โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 11 มกราคม 2566 47 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การบริหารโครงการ / บริหารโครงการนอกตำรา EP:9
11 ม.ค. 2566 อ่าน 50 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 46 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 63 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 57 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 64 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 62 หมวด การบริหารโครงการ
บริหารโครงการนอกตำรา EP:9
=====================
สำหรับผู้บริหารโครงการแล้ว"ปัญหา"เป็นเหมือนอาหารที่มีบริกรหลากหลายหน้าตามาเสิร์ฟทุกวัน
แต่ส่วนมากจะเป็นอาหารที่ไม่ค่อยถูกปาก ไม่อยากทาน ไม่เป็นมิตรต่อจิตใจ ซึ่งจะชอบหรือไม่ชอบมันก็มาอยู่ตรงหน้าแล้ว
วิธีการจัดการกับอาหารจานนี้
1. ทานให้หมดๆไป(กินกันตาย)
2. ไม่ทานปล่อยไว้แบบนั้น
3. ทานเพื่อให้มีสารอาหารไปเลี้ยงร่างกาย
4. โอนให้คนอื่นทานแทน
ปัญหาที่เกิดขึ้นในโครงการมันก็วิ่งเข้าหาผู้ที่รับผิดชอบโครงการเหมือนอาหาร และผู้บริหารโครงการก็จะจัดการกับปัญหานั้นเหมือนกับการจัดการอาหาร(ที่ยกตัวอย่าง) วิธีที่ 1และ2 เป็นเหมือนการเพิกเฉยหรือแก้ให้จบๆไป แต่ส่วนใหญ่จะจบไม่จริงเพราะสาเหตุรากเหง้า (Root cause) ยังอยู่ ผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบสูงจะเลือกแบบที่สามคือคิดว่าปัญหาทำให้เกิดการเรียนรู้ การพัฒนา แถมยังช่วยให้เติบโตทางประสบการณ์อีกด้วย แต่อย่างไรก็มีข้อจำกัดข้อหนึ่งอยู่ดีคือ เราคงไม่สามารถทานพร้อมกันได้เยอะๆ สิ่งที่ควรทำคือ ต้องเราเลือกทาน ขณะเดียวกันก็ต้องหาคนมาช่วยทานด้วย ต่อให้ผู้บริหารโครงการมีความเก่ง ความอึด ความเก๋าแค่ไหน หากเก็บปัญหาทุกอย่างมาคิด มาแก้ มาจัดการเองหมด ก็ดูจะเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเวลาและพลังงานมากเกินไป แถมอาจทำให้เกิดอาการ Burnout ได้ด้วย
------------
ผมเคยเห็นผู้บริหารโครงการมือเก๋าๆหลายท่านใช้วิธีการ"โยน"ปัญหาให้ทีมงาน ที่ผมใช้คำว่า"โยน"เพราะผมเองก็เคยเป็นคนที่ถูก"โยน"ปัญหามาให้จัดการ ในฐานะคนที่ต้องรับปัญหามา ผมรู้สึกว่าทำไมหัวหน้าไม่แก้เอง ทำไมหัวหน้าคนนี้ชอบเอาแต่โยนปัญหา แล้วตัวเองก็ไปนั่งชิล นั่งสบาย ผมรู้สึกแบบนั้นอยู่ตลอดจนกระทั่งวันที่ผมขึ้นมาเป็นหัวหน้าบ้าง !!!
แทนที่จะมีเวลามองภาพรวมของโครงการ มอนิเตอร์เรื่องต้นทุน คาดการณ์ความเสี่ยงต่างๆ และคิดกลยุทธ์หรือวิธีการปรับปรุงการบริหารงานตามจุดต่างๆ กลับต้องมาวิ่งตามแก้ปัญหารายวัน ปัญหาของลูกน้อง ปัญหาของคนอื่นที่กระทบงาน รับเรื่องที่ไม่น่าเป็นเรื่อง(ใหญ่)จากคนอื่น และ.....(อีกมากมาย) ผมเลยนึกถึงหัวหน้าคนนั้นที่เอาแต่โยนๆๆๆปัญหา แต่กลับควบคุมให้โครงการคืบหน้าไปได้จนจบ (พร้อมกับคำแอบนินทาของบรรดาลูกน้องรวมถึงผมด้วย) เข้าใจมากขึ้นเลยว่าเพราะการโยนปัญหาออกจากตัวเองเพื่อให้ท่านมีเวลาไปจัดการในระดับภาพรวมของโครงการแทน บรรดาลูกน้องจึงมีทรัพยากรใช้อย่างเพียงพอ และมีเครื่องมือในการบริหารงานได้สะดวกขึ้น แถมลูกน้องแต่ละคนก็รู้สึกว่าตัวเองมีประสบการณ์มากขึ้น มีความมั่นใจ กล้าตัดสินใจและรู้สึกว่าตัวเองก็เป็นเจ้าของผลงานชิ้นนั้นๆอย่างเต็มภาคภูมิ และมองย้อนกลับไปจริงๆแล้วคำว่า"โยน"ปัญหาที่ลูกน้องเรียกกันตอนนั้น มันก็คือคำว่า "มอบหมายงาน" ในเชิงการบริหารงานนั่นเอง
------------
การมอบหมายงานสำคัญ ปัญหาที่มีผลกระทบสูงให้ทีมงานแสดงว่า หัวหน้าต้องเชื่อมั่นและไว้วางใจในตัวลูกน้องมากพอสมควร ส่วนลูกน้องคนนั้นก็ต้องมีความสามารถ พร้อมเรียนรู้และกัดปัญหาไม่ปล่อยจนกระทั่งแก้ไขได้
โดยรวมๆแล้วการตัดสินใจ"โยน"ปัญหาให้ใครสักคนนั้น สิ่งที่ผู้บริหารโครงการต้องดูและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน มีประมาณ 8 ข้อดังนี้
1.ดูความสำคัญปัญหาไหนต้องแก้เอง ปัญหาไหนโยนได้
2.ดูโหงวเฮ้ง(ความสามารถ)ของคนที่จะโยนให้ว่าโอเคหรือไม่
3.เต็มใจและมั่นใจ โยนให้ขาด สั่งให้เคลียร์ คุยให้ชัดว่าผลลัพธ์ที่ต้องการหน้าตาเป็นอย่างไร
4.เอกสาร คู่มือ เครื่องมือที่เกี่ยวข้องต้องเอาให้ไปด้วยเผื่อเขาจะศึกษาได้เอง
5.Authorize อำนาจการตัดสินใจต้องกำหนดให้ชัด แค่ไหนทำได้ แค่ไหนต้องกลับมาคุยกัน
6.เกลี้ยกล่อมตะล่อมให้อยู่ ทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกน้องที่เลือกไม่ปฏิเสธ(หรือปฏิเสธไม่ได้)
7.แผนสำรองหากลูกน้องที่เลือกทำไม่ได้ ไปไม่รอด จะดึงกลับมาทำเอง จะลงไปช่วย หรือหาตัวช่วยเพิ่มให้ อาจต้องมีเผื่อไว้
8.จะติดตามอัพเดตความคืบหน้ากันอย่างไร ถี่แค่ไหน เพื่อไม่ให้งานหลุดschedule ต้องคุยกันให้ชัดเจน
-----------
เพราะงานโครงการต้องแข่งกับเวลา ทุกนาทีคือต้นทุนและมีค่าเสียโอกาส ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกระทบกับเป้าหมายทั้งนั้น การเป็นผู้นำโครงการจึงต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยว เด็ดขาด แต่ไม่ใช่เผด็จการจนทีมงานรู้สึกว่าตัวเองไม่มีทางเลือกและเสนออะไรไม่ได้ หน้าที่ของผู้บริหารโครงการคือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับทีมงานว่าว่าภายใต้การบริหารงานของเขาโครงการจะสามารถจบได้ และทุกคนก็คือส่วนสำคัญและพร้อมจะลุยงานหนักไปด้วยกัน
11 ม.ค. 2566 อ่าน 50 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 46 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 63 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 57 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 64 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 62 หมวด การบริหารโครงการ
หมวด Coaching อ่าน 2,661
หมวด Coaching อ่าน 3,911
หมวด Leadership อ่าน 3,345
หมวด Leadership อ่าน 5,582
หมวด Leadership อ่าน 4,629
หมวด Leadership อ่าน 3,238
หมวด Leadership อ่าน 13,493
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,956