โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 22 สิงหาคม 2556 943 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความร่วมเดินทางด้วยกัน / ร่วมเดินทางด้วยกัน ตอนที่ 6
20 ก.ย. 2556 อ่าน 801 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
22 ต.ค. 2556 อ่าน 751 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
24 ธ.ค. 2556 อ่าน 1,544 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
23 ม.ค. 2557 อ่าน 651 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
21 ก.พ. 2557 อ่าน 643 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
24 มี.ค. 2557 อ่าน 663 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
“หนทางของการแก้ปมปัญหาได้ดีที่สุด คือการรู้ว่า ปัญหานั้นๆ เกิดจากอะไร ไม่ใช่เกิดจากใคร”
และ
“ความคิดและความรู้สึกในตัวเรา เป็นตัวก่อร่างสร้างปัญหาได้ดีที่สุด”
หลายต่อหลายครั้งที่ปัญหาเกิดขึ้นจากความไม่รู้ หรืออาจจะรู้ แต่ปัญหาก็ยังก่อตัวเกิดขึ้นได้เสมอ ปัญหาถือเป็นปัจจัยที่ค่อนข้างจะควบคุมได้ยากมาก ปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นจากตัวเรา โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดจากความคิดและความรู้สึก
จากนี้ไป ทั้งคุณและผม เราจะร่วมเดินทางไปสู่ความคิดและความรู้สึกที่เราทุกคนมี และเราทุกคนก็ใช้ทั้งความคิดและความรู้สึกมาก่อร่างสร้างปมปัญหาให้เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน ซึ่งเราทุกคนสามารถสร้างปมปัญหาขึ้นได้ในทันที หรืออาจจะค่อยๆสะสมบ่มสร้างปมปัญหาไปเรื่อยๆ จนถึงจุดๆหนึ่งที่เรียกว่า “จุดอิ่มตัว” ปัญหาเหล่านั้นก็จะระเบิดออกมาชนิดที่ว่าไม่เหลือเยื่อใยกันเลย
คำถามแรกในตอนนี้ที่ผมจะถามคุณก็คือ “ปัญหาจากความคิดและความรู้สึก ปัญหาใดในสองเรื่องนี้ที่คุณประสบพบเจอมากที่สุด อาจจะประสบพบเจอด้วยตนเอง หรือจากผู้อื่น” บางท่านอาจจะตอบคำถามนี้ได้ในทันที บางท่านอาจจะต้องใช้เวลาซักพักในการตอบคำถามนี้ บางท่านอาจจะยังงงๆว่าปัญหาที่ประสบพบเจออยู่ทุกวันนี้มันเกิดจากอะไร “ความคิด หรือ ความรู้สึก”
ปัญหาก็เปรียบเสมือนเชือก
หากเชือกเส้นนั้นสั้น ปัญหาก็แทบจะไม่เกิดขึ้น หรือหากเกิดก็มีปัญหาน้อยมาก หากเชือกเส้นนั้นยาว ปัญหาก็จะเกิดขึ้นได้ง่าย และยิ่งเชือกเส้นนั้นยาวมากเท่าไหร่ ปัญหาก็เกิดขึ้นได้ง่ายเป็นเงาตามตัว เพราะหากเราขาดการวางแผนจัดการที่ดี ความยาวของเชือกจะมัดกันเป็นปมขึ้นมาเอง และนั่นแหละคือปัญหาที่เราต้องมานั่งแก้ไขร่วมกันภายหลัง
ความคิด สามารถสร้างปมปัญหาให้เกิดขึ้นได้จากความรู้และไม่รู้
ความรู้สึก สามารถสร้างปมปัญหาให้เกิดขึ้นได้จากการรับรู้และไม่รับรู้
ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆด้วยคำถามให้คุณได้คิดตาม “คุณเคยไม่ชอบหน้าใครบางคนที่เข้ามาร่วมทีมงานกับคุณในวันแรกไหม ทั้งๆที่คุณก็ไม่เคยเห็นหรือพูดคุยกับคนๆนี้มาก่อน แต่คุณกลับรู้สึกไม่ชอบหน้าคนๆนี้เลย และไม่อยากจะร่วมงานด้วย” คุณลองคิดพิจารณาและตอบคำถามนี้ดูก่อน นี่คือความรู้สึก ความรู้สึกไม่ต้องการเหตุและผล ความรู้สึกเกิดขึ้นได้เองในเวลานั้นหรือหลังจากนั้น คนแต่ละคนอาจเกิดความรู้สึกที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน ความรู้สึกอาจกินระยะเวลาอันสั้นหรือยาวนาน
ฉะนั้น การที่เราจะรับรู้ได้ว่า “ปัญหานี้เกิดจากความรู้สึกรึไม่” เราต้องเริ่มฝึกที่จะรู้สึกให้เป็นก่อน ถามว่าทำไมจะต้องฝึกที่จะรู้สึกให้เป็น คำตอบก็คือ เพื่อให้เราได้เข้าใจและเข้าถึงความรู้สึกนั้นๆยังไงหละ เพราะความรู้สึกเป็นปมปัญหาที่อยู่ภายใน ถึงแม้เราจะแก้ปมปัญหาจากภายนอกได้ แต่ไม่นานปัญหานั้นก็จะกลับมาเกิดซ้ำ เพราะความรู้สึกภายในมันยังคุกรุ่นอยู่
หากคุณรู้สึกเป็น คุณจะรู้โดยทันทีว่า เรื่องนี้หากทำไปแล้ว จะกระทบความรู้สึกผู้อื่นอย่างไรบ้าง และหากต้องกระทบจริงๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คุณจะได้หาหนทางแก้ไข ที่สำคัญ เป็นหนทางในการแก้ไขความรู้สึกของผู้ที่ถูกผลกระทบ
“ปัญหาเล็กๆน้อยๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมักจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตอันใกล้เสมอ”
หากมีใครมาเหยียบเท้าเรา หากเขาไม่ได้ตั้งใจ เราต้องการคำขอโทษและสีหน้าแววตาของความสำนึกผิด ก็แค่นั้นเอง
หากมีไครมาขับรถปาดหน้ารถของเรา เราย่อมที่จะรู้สึกไม่ดีกับคนขับรถคันนี้ และหลายท่านอาจจะรู้สึกไม่ดีไปถึงรถยี่ห้อที่มาปาดหน้ารถของเราด้วย ความรู้สึกมันเกิดขึ้นในทันที แต่หากเราขับเร่งแซงไปแล้วหันไปมองหน้าคนขับรถคันนี้และพบว่า อ้าว!!! นั่นเพื่อนเรา พี่เรา น้องเราเองนี่นา ความรู้สึกเราก็จะเปลี่ยนทันที
หากคุณผู้หญิงท่านนึงกำลังยืนกดเงินที่หน้าตู้เอทีเอ็ม แล้วเราไปยืนต่อแถวถัดจากคุณผู้หญิงท่านนี้ ที่สำคัญ เรายืนชิดมาก ห่างกันแค่คืบ ลองคิดง่ายๆดูว่า คุณผู้หญิงท่านนี้เขาจะรู้สึกอย่างไร และแน่นอนว่า ความคิดต่างๆของคุณผู้หญิงท่านนี้จะตามมาอีกนานับประการว่าเราไปยืนชิดเขาขนาดนี้ มีจุดประสงค์ไม่ดีอะไรรึไม่
ดังนั้น การเรียนรู้ที่จะรับรู้ความรู้สึกทั้งของตนเองและของผู้อื่นให้เป็น จะช่วยลดและขจัดปัญหาต่างๆที่จะตามมาได้เป็นอย่างดี ยิ่งรับรู้ความรู้สึกของคนได้มากเท่าไหร่ เราจะวางแผนการทำงาน การใช้ชีวิตร่วมกับคนในองค์กร การใช้ชีวิตประจำวัน และอื่นๆ ได้อย่างมีความสุข โดยปัญหาที่เกิดจากเรื่องของความรู้สึกนี้จะน้อยลงเป็นอย่างมาก
ในตอนหน้าผมจะชวนคุณร่วมเดินทางกันต่อไปกับเรื่องของการแก้ปมปัญหาจากความคิด เป็นปมที่ทุกท่านมีและปฏิบัติกันอยู่เป็นประจำ เมื่อความคิดกับความรู้สึกมาผสมกัน ความยากของการแก้ปมปัญหานี้ก็คือ จะแยกสองสิ่งนี้ออกจากกันได้อย่างไร เพราะหากแยกออกจากกันไม่ได้ ทั้งสองสิ่งนี้จะเป็นปมซ้อนปมที่แก้เท่าไหร่ก็ไม่อาจแก้ได้ซะที ยิ่งแก้ก็ยิ่งสร้างปมใหม่ให้เกิดขึ้นเรื่อยๆ หากเป็นเช่นนั้น ปมปัญหาจากความคิดก็เป็นปมที่คุณและผมต้องมาร่วมด้วยช่วยกันแก้ปมปัญหาที่ซับซ้อนนี้
20 ก.ย. 2556 อ่าน 801 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
22 ต.ค. 2556 อ่าน 751 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
24 ธ.ค. 2556 อ่าน 1,544 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
23 ม.ค. 2557 อ่าน 651 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
21 ก.พ. 2557 อ่าน 643 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
24 มี.ค. 2557 อ่าน 663 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
หมวด Management and Productivity อ่าน 2,813
หมวด Management and Productivity อ่าน 3,431
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,879
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,226
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 1,693
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 1,786
หมวด Advance Thinking อ่าน 2,634