โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 25 ตุลาคม 2561 1,641 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน / สมอง ผู้รักษาความปลอดภัย
25 ต.ค. 2561 อ่าน 3,107 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
25 ต.ค. 2561 อ่าน 6,653 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,450 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 4,667 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
26 ธ.ค. 2561 อ่าน 1,731 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
13 ก.พ. 2562 อ่าน 1,292 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
ในองค์กรของเรา มีปัญหาเรื่องความคิดเชิงลบ และขาดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานกันบ้างไหมครับ เราเองรู้ตัวว่าความคิดบวก ความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องที่เราอยากมี แต่แล้วทำไม สมองของเรา ถึงไม่ยอมสร้างผลงานดีๆ ออกมาให้มากๆ อย่างที่เราต้องการ
อันดับแรก พอจะรู้ตัวเองกันบ้างไหมครับว่า เราเป็นคนที่ชอบ คิดเชิงบวก หรือ คิดเชิงลบ มากกว่ากัน
แต่ถ้ายังตอบไม่ได้ ลองคิดต่อกันอีกนิดครับว่า การที่สมองของเราคิดบวก กับ การที่สมองของเราคิดลบ คิดว่าแบบไหน เรามีโอกาสรอดมากกว่ากัน แบบไหนที่เรารู้สึก ปลอดภัย ที่สุด
สมมติว่า เราได้รับมอบหมายงานมาโครงการหนึ่ง เป็นงานที่ค่อนข้างยาก ซึ่งเราไม่เคยทำมาก่อน แม้จะทำเต็มที่แล้ว โอกาสที่โครงการนี้จะสำเร็จประมาณ 50% ถ้าเราทำสำเร็จ เราจะได้รับโอกาสขึ้นเงินเดือน 50% แต่ถ้าล้มเหลว เราจะต้องถูกลดเงินเดือนลง 50% เช่นเดียวกัน คิดว่า ท่านต้องการจะรับงานที่ค่อนข้างยาก ชิ้นนี้ ไหมครับ คำตอบแวบแรกของเราคืออะไรครับ
ตัวอย่างอาจจะดูสุดโต่งไปหน่อย แต่มีงานที่คล้ายๆ กับลักษณะแบบนี้ในองค์กรของเราบ้างไหมครับ เราตอบสนองต่องานนั้นอย่างไรครับ ปฏิเสธ หรือ ยอมรับ เต็มใจ หรือ จำใจ ครับ
ตามหลักการแล้วธรรมชาติสมองเราไม่ชอบความเสี่ยงสักเท่าไหร่นักหรอกครับ เพราะว่า การเสี่ยง มันมีโอกาสทำให้เราประสบเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ความเสี่ยงในชีวิตจริงทำให้เราได้รับอุบัติเหตุ ต้องบาดเจ็บหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ ความเสี่ยงในงานอาจทำให้เราต้องโดนตำหนิ โดนทำโทษ หรือถึงขั้นไล่ออก ดังนั้น สมองของเราจึงพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แม้จะรู้ว่าการเสี่ยงนั้นจะมีโอกาสทำให้เราได้ประโยชน์ก็ตาม
ดังนั้น สมองจึงพยายามคิดให้อยู่ในกรอบ อยู่ในบริเวณของพื้นที่ปลอดภัย ถอยมาอยู่ในพื้นที่คุ้นเคย มากกว่าจะคิดนอกกรอบ ที่คาดเดาได้ยาก
สมอง พยายามใช้ความคิดเดิมๆ ที่รู้ผลลัพธ์อยู่แล้ว แม้ว่าผลลัพธ์นั้นจะออกมาดีหรือไม่ก็ตาม เพราะไม่มั่นใจว่าความคิดใหม่ๆ จะได้ผลลัพธ์แบบไหน
สมอง พยายามหลีกหนี และอยู่ห่างจากสิ่งที่เป็นปัญหา หรืออันตราย (ทั้งต่อร่างกายและความรู้สึก) มากกว่าที่จะเข้าไปเผชิญกับมัน แล้วมองสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องท้าทาย
จึงเป็นที่มาของความคิดเชิงลบที่เกิดขึ้นภายในสมองของเรา และบางทีความคิดเชิงลบเหล่านั้น ก็มีอิทธิพลต่อเรามากเกินไป แล้วค่อยๆ กัดกร่อนศักยภาพที่เรามี จนกลายเป็นข้อจำกัดศักยภาพของตัวเราขึ้นมา ทำให้เราไม่สามารถใช้ศักยภาพของตัวเราได้เต็มที่เสียที
ถ้าเป็นโลกในยุคก่อนก็คงไม่เป็นไร ถึงแม้เราจะคิดลบ ถึงแม้ว่าเราจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ โลกรอบ ๆ ข้างของเราก็คงไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเท่าใดนัก
แต่ถ้าเป็นโลกในยุคปัจจุบัน แค่ช่วงเวลาไม่กี่นาที โลกก็เริ่มมีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมาให้เราเรียนรู้และปรับตัวอยู่เสมอ เราจึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดของเราให้กระฉับกระเฉง กล้าคิด กล้าเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาตัวเราให้ทันต่อโลกที่หมุนเร็วขึ้นใบนี้
แล้วถ้าจะทำให้สมองของเรากล้าที่จะเปลี่ยนแนวคิดจาก ลบ มาเป็น บวก เราควรจะทำอย่างไร
หลักการในการปรับเปลี่ยนสมองของเรา ให้มีความคิดเป็นบวกมากขึ้นมีหลายหลักการครับ
นอกเหนือจากเรื่องของการทำให้สมองของเรา มองเห็น ประโยชน์ ที่เราจะได้รับจากการเปลี่ยนแปลง และรับรู้ถึง โทษ ที่กระทบต่อตัวเราหากยังหยุดอยู่กับที่
เราอาจจะต้องทำให้สมองของเรารู้สึกถึงความปลอดภัยจากการเปลี่ยนแปลงความคิดนี้ให้มากขึ้นครับ
อย่างเช่น ถ้า สมองส่วนอารมณ์ รู้สึกไม่ปลอดภัย เมื่อไม่สามารถคาดเดาผลลัพธ์ได้ เราก็อาจจะต้องให้สมองส่วนคิด มาช่วยคิดวิเคราะห์หาสถานการณ์ที่เป็นไปได้ทั้งหมด ออกมาให้ชัดเจน โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุด ที่อาจจะเกิดขึ้นคืออะไร แล้วในสถานการณ์นั้น เราจะมีแผนรับมือไว้ได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้สมองของเราเห็นภาพตามข้อเท็จจริงมากขึ้น ไม่อาศัยการจินตนาการเพียงอย่างเดียว เพราะสมองของเรามักสร้างจินตนาการแห่งความกลัว สร้างจินตนาการกับสถานการณ์ที่เลวร้าย จนเป็นเรื่องเกินจริงอยู่บ่อยๆ ทำให้หลายๆ ครั้ง เรากลัว จนไม่กล้าทำอะไร แต่เมื่อเห็นภาพที่ชัดเจน มีผลลัพธ์ที่คาดเดาได้ ความรู้สึกกลัวของเราก็จะลดไปเองโดยอัตโนมัติ
หรือในกรณีที่เราเป็นหัวหน้า ที่ผ่านมาเราเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับน้องๆ ของเรามากน้อยแค่ไหนครับ ถ้าเราทำให้เขารู้สึกปลอดภัยมากพอ เขาถึงจะกล้าคิด กล้านำเสนอความคิดของเขาเองออกมา แต่ถ้าเราใช้การขู่ กำลังใช้การดุ แสดงว่าเรากำลังทำให้เขาเร่งรีบทำตามคำสั่งของเรา และเพื่อให้ทำงานได้เร็วที่สุด เขาย่อมเลือกใช้วิธีเดิมๆ หรือพยายามใช้วิธีที่เราบอกเท่านั้น เพราะเขาไม่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เขารู้สึกปลอดภัย
เราอยากให้เขาเป็นคนที่มีความคิดเชิงบวก อยากให้เขาสามารถคิดได้เอง ไม่ต้องเอะอะอะไรก็ต้องมาถามเรา หรือ เราต้องการเพียงลูกน้องที่ทำตามคำสั่งให้แล้วเสร็จไปก็เพียงพอแล้ว
ตอนนี้ลูกน้องของเราเป็นแบบไหนครับ คิดว่า ถ้าเราต้องการให้ลูกน้องของเรา มีความคิดเชิงบวกมากขึ้น ความคิดที่สร้างสรรค์มากขึ้น เราสามารถกลับไปปรับเปลี่ยนตรงจุดไหนได้บ้างครับ
25 ต.ค. 2561 อ่าน 3,107 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
25 ต.ค. 2561 อ่าน 6,653 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,450 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 4,667 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
26 ธ.ค. 2561 อ่าน 1,731 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
13 ก.พ. 2562 อ่าน 1,292 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,948
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 7,943
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,050
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,250
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,108
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,140
หมวด Thinking อ่าน 8,462
หมวด Thinking อ่าน 3,725