โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 22 เมษายน 2562 1,663 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน / ประหยัดพลังงานสมองเบอร์ 5
22 พ.ค. 2562 อ่าน 1,752 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 พ.ค. 2562 อ่าน 2,799 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 พ.ค. 2562 อ่าน 2,220 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
6 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,635 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
6 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,150 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
12 ธ.ค. 2562 อ่าน 1,244 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
เคยมีบ้างไหมครับ ที่หลังจากต้องคิดงานยากๆ หรือพอรู้สึกว่าสมองมันล้ามากๆ ทำให้เราต้องเดินไปดื่มกาแฟสักแก้ว หรือรู้สึกอยากหาน้ำหวานๆ สักขวดมาดื่ม หลังจากนั้นเราก็จะรู้สึกกลับมาสดชื่นพอจะกลับมาทำงานต่อได้อีกพัก
สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะสมองของเราใช้พลังงานไปจนเกือบหมด และแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับสมองของเราก็คือ น้ำตาลกลูโคส การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลกลูโคสหรือน้ำตาลอื่นๆ เป็นส่วนผสม จึงช่วยต่อเวลาให้สมองเราได้อีกระยะหนึ่ง
จากบทความก่อนหน้านี้ เราคงได้เริ่มมองเห็นแล้วว่า เรามีขีดจำกัดของพลังงานสำหรับสมอง และนั้นเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้สมองส่วนคิดของเราไม่สามารถใช้ศักยภาพได้เต็มที่
สมองจำเป็นต้องใช้พลังงานสำหรับการคิดในงานแต่ละงาน โดยงานแต่ละงานใช้พลังงานจากสมองที่ไม่เท่ากัน งานบางงานจำเป็นต้องใช้สมองส่วนคิดมาก การใช้พลังงานก็สูงตามไปด้วย แต่ถ้าเราสังเกต งานบางงาน เรากลับทำได้อย่างรวดเร็วโดยแทบไม่ได้คิดเลย และมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะสำหรับงานบางงานเราแทบไม่ต้องคิด
ถ้าเราต้องคิดทุกเรื่องราวในชีวิต วันหนึ่งๆ เราอาจมีเรื่องที่ต้องคิดมากถึง 60,000 – 70,000 เรื่องต่อวัน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น เราต้องแสวงหาพลังงานที่สูงมากเพื่อให้เพียงพอแก่สมองในแต่ละวัน เราอาจจะต้องหิวและใช้เวลาแทบทั้งหมดในการหาอาหารใส่ท้อง สมองของเราจึงมีการปรับตัว โดยการนำงานที่ต้องทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ ไปเก็บในหน่วยความจำในสมองส่วน Basal Ganglia สิ่งต่างๆ เหล่านั้นกลายมาเป็น ความทรงจำ กลายเป็นทักษะ ของเรา ซึ่งสมองส่วนนี้ใช้พลังงานน้อยกว่า ทำให้เราสามารถทำเรื่องต่างๆ ที่เราคุ้นเคยได้โดยใช้พลังงานน้อยลง เราจะได้เหลือพลังงานไว้สำหรับคิดเฉพาะเรื่องใหม่ๆ เรื่องที่สำคัญๆ เรื่องที่จำเป็นจริงๆ สำหรับเราเท่านั้น
ดังนั้นการที่ใครบางคนบอกว่า เขาสามารถทำงานได้หลายๆ อย่างพร้อมๆ กันได้ โดยไม่เกิดข้อผิดพลาด อาจเป็นเพราะงานส่วนใหญ่ที่ทำอยู่นั้น เป็นงานที่ทำได้โดยไม่ต้องคิด แต่ถ้าหนึ่งในงานหลายๆ อย่างที่เราทำอยู่นั้น มีงานที่ยาก เปผ็นงานที่ต้องใช้ความคิดรวมอยู่ด้วย คิดว่าผลลัพธ์ของงานชิ้นนั้นจะเป็นอย่างไร
ยกตัวอย่าง เราสามารถโทรศัพท์คุยสารทุกข์สุขดิบกับเพื่อน ระหว่างที่ขับรถกลับบ้านได้อย่างสบายๆ แถมสำหรับสาวๆ บางคนสามารถเติมแป้งเติมปากไปพร้อมๆ กันได้ด้วย (ขอคารวะความสามารถครับ) แต่ถ้าเปลี่ยนเหตุการณ์นี้ เป็นการขับรถไปบนเส้นทางที่ไม่เคยไป และเริ่มรู้สึกกังวลว่าเรากำลังหลงทาง แล้วในระหว่างนั้นมีสายจากหัวหน้า ที่เรารู้ว่าจะต้องโทรมาขอคำตอบจากงานที่เรายังทำไม่เสร็จ เราคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับสมองของเรา
การทำงานหลายๆ อย่างพร้อมๆ กันนั้น จึงจะทำได้ต่อเมื่อเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความคิดเท่านั้น แล้วเราสามารถแยกงานเหล่านี้ออกจากกันได้หรือไม่ งานประเภทไหน เราต้องทุ่มเทพลังงาน เพื่อให้สมองส่วนคิดทำงานได้อย่างลื่นไหล เช่น การคิดโครงการใหม่ๆ การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแก้ไขปัญหาตามความต้องการของลูกค้า เป็นต้น งานประเภทไหน เราเก็บไว้ทำภายหลังได้ เพราะไม่ต้องใช้พลังงาน ไม่ต้องใช้ความคิดมากนัก สามารถทำได้ด้วยความเคยชินได้ทันที เช่น การทำงานประจำวัน การเซ็นเอกสารตามขั้นตอน เป็นต้น
ในการจัดตารางการทำงานในแต่ละวัน นอกจากมองเรื่องความสำคัญและเร่งด่วนแล้ว การจัดตารางงานโดยอาศัยระดับการใช้พลังงานมากน้อยสลับกันไป ก็ช่วยให้สมองของเราได้มีเวลาพักฟื้นตัว สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องมากขึ้น
และเมื่อไหร่ที่เราท้าทายสมองของเราเองให้เจองานยากบ่อยๆ จนเกิดความคุ้นชิน เดี๋ยวสมองของเราก็จะเกิดทักษะที่จะจัดการงานยากๆ เหล่านั้นได้ดีขึ้น ด้วยพลังงานที่น้อยลง
เราพร้อมที่จะท้าทายสมองของเราแล้ว ด้วยงานที่เราไม่คุ้นชินหรือยังครับ
22 พ.ค. 2562 อ่าน 1,752 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 พ.ค. 2562 อ่าน 2,799 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 พ.ค. 2562 อ่าน 2,220 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
6 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,635 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
6 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,150 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
12 ธ.ค. 2562 อ่าน 1,244 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
หมวด Management and Productivity อ่าน 2,511
หมวด Management and Productivity อ่าน 4,079
หมวด Thinking อ่าน 3,358
หมวด Thinking อ่าน 2,929
หมวด Thinking อ่าน 5,679