โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 19 ตุลาคม 2558 1,259 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความร่วมเดินทางด้วยกัน / ร่วมเดินทางด้วยกัน ตอนที่ 32
26 พ.ย. 2558 อ่าน 1,291 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
25 ธ.ค. 2558 อ่าน 1,199 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
26 ม.ค. 2559 อ่าน 1,168 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
24 ก.พ. 2559 อ่าน 1,274 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
27 มี.ค. 2559 อ่าน 1,296 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
19 เม.ย. 2559 อ่าน 1,214 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
“ปัญหาของเพื่อน ก็เหมือนกับปัญหาของเรา ผมเชื่อว่า หากคุณมีเพื่อนรักที่สนิทกันมาก ความรู้สึกนี้ย่อมเกิดขึ้นกับคุณแน่”
ประเด็นของเรื่องนี้อยู่ที่ “ความรู้สึกร่วม” ของปัญหาที่เพื่อนมี ก็ดูเหมือนว่าปัญหานั้นจะเป็นของเราไปด้วย ความรู้สึกร่วมเป็นหนทางหนึ่งในการเข้าไปช่วยแก้ปัญหา คำถามคือ เข้าไปช่วยแก้ปัญหานั้นๆ อย่างไรเล่า คำตอบ เพราะความรู้สึกร่วมไม่ได้เกิดขึ้นกันได้ง่ายๆ หากปัญหานั้นๆ ไม่ใช่ปัญหาของเราเองโดยตรง เราแทบจะไม่สนใจ ถึงแม้ปัญหานั้นจะรุนแรงเพียงไร เราก็จะปล่อยให้ปัญหานั้นเลยผ่านไป
ความรู้สึกร่วม เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เราร่วมกระโจนเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา เป็นเดือดเป็นร้อนในปัญหาที่เพื่อนมี เสมือนหนึ่งนั้นเป็นปัญหาของตนเอง หากเราสามารถนำความรู้สึกร่วมนี้ไปใช้ในกิจกรรมการงานได้ ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่จะช่วยให้กิจกรรมการงานที่ทำเจริญรุ่งเรืองได้ คำถามคือ ช่วยได้อย่างไร คำตอบ กิจกรรมการงานที่เราทำในทุกวันนี้ ผมเชื่อว่าทุกคนประสบปัญหามากมายในการทำงานแน่นอน สารพัดเรื่อง สารพัดเหตุ สารพัดความกลัดกลุ้มวุ่นวายใจ ทั้งปัญหาของตนเอง ปัญหาของผู้อื่นรอบข้าง ต่างคนต่างก็แก้ปัญหาของตนเองเป็นหลัก ปัญหาของผู้อื่นก็เฉยๆไว้ แค่ปัญหาของตนเองก็จะเอาตัวไม่รอดอยู่แล้ว จริงไหมครับ
ความรู้สึกร่วม เป็นหนทางหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหาทั้งของตนเองและของผู้อื่น เพียงต้องเริ่มที่เราก่อน เริ่มด้วยความรู้สึกกับผู้ที่เราจะเข้าไปช่วยนั้นเปรียบเสมือนเพื่อนที่เรารักมากที่สุดคนหนึ่ง เพราะหากเราคิดได้เช่นนี้ เราจะเข้าไปช่วยด้วยใจอันบริสุทธิ์ ช่วยโดยที่ไม่คาดหวังผลรางวัลใดตอบกลับ ช่วยเพราะอยากช่วย ซึ่งนั่นเป็นที่สุดของการช่วยแล้ว “ช่วยเพราะอยากช่วย” การช่วยต้องเริ่มที่ตัวเราก่อน เริ่มจากในจิตใจเรา การช่วยไม่ได้หมายความว่าปัญหานั้นจะแก้ไขได้ลุล่วง หากแต่การช่วยอาจเป็นช่องทางหนึ่งที่ตัวเราสามารถทำให้ผู้ที่มีปัญหาอยู่นั้นได้สะกิดอะไรบ้าง จากปัญหาที่ตนเองมี แล้วนำไปสู่การพบหนทางใหม่ๆต่อการแก้ปัญหา การพูดคุยถามตอบไปมาระหว่างกัน จะค่อยๆ สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน ความรู้สึกร่วมก็จะค่อยๆ เพิ่มตามมา การสอบถาม การแนะนำ การยกตัวอย่างจากประสบการณ์ทั้งของตนเองและผู้อื่น การจับใจความ การค้นหาเนื้อแท้ของปัญหา เหล่านี้จะเป็นช่องทางให้ผู้ที่เกิดปัญหาได้รู้สึกถึงการมีทางออก หลายครั้งกับหนทางที่ตีบตันก็มักจะพบรอยปริแตกให้เรากระเทาะได้เสมอ หากเราร่วมมือช่วยกัน และการร่วมมือนั้น “เป็นการร่วมของความรู้สึก”
นี่คือวิธีการหนึ่งที่ผมได้นำความรู้สึกร่วมนี้
มาใช้ในการให้คำแนะนำต่อการแก้ปัญหาต่างๆ
บางปัญหาอาจจะแก้ไขอะไรไม่ได้เลย
แต่ก็สามารถช่วยแก้ไขความกลัดกลุ้มทางใจได้
ไม่ทำให้เกิดทุกข์จนนำไปสู่การก่อปัญหาใหม่ตามมา
ในตอนหน้าผมจะชวนคุณร่วมเดินทางกันต่อไปกับเรื่องของ “หน้าที่” บทบาทหน้าที่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากต่อการทำงานในองค์กร สำคัญแค่ไหน สำคัญอย่างไร ต้องมาติดตามดูกันต่อ ดังนั้น เรามาพบกันต่อในตอนที่ 33 ครับ
26 พ.ย. 2558 อ่าน 1,291 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
25 ธ.ค. 2558 อ่าน 1,199 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
26 ม.ค. 2559 อ่าน 1,168 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
24 ก.พ. 2559 อ่าน 1,274 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
27 มี.ค. 2559 อ่าน 1,296 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
19 เม.ย. 2559 อ่าน 1,214 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
หมวด Coaching อ่าน 4,165
หมวด Leadership อ่าน 3,335
หมวด Leadership อ่าน 5,957
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,134
หมวด Softskill อ่าน 3,696
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,202
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,234
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,217