Constra
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการ
    •   Program Development Consultant
      • All
      • Consultant Program
      • Training Roadmap
      • Blended Learning
      • Cascade Program
      • Specific Group Program
      • Course by Tooling Program
      • Program by Competency
      • People Development by Internal Manager Program
      • Height Potential Group Development
    •   Learning Management System
    •   Value Competency Solution Provider
      • Training & Group Coaching
      • One on One Coaching
      • Assessment Tools
    •   In-house Training
    •   New Program 2023
    •   Public Training 2023
    •   Virtual Class Room
    •   Online Merge Offline
    •   Online Course
    •   Package In-house
    •   หลักสูตรแบบบูรณาการ
    •   ทำแผนฝึกอบรมประจำปี
    •   Learning Journey
    •   Operation Package
  • วิทยากร
  • ผลงาน
    •   Our Portfolio and Gallery
    •   หลักสูตรที่เคยฝึกอบรม
    •   ตัวอย่างลูกค้าของเรา
    •   เสียงตอบรับจากผู้เข้าอบรม
  • HRD Zone
    •   การออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร
    •   เรียนออนไลน์ฟรี
    •   ห้องสมุดสำหรับ HR
    •   คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
  • ดาวน์โหลด
  • ห้องสมุด
  • ร้านค้า
  • แบบทดสอบ
  • ติดต่อเรา
  • Search
    ×

    ค้นหาบน ENTRAINING ด้วย GOOGLE

  • Member
  • EN
Login สู่ระบบสมาชิก
 สมัครเป็นสมาชิกฟรี     ลืมรหัสผ่าน

หนึ่งคำว่ากับห้าคำชม

  โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง     1 เมษายน 2562     2,014     0

หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน / หนึ่งคำว่ากับห้าคำชม

บทความอื่นๆน่าสนใจ

สมองกับเป้าหมายที่ชัดเจน

1 เม.ย. 2562   อ่าน 5,239    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ในห้องน้ำ

22 เม.ย. 2562   อ่าน 2,109    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

ความสัมพันธ์ของสมองกับคำมั่นสัญญา

22 เม.ย. 2562   อ่าน 3,742    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

ประหยัดพลังงานสมองเบอร์ 5

22 เม.ย. 2562   อ่าน 1,666    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

ความสัมพันธ์ของความคาดหวังกับฮอร์โมนโดปามีน

22 พ.ค. 2562   อ่าน 1,755    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

สมองต้องการคำชม

22 พ.ค. 2562   อ่าน 2,802    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

หนึ่งวิธีในการสร้างสัมพันธ์ภาพภายในองค์กรคือการ ชม เพราะการชม เป็นการแสดงให้เห็นถึงการแสดงความยอมรับ และการชม จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกถึงคุณค่าในตนเองที่มากขึ้น แล้วปกติ เราชมน้องๆ เพื่อนร่วมงาน หรือแม้กระทั่งหัวหน้าของเราเองกันบ่อยแค่ไหนครับ

แม้การชื่นชมเป็นสิ่งที่ดี แต่ในชีวิตจริงเรากลับชื่นชมกันไม่บ่อยเท่าไหร่ อาจจะเป็นด้วยวัฒนธรรมและการเลี้ยงดูที่ถูกสอนตามๆ กันมาว่า อย่าชมมากเดี๋ยวจะเหลิง ทำให้เราเองไม่คุ้นเคยกับการถูกชื่นชม แล้วพลอยทำให้เราชื่นชมไม่เป็นไปด้วย

การไม่ชื่นชมกันก็ดูเป็นปัญหาพอแล้ว แต่พอถึงการตำหนิที่เป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยง เรากลับทำได้อย่างชำนาญกว่าอย่างเห็นได้ชัด และหลายๆ ครั้ง เราทำไปเพราะความหวังดีกับเขาเสียด้วยซ้ำ เพราะที่พูดไปก็เพราะเราอยากให้เขาพัฒนา ไม่อย่างนั้นเราคงไม่เสียเวลามาจ้ำจี้จ้ำไชเขาแบบนี้ คำถามก็คือ แล้วเขารับรู้ถึงความหวังดีของเราได้หรือไม่ สิ่งที่เราต้องการบอก กับ สิ่งที่เขารับรู้ ตรงกันหรือคลาดเคลื่อนกันไปมากน้อยเพียงใด

สำหรับสมองแล้ว โดยปกติเราไม่ชอบการถูกเปรียบเทียบ โดยเฉพาะถ้าการถูกเปรียบเทียบนั้นส่งผลให้เรารู้สึกมีสถานะ (Status) ที่ต่ำกว่า การให้การชื่นชมหรือการตำหนิ ส่งผลต่อคุณค่าในด้านสถานะ ของตัวเราโดยตรง การได้รับการชื่นชม ทำให้เรารู้สึกมีสถานะที่สูงขึ้น และการถูกตำหนิ ทำให้สถานะของเราตกต่ำลง และสถานะดังกล่าวก็จะไปส่งผลต่อเรื่องการให้คุณค่าในตัวเอง ความมั่นใจในการแสดงความคิด การกล้าตัดสินใจ ตามมา ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านั้น ต้องการใช้สมองส่วนคิดในการทำงาน แต่การตำหนิกลับผลักให้สมองส่วนอารมณ์เข้ามาทำงานแทนในทันที ดังนั้นการตำหนิเพื่อจะให้น้องๆ หรือเพื่อนร่วมงานทำงานตามที่ “เราสั่ง” อาจทำได้ แต่การคาดหวังว่าการตำหนิเพื่อจะทำให้เขาทำงาน “ด้วยตัวเอง” ให้ได้ผลลัพธ์ที่ “ดีขึ้น” อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร สมองกับสมาธิ

ในการทำงาน เราอาจจะมีทั้งจังหวะที่ต้องการได้ผลลัพธ์ทั้งแบบ ทันที และ ดีขึ้น ดังนั้น บางครั้งสำหรับงานที่ฉุกเฉิน เราก็อาจจะเลือกใช้ตามความเหมาะสม หัวหน้าหลายๆ คนจึงบอกว่า ก็ต้องชมบ้าง ตำหนิบ้าง สลับกันไป ซึ่งเราสามารถทำได้ แต่ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งด้วยว่า สมองของเราให้ความสำคัญกับการตำหนิมากกว่าคำชม สังเกตไหมว่า เราจะจำคำชมจากคนอื่นๆ ได้ไม่นานเท่าไหร่ แต่เมื่อไหร่ที่เราโดนตำหนิ เราจะจำเหตุการณ์ ภาพ เสียง และอารมณ์ในขณะนั้นได้ชัดเจนกว่ามาก

โดยทางทฤษฎีเราเชื่อว่า การตำหนิ มีผลมากกว่า การชม ถึง 5 เท่า หมายความว่า ถ้าเราตำหนิ 1 ครั้ง ต้องใช้การชมอีก 5 ครั้ง เพื่อทำให้สถานะของน้องๆ เรา กลับมาเท่าเดิม และตัวเลขอาจจะยิ่งมากกว่านี้ ถ้าเราตำหนิเขา ต่อหน้าคนอื่นๆ เพราะเท่ากับว่าเรากำลังเปรียบเทียบ ตัวเขา กับ คนอื่นๆ ไปพร้อมกัน จะยิ่งทำให้สถานะของเขายิ่งต่ำเตี้ยลงไปอีกหลายระดับเลยทีเดียว

ปกติ เราใช้แบบไหนมากกว่ากัน แล้วคิดว่าสถานะของคนรอบข้างเราตอนนี้ เป็นอย่างไรบ้างครับ

แล้วถ้าน้องๆ หรือเพื่อนร่วมงานของเราทำผิด เราจะทำอย่างไร ถ้าเราไม่ตำหนิ เขาจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่ทำอยู่ทำให้เกิดความผิดพลาด ถ้าปล่อยไว้ก็จะเกิดความเสียหายต่องาน ต่อองค์กรตามมาได้ ซึ่งจริงๆ แล้วเวลาที่เราจะ ตำหนิ ใครสักคน สิ่งที่เราอยากบอกให้เขารู้ก็คือ เขายังทำงานได้ไม่ถูกต้อง ใช่ไหมครับ แต่สิ่งที่แถมมาคือ อารมณ์ในเชิงลบ ที่เราไม่ได้ต้องการ ดังนั้น เราจะสามารถทำให้เขารู้ว่างานผิดพลาด โดยที่เขา ไม่รู้สึกว่าเรากำลังตำหนิ ได้อย่างไร ทำอย่างไร ให้เขารู้สึกว่าเรากำลัง เตือน เขาด้วยความหวังดี ด้วยความต้องการให้เขาพัฒนา ไม่ได้ ตำหนิ ไม่ได้ต้องการจะลงโทษเขา ไม่ได้ต้องการให้เขาแย่ลง สิ่งนี้เป็นทักษะที่เราต้องพัฒนา

แสดงความคิดเห็น

บทความอื่นๆน่าสนใจ

สมองกับเป้าหมายที่ชัดเจน

1 เม.ย. 2562   อ่าน 5,239    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ในห้องน้ำ

22 เม.ย. 2562   อ่าน 2,109    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

ความสัมพันธ์ของสมองกับคำมั่นสัญญา

22 เม.ย. 2562   อ่าน 3,742    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

ประหยัดพลังงานสมองเบอร์ 5

22 เม.ย. 2562   อ่าน 1,666    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

ความสัมพันธ์ของความคาดหวังกับฮอร์โมนโดปามีน

22 พ.ค. 2562   อ่าน 1,755    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

สมองต้องการคำชม

22 พ.ค. 2562   อ่าน 2,802    หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน

หลักสูตรที่น่าสนใจ

สร้างสมอง บริหารความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิผล

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 3,950

สมองคิดบวก สร้างทัศนคติเชิงบวก ให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน (Positive Brain for Positive Thinking)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 8,035

สร้างพลังสมอง แก้ปัญหาและตัดสินใจ (Build Power Brain for PSDM)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 4,051

การสื่อสารสู่สมองเพื่อสร้างผลลัพธ์และความสัมพันธ์ที่ดี (Brain to Brain Communication)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 4,252

สมองคิดบวก เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงาน (Positive Brain for Positive Thinking)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 5,108

ปลุกสมอง สร้างผลงานให้องค์กร (Better Brain Better You)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 4,142

การสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้วยสมองเชิงบวก

หมวด Thinking   อ่าน 8,586

สร้างสมองนวัตกรรมพิชิตการทำงาน (Working with Innovative Brain)

หมวด Thinking   อ่าน 3,728

สถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง

Constra

ศูนย์บริการครบวงจรสำหรับการพัฒนาบุคลากรขององค์กร รับออกแบบโปรแกรมฝึกอบรมโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์

Contact us

บริษัท เอ็นมาร์ก โซลูชั่น จำกัด

112 ซ.รามคำแหง 30/1 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

E-mail : asst.entraining@gmail.com
cocoachentraining@gmail.com
โทรศัพท์ : 02-732-2345 / 02-374-8638
Hotline : 086-303-6747 / 091-770-3350
091-770-3354
Fax : 0-2375-2347

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • เว็บไซต์การเรียนรู้ออนไลน์
  • แหล่งรวมความรู้เกียวกับโค้ช
  • เว็บไซต์ส่วนตัว อ.ปกรณ์
  • แบบทดสอบออนไลน์
  • เว็บไซต์เอ็นเทรนนิ่งภาษาอังกฤษ
  • เว็บไซต์ : Peakpotential
  • คำค้นหา / Tags,Keyword,Category
Copyright © All Rights Reserved. Enmark Solution Company Limited.