โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 22 พฤษภาคม 2562 2,214 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน / สมองอยุติธรรม
6 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,632 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
6 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,148 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
12 ธ.ค. 2562 อ่าน 1,241 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
13 ม.ค. 2563 อ่าน 1,452 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
25 ก.ย. 2562 อ่าน 2,399 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
21 ส.ค. 2561 อ่าน 2,295 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
เราเองมีเพื่อนร่วมงานหรือคนรู้จักที่ต้องการลาออกจากงานบ้างไหมครับ เมื่อถามถึงสาเหตุที่คนเราลาออกจากงานในองค์กรเดิม ไปยังองค์กรใหม่ หรือเปลี่ยนจากการทำงานภายในองค์กร ไปทำงานอิสระ ไปมีธุรกิจส่วนตัว นอกเหนือจากการต้องการเติบโต การแสวงหาความท้าทายใหม่ๆ แล้ว สาเหตุหนึ่งก็เพราะ เขาเหล่านั้นรู้สึกว่าตนเองกำลังได้รับการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นจากนายจ้าง จากหัวหน้า หรือแม้กระทั่งจากเพื่อนร่วมงานด้วยกันเองก็ตาม
สมองของเราโดยธรรมชาติชอบความยุติธรรม (Fairness) เราจึงได้เห็นข่าวการเรียกร้องความยุติธรรมภายในสังคมอยู่บ่อยครั้ง บางคนถึงกับยอมเอาชีวิตเข้าแลก เอาตัวเองเข้าต่อสู้กับสิ่งที่ตัวเองเชื่อว่าไม่ยุติธรรมเลยทีเดียว ความไม่ยุติธรรมสามารถสร้างความขัดแย้งเล็กๆ อย่างการทะเลาะเบาะแว้ง ไปจนถึงการเกิดสงครามได้เลยทีเดียว
ภายในองค์กรก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อไหร่ที่เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้นภายในองค์กร ก็จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นตามมา เพราะความรู้สึกไม่ยุติธรรมนั้น ส่งผลต่อสมองส่วนอารมณ์ของเรา ทำให้เราเกิดอารมณ์ในเชิงลบขึ้น เมื่อเรารู้สึกไม่ดี รู้สึกไม่ชอบ สมองเราจึงต้องพยายามหาทางออกจากสถานการณ์นั้น บางคนอาจเลือกวิธี สู้ ทำให้เกิดการโต้เถียง และการเอาชนะ เพื่อให้ตนเองได้รับความยุติธรรม แต่บางคนอาจเลือกใช้วิธีการ หนี ไม่ว่าจะหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับงาน ไม่ยอมทำงาน หรือ แม้กระทั่งหนีออกจากองค์กรนั้นไปเลย
แล้วจริงๆ แล้ว ความยุติธรรมที่เรากำลังเรียกหาอยู่นั้น เป็นความยุติธรรมในสายตาของใคร ใครเป็นคนกำหนดว่าสิ่งไหนยุติธรรม สิ่งไหนไม่ยุติธรรม ส่วนใหญ่เรามักจะมองความยุติธรรมนั้นบนมาตรฐานของตัวเรา เลยเผลอลืมไปว่าอีกฝ่ายก็มีมาตรฐานของเขาเช่นกัน บางที่สิ่งที่เราทำก็ช่างเป็นเรื่องไม่ยุติธรรมในสายตาของทีมงานหรือองค์กรเช่นกัน
ในการทำงาน เมื่อเราลงมือลงแรงอะไรไปสักอย่าง นอกจากที่เราจะคาดหวังถึงความสำเร็จในงานชิ้นนั้นแล้ว เราก็มักจะเกิดความคาดหวังถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ ให้สมกับการทุ่มเทแรงกายแรงใจลงไป อาจจะเป็นทั้งตัวเงิน สิ่งของ สถานภาพ หรือแม้กระทั่งคำชมเชย ซึ่งผลตอบแทนนั้น ก็อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล หรือในแต่ละงาน ซึ่งไม่เท่ากัน
หรือแม้กระทั่งทำแล้วงานนั้นไม่สำเร็จ เกิดผลงานที่ล้มเหลว บางคนก็ยังอดไม่ได้ที่จะรู้สึกว่าเราเองได้พยายามจนสุดความสามารถแล้ว เราก็อาจคาดหวังว่าอย่างน้อย เราก็น่าจะได้รับความเข้าใจ การยอมรับ การปลอบประโลม ทำไมจะต้องมาตำหนิกันแบบนี้ มันช่างอยุติธรรมสิ้นดี
เมื่อความคาดหวังของเรามากขึ้นเท่าไหร่ เราก็จะมีโอกาสผิดหวังมากขึ้นเท่านั้น ความผิดหวังที่เกิดขึ้น บางทีอาจจะไม่ใช่เพราะไม่ได้รับผลตอบแทน เพียงแค่ผลตอบแทนนั้น ไม่เทียบเท่ากับสิ่งที่เราคาดหวังไว้ ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดความรู้สึกไม่ยุติธรรมเกิดขึ้นแล้ว
ในฐานะหัวหน้า หรือคนที่ต้องทำงานประสานกับคนอื่นๆ หลายๆ คน บางทีการทำให้เกิดความยุติธรรม ไม่ใช่แค่การทำให้เกิดความรู้สึกที่เท่าเทียมกันภายในทีมหรือองค์กรเพียงอย่างเดียว เพราะบางคนก็คิดว่า ถ้าเขาทุ่มเทมากกว่า เขาทำในสิ่งที่สำคัญกว่า ก็ควรจะได้ผลตอบแทนที่มากกว่า การที่เราเป็นหัวหน้าจึงอาจไม่สามารถใช้หลักเสมอภาคเพียงอย่างเดียวได้ แต่ความยุติธรรม ยังสัมพันธ์กับการบริหารความคาดหวังของคนในทีมอีกด้วย
แล้วคิดว่า เราจะสามารถบริหารจัดการกับความแตกต่างของความคาดหวังนั้นอย่างไรได้บ้าง
สิ่งหนึ่งที่ช่วยได้คือ เรื่องของความชัดเจน (Expectation) ความชัดเจนมีความสำคัญต่อกระบวนการทำงานแทบทุกส่วน เพราะความชัดเจนเอง ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สมองของเราให้ความสำคัญ โดยปกติเราจะพูดกันถึงความชัดเจนของเป้าหมายของทีม ความชัดเจนของวิธีการปฏิบัติ และความชัดเจนในเรื่องผลตอบแทนที่จะได้รับ ก็คงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราต้องให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะความชัดเจน ความแน่นอนของสิ่งที่จะได้รับ จะป้องกันความคาดหวังที่สูงจนเกินไป
ซึ่งหัวหน้าบางคนกับทำตรงกันข้าม ได้ใช้ความฝัน วาดความหวังที่เกินจริง เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ลูกน้องยอมทำงาน พองานสำเร็จ หัวหน้าได้หน้า แต่ลูกน้องกลับไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้ พอเป็นแบบนี้ นอกจากจะสมองของลูกน้องจะได้รับผลกระทบจากความไม่ยุติธรรม (Fairness) และความชัดเจน (Expectation) แล้ว ยังต้องสูญเสียความสัมพันธ์และไว้เนื้อเชื่อใจ (Relation) ไปเสียอีกด้วย
จึงไม่น่าแปลกใจ หากจะต้องมีสมองของใครสักคนทนสถานการณ์แบบนี้ไม่ไหว แล้วเลือกที่จะ สู้ หรือ หนี จากสถานการณ์ดังกล่าว
แล้วตัวเราเอง เป็นผู้นำแบบไหน เรามีทักษะในการสร้างความยุติธรรมในทีมได้ดีเพียงใด
6 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,632 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
6 มิ.ย. 2562 อ่าน 2,148 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
12 ธ.ค. 2562 อ่าน 1,241 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
13 ม.ค. 2563 อ่าน 1,452 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
25 เม.ย. 2562 อ่าน 1,813 หมวด การโค้ชงาน
12 พ.ย. 2561 อ่าน 2,057 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
หมวด Softskill อ่าน 8,358
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,086
หมวด Coaching อ่าน 4,378
หมวด Leadership อ่าน 4,032
หมวด Leadership อ่าน 6,230
หมวด Leadership อ่าน 5,980
หมวด Leadership อ่าน 9,766
หมวด Leadership อ่าน 2,968