โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 16 มกราคม 2562 1,123 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด หัวหน้างานนักบริหาร / สาเหตุของการที่ผู้จัดการและหัวหน้างาน ใช้คำถามไม่ค่อยได้
13 ก.พ. 2562 อ่าน 2,238 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
13 ก.พ. 2562 อ่าน 2,269 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
14 พ.ย. 2562 อ่าน 6,292 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
13 ม.ค. 2563 อ่าน 1,569 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
13 ก.พ. 2563 อ่าน 1,890 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
11 พ.ค. 2563 อ่าน 1,758 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
การพัฒนาทักษะการโค้ชให้กับหัวหน้างานและผู้จัดการเป็นเรื่องสำคัญที่หลายองค์การให้ความสนใจ เพราะเชื่อว่า การเปลี่ยนวิธีการสอนของหัวหน้าใหม่ๆ จะทำให้ได้รับการยอมรับจากน้องๆมากขึ้น เพราะทุกวันนี้วิธีการสอนแบบเดิมๆ อาจไม่ค่อยได้ผลเท่าที่ควร โดยเฉพาะกับน้อง Gen Y
จากประสบการณ์ การสอนของผมในหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการใช้ทักษะการโค้ชของผู้จัดการและหัวหน้างานนั้น ผู้เรียนส่วนใหญ่มักจะติดเรื่องการใช้คำถามอย่างไรให้ลูกน้องคิดได้ด้วยตัวเอง แล้วเกิดความรู้สึกอึดอัดกับการต้องนึกคำถามให้ถูกต้อง
วันนี้อยากแลกเปลี่ยนสิ่งที่ผมสังเกตจากใน Class ที่สอน พอจะสรุปถึง สาเหตุของการที่ผู้จัดการและหัวหน้างานใช้คำถามไม่ค่อยได้ เป็นเพราะ
คุ้นเคยกับการให้คำแนะนำมาโดยตลอด
รับฟังแล้วเกิดอารมณ์เชิงลบขึ้น เมื่อไม่ได้ดั่งใจ
ต้องการให้ลูกน้องตอบคำถามที่อยากได้ยิน มีคำตอบเตรียมไว้แล้ว
คิดแทนลูกน้องว่าต้องการอะไร โดยไม่ได้ถามซ้ำ
สรุปไปเองว่าลูกน้องคิดไม่ได้ จึงบอกวิธีทันที
กังวลว่า คำถามจะทำให้ลูกน้องรู้สึกไม่ดี
หลักการสอนที่ผมช่วยให้ผู้จัดการและหัวหน้างาน เกิดความมั่นใจในการใช้คำถามด้วยทักษะการเป็นโค้ชได้ง่ายขึ้น นั้นจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียน เข้าใจความแตกต่างของคำถามทั่วไปกับคำถามของโค้ช การฝึกฝนการใช้ชุดคำถามต่างๆ ให้เกิดความรู้สึกเชื่อมั่นมากขึ้น ผมพอจะสรุปประเด็นที่ทำให้ผู้เรียนเชื่อมั่นมากขึ้นดังนี้
คำถามของโค้ชเป็นคำถามเปิดเชิงบวก เช่น อะไร? อย่างไร ?
โค้ชถามที่สร้างแนวความคิดเพิ่มเติม ไม่ต้องการคำตอบโดยตรง
การใช้คำถาม (Key words) ประกอบคำถามของตัวเอง
การฝึกซ้อมถามชุดคำถาม เพื่อเข้าใจความรู้สึกของตัวเอง
การสร้างชุดคำถามของตัวเองตาม GROW Model
การจัดเตรียมบทพูด (Script) ของตัวเองที่มีคำถามประกอบ
การช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะการโค้ชไปใช้กับการทำงาน (On The Job Coaching) ได้ ทำให้ผมรู้สึกดีที่แนวทางการโค้ชมีโอกาสเป็นทางเลือกที่ผู้จัดการและหัวหน้าสามารถเลือกไปประยุกต์ใช้ได้ โดยทำให้ลูกน้องสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง ด้วยความเต็มใจ เพราะสามารถคิดวิธีการได้ด้วยตัวเอง ซึ่งผู้จัดการและหัวหน้าไม่ได้สั่ง ทำให้บรรยากาศดีขึ้นเป็นอย่างมากครับ
แนวการสอนของผมตามหลักสูตรที่ผมกำหนดขึ้น มีจุดประสงค์ ให้ผู้จัดการและหัวหน้างานรู้จักการประยุกต์ใช้ทักษะการโค้ชกับการปฏิบัติงาน ไม่ใช่ต้องการให้เขาเป็นโค้ชมืออาชีพทันทีนะครับ ดังนั้นวิธีของเขาอาจยังไม่สมบูรณเหมือนโค้ชมืออาชีพ แต่ก็ทำให้พัฒนาทีมงานได้ดีขึ้นกว่าวิธีเดิมครับ
13 ก.พ. 2562 อ่าน 2,238 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
13 ก.พ. 2562 อ่าน 2,269 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
14 พ.ย. 2562 อ่าน 6,292 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
13 ม.ค. 2563 อ่าน 1,569 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
13 ก.พ. 2563 อ่าน 1,890 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
11 พ.ค. 2563 อ่าน 1,758 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
หมวด Leadership อ่าน 3,099
หมวด Softskill อ่าน 4,392
หมวด Advance Leadership อ่าน 2,515
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,043
หมวด Coaching อ่าน 4,059
หมวด Advance Coaching อ่าน 2,300
หมวด Coaching อ่าน 4,916
หมวด Advance Coaching อ่าน 186