โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 11 มกราคม 2566 44 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การบริหารโครงการ / บริหารโครงการนอกตำรา EP:11
11 ม.ค. 2566 อ่าน 63 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 56 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 64 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 61 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 62 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 66 หมวด การบริหารโครงการ
บริหารโครงการนอกตำรา EP:11
=====================
"มนุษย์ใช้การเจราจาต่อรองแทบทุกวัน"
และยิ่งถ้าเป็นงานโครงการยิ่งใช้แทบทั้งวัน กับลูกน้องบ้าง แผนกอื่นบ้าง บุคคลภายนอกบ้าง Suppliers Subcontractor Owner เต็มไปหมด เนื่องจากทรัพยากรในโครงการมีอย่างจำกัดพอดีเช่น กำลังคน อุปกรณ์ เครื่องมือ วัสดุ งบประมาณ รวมถึงทรัพยากรที่สำคัญที่สุดคือ เวลา รวมถึงความต้องการของ Owner User Customer ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ทุกฝ่ายที่ทำงานภายในโครงการจึงอยากให้งานใน scope ของตนเองจบโดยเร็วที่สุด ใช้ต้นทุนน้อยที่สุด และรักษาคุณภาพของงานให้ดีที่สุด...เท่าที่จะบริหารจัดการได้ แต่ข้อจำกัดต่างๆที่แต่ละฝ่ายมีมักจะเกี่ยวข้องและส่งผลต่องานของฝ่ายอื่นๆ เช่น
• ฝ่ายจัดซื้อต้องเทียบราคาของ Suppliers 3 เจ้าตามนโยบาย จึงส่งผลถึงระยะเวลาของการได้ของมาใช้งาน
• หน้างานยังไม่เรียบร้อยจึงไม่พร้อมส่งมอบให้อีกทีมเข้ามารับงานต่อตาทแผนที่วางไว้
• ลูกน้องและผู้รับเหมามีงานเต็มมือจึงไม่สามารถแบ่งคนไปช่วยเหลืองานส่วนอื่นที่ร้องขอมาได้
• ผู้บริหารองค์กรสั่งให้ควบคุมต้นทุนจึงไม่สามารถเบิกเงินได้ง่ายเหมือนเกิม
• พื้นที่มีค่อนข้างจำกัดทำให้ไม่สามารถจัดวางอุปกรณ์ได้ ทำให้ต้องขนย้ายเป็นระยะทางไกลและเสียเวลามาก
สถานการณ์แบบนี้มีทั้งผู้ได้และเสียประโยชน์ ซึ่งน้อยคนที่จะยอมเสียประโยชน์หรือยินดีเสียสละเพื่อให้ตัวเองทำงานลำบากขึ้น จึงเป็นเหตุผลให้เกิดการเจรจาต่อรองกันอยู่เสมอในโครงการ แต่งานโครงการมีน้อยครั้งมากที่จะเจรจาแล้วทุกฝ่าย WIN หมดทุกครั้ง โดยธรรมชาติก็มักจะมีคนที่ต้อง LOST คือทำงานยากขึ้น ต้องปรับวิธีการใหม่ ส่วนจะ LOST มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการเจรจาต่อรอง
----------
จากประสบการณ์ที่เคยผ่านสถานการณ์การเจรจาต่อรองมา เจอทั้งแบบ WIN-WIN , WIN-LOST , LOST-LOST และเห็นผู้บริหารโครงการมือเก๋าที่เป็นสุดยอดนักเจรจา ผมถอดวิธีคิดของสุดยอดนักเจรจาต่อรองออกมาได้ 8 ข้อดังนี้
1.คิดถึงผลลัพธ์ที่เราและอีกฝ่ายคาดหวัง(อยากได้มากที่สุด)คืออะไร
2.ให้ความสำคัญกับในข้อจำกัดของเราและอีกฝ่ายว่ามีอะไรบ้าง
3.ประเมินทางออกที่ดีที่สุดและจุดตัดใจของอีกฝ่ายอยู่ตรงไหน อำนาจการตัดสินใจมีแค่ไหน
4.ค้นหากรอบของการเจรจาตามความต้องการและข้อจำกัดของแต่ละฝ่ายเช่น ระยะเวลา ทำงาน1วัน (เรา)-5วัน (เขา) , ไม่อนุมัติงบเลย (เขา) - 100,000 บาท (เรา) , ส่งของวีคหน้า (เขา)-ส่งพรุ่งนี้ (เรา)
5.คิดถึงทางออกอื่นๆเพิ่มเติมอยู่เสมอเพื่อไม่ให้การต่อรองกรณีเจอทางตัน เช่น ส่งให้ก่อน 30% ภายในสามวัน , อนุมัติงบให้ 50,000 บาทโดยที่ต้องส่งงานก่อน 50%
6.พยายามรักษาบรรยากาศของการพูดคุยโดยมองที่ภาพความสำเร็จของโครงการร่วมกัน
7.หาโอกาสในการทำให้อีกฝ่ายรู้สึกตัวเองมีคุณค่าเป็นคนสำคัญ เช่น ชื่นชมที่เขายึดมั่นเรื่องคุณภาพ , เข้าใจที่เขาต้องรักษาสมดุลของงบประมาณเพื่อให้โครงการอยู่รอด
8.อ่อนน้อมแต่ไม่อ่อนแอ ยึดมั่นในจุดยืนและหลักการ (Assertive) หากอีกฝ่ายไม่ยอมรับหรือยอมปรับเงื่อนไขและทำให้เราเสียเปรียบมากเกินไปก็ต้อง"หยุดการเจรจา" เพื่อกลับมาประเมินสถานการณ์ใหม่และกลับเข้าสู่การเจรจาอีกครั้งภายหลัง
----------
ตำราสุดยอดเทคนิคการเจรจาต่อรองที่เขียนไว้ดีอยู่แล้วและใช้ได้จริง แต่สำคัญสุดคือการอยู่กับสถานการณ์จริงแล้วเรียนรู้ทำความเข้าใจกับตัวเอง กระบวนการคิดและตระหนักรู้ถึงเหตุผลขการตัดสินใจทุกครั้ง..จะช่วยให้เราเป็นนักเจรจาต่อรองที่อีกฝ่ายยอมรับและ respect เรามากขึ้นไม่ว่าเราจะอยู่ใน Level ใดก็ตา
11 ม.ค. 2566 อ่าน 63 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 56 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 64 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 61 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 62 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 66 หมวด การบริหารโครงการ
หมวด Sales and Marketing อ่าน 3,766
หมวด Management and Productivity อ่าน 8,291
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 7,183
หมวด Management and Productivity อ่าน 1,814
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,612
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 6,510
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,839
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 6,265