแย้งคือส่วนหนึ่งของการทำงาน"
11 ม.ค. 2566 อ่าน 39 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 57 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 52 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 58 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 55 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 57 หมวด การบริหารโครงการ
หมวด Project Management อ่าน 3,625
หมวด Project Management อ่าน 4,235
หมวด Management and Productivity อ่าน 3,125
หมวด Management and Productivity อ่าน 7,072
หมวด Management and Productivity อ่าน 17,389
หมวด Management and Productivity อ่าน 2,644
หมวด Management and Productivity อ่าน 3,380
หมวด Management and Productivity อ่าน 9,397