โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 1 เมษายน 2562 1,569 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน / สมองกับสมาธิ
1 เม.ย. 2562 อ่าน 2,011 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 5,231 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 2,108 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 3,736 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 1,665 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 พ.ค. 2562 อ่าน 1,752 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
ในชีวิตการทำงานของเราในปัจจุบัน ดูเหมือนมันช่างยุ่งเหยิงเสียเหลือเกิน เรามักจะต้องรับผิดชอบต่องานหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน ทั้งงานภายในองค์กร และงานจากชีวิตส่วนตัว และดูเหมือนว่างานแต่ละชิ้น ก็ต้องการผลลัพธ์ ต้องการคำตอบ จากการคิดวิเคราะห์และการลงมือแก้ไขจากมืออาชีพอย่างเรา แม้เราจะอยากตั้งใจทำงานตรงหน้าให้เสร็จเร็วมากแค่ไหน แต่หลายๆ ครั้งสมองของเราก็ยังอดจะวอกแวกไปคิดถึงงานอื่นๆ ที่ทยอยเข้ามาเป็นระยะๆ ไม่ได้
บางคนจึงคิดว่าในเมื่องานมันไม่ยอมหมดเสียที ก็ทำมันไปพร้อมๆ กันนี้แหละจะได้เสร็จเร็ว ๆ แล้วมันเป้นอย่างนั้นจริงๆ หรือไม่
เมื่อหันมามองดูสมองของเรา สมองส่วนคิดของเรา ที่ใช้ในรับมือกับงานมากมายที่เข้ามา มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ของสมองทั้งหมด คิดเป็นพื้นที่เพียง 4-5% ของน้ำหนักสมองทั้งก้อน ในแง่ของโครงสร้างแล้ว สมองส่วนคิดของเราจึงมีพื้นที่ในการใส่ชุดข้อมูลเข้าไปเพื่อทำการ คิดวิเคราะห์ ได้ไม่มากนัก
พื้นที่นี้จะมีจำกัดมากน้อยแค่ไหน ก็ยังมีข้อสรุปที่แตกต่างกันไปในแต่ละงานวิจัย เราอาจจะใส่ชุดข้อมูลได้สูงสุดถึง สี่บ้าง ห้าบ้าง เจ็ดบ้าง แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือ จำนวนของชุดข้อมูล ที่สมองของเราใช้งานในช่วงเวลาเดียวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดนั้น คือ หนึ่งเรื่อง หรือ หนึ่งชุดข้อมูล เท่านั้น
อย่างที่เราคุยกันไปบ้างแล้วว่า สมองส่วนคิดของเราใช้พลังงานสูงมาก เรายิ่งใส่ชุดข้อมูลเพิ่มเข้าไปมากเท่าไหร่ การใช้พลังงานก็ยิ่งเพิ่มขึ้นทวีคูณ และมีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะสมองล้าอย่างรวดเร็ว และเมื่อภาวะสมองล้าเกิดขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของสมองเราก็อาจจะถดถอยไปเหมือนเด็กมัธยมหรือเด็กประถมเท่านั้นเอง
การทำงานพร้อมๆ กันที่ละหลายๆ เรื่องอย่างที่เราเคยทำมาก่อนหน้านี้ ถึงแม้จะทำได้ ก็อาจส่งผลให้ผลลัพธ์ที่ออกมาไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร และมีรายงานวิจัยที่พบว่า การทำงานสองอย่างพร้อมกันขึ้นไป ทำให้งานเสร็จช้าลงไปเสียด้วยซ้ำ เรียกว่าเราต้องขาดทุนทั้งในแง่ คุณภาพ และ ความเร็ว ของงานไปเลยทีเดียว
และนี่จึงเป็นที่มาของการที่ลงต้องจดจ่อ ต้องมีสมาธิกับงาน เพราะสิ่งนี้ทำให้สมองเราสนใจเรื่องราวเพียงเรื่องเดียว สมาธิช่วยให้สมองของเราใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
ซึ่งทำให้การจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของงานแต่ละชิ้นจึงอาจมีความสำคัญมากกว่าที่เราคิด เพราะเรื่องที่เราจะนำเข้ามาสู่พื้นที่ของ สมองส่วนคิด เรื่องนั้นควรเป็นเรื่องที่เราให้ความสำคัญที่สุดอยู่ในขณะปัจจุบันเพียงเท่านั้น
การที่เราต้องถูกรบกวนสมาธิของเราจากงานอื่นๆ ก็ว่าแย่แล้วแล้ว สิ่งที่รบกวนเราได้ยิ่งกว่า กลับเป็นการรบกวนโดยสิ่งเร้าอื่นๆ จากโลกภายนอก ทั้งจากคนรอบข้าง, จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว, จากข่าวคาวจากสื่อต่างๆ ในสังคม, จากข้อมูลที่ล้นทะลักในโลกออนไลน์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้พร้อมจะเข้ามาแย่งชิงพื้นที่ สมองส่วนคิดอันน้อยนิดของเราอยู่เสมอ และเมื่อเราเผลอปล่อยให้ข้อมูลเหล่านั้นเข้ามา เราจำเป็นต้องใช้พลังงานและเวลามากพอสมควร ในการจะผลักดันสิ่งเร้านั้นออกไปจากพื้นที่สมองของเรา
แล้วคิดว่า เราจะต้องป้องกันข้อมูลอันเป็นสิ่งเร้าต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต่องานของเรา ต่อชีวิตของเราได้อย่างไรบ้าง
ด้วยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จึงทำให้เราจำเป็นต้องบริหารทั้งงาน และบริหารสมองของเราไปพร้อมๆ กัน เพื่อทำให้เราสามารถใช้สมองของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ มาลองวางแผนการใช้สมองของเราในแต่ละวันดูไหมครับ
1 เม.ย. 2562 อ่าน 2,011 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 5,231 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 2,108 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 3,736 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 1,665 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 พ.ค. 2562 อ่าน 1,752 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,948
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 7,946
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,050
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,250
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,108
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,140
หมวด Thinking อ่าน 8,468
หมวด Thinking อ่าน 3,725