โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 10 กันยายน 2561 1,989 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด สุขภาพกับการทำงาน / องค์ประกอบเป้าหมายชิ้นที่2 ไม้บรรทัดของเรา
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,809 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,873 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,908 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,386 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
2 มี.ค. 2565 อ่าน 382 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
29 ส.ค. 2561 อ่าน 68,907 หมวด การตลาด-งานขาย
หลังจากที่เราเลือกสิ่งที่เป็นเป้าหมาย สิ่งที่เราอยากจะเปลี่ยนแปลงแล้วนั้น แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่เราจึงจะไปถึงเป้าหมาย เส้นชัยของเรานั้นมันอยู่ไกลมากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าเราไม่สามารถบอกได้ เราก็คงได้แต่วิ่ง วิ่ง และวิ่งไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้ว่าตอนนี้วิ่งมาถึงไหนแล้ว แล้วจะไปถึงที่หมายเมื่อใด
หากเป็นการวิ่งแข่งขัน เราคงพอจะบอกได้ว่าเป้าหมายของเรานั้นอยู่ห่างออกไปเท่าไหร่ อาจจะเป็น 100 เมตร 400 เมตร ในการวิ่งระยะสั้น หรืออาจจะไกลถึง 42.195 กิโลเมตร ในการวิ่งมาราธอน แต่ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งระยะใกล้หรือระยะไกลเมื่อเรารู้ว่าเป้าหมายอยู่ห่างแค่ไหน เราก็จะสามารถรับทราบได้ว่าตอนนี้เราอยู่ตรงจุดไหน แล้วเราจะวางแผนไปถึงเป้าหมายได้อย่างไร เราต้องวิ่งสุดกำลังตั้งแต่แรก หรือต้องออมแรงและใช้ความอดทนอย่างค่อยเป็นค่อยไป สุดท้ายเราก็พอจะรู้ว่าการไปถึงจุดหมายนั้นจะใช้ระยะเวลาสักเท่าไหร่
หรือถ้าเป็นการวางแผนทางการเงิน ถ้าเราหวังแค่อยากรวย เราก็คงสะสมเงินไปเรื่อยๆ จนไม่รู้จุดจบ แต่ถ้าเราบอกตัวเองได้ว่า เราอยากมีเงินสักหนึ่งล้าน เราก็จะพอรู้ได้ว่าเงินเก็บที่มีกับที่ต้องหามาเพิ่มให้ได้ตามเป้าหมายนั้น มันยังขาดไปอีกมากน้อยแค่ไหน
แล้วถ้าเป็นเรื่องเป้าหมายทางสุขภาพหล่ะเราจะทำอย่างนั้นได้ไหม แล้วเราจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องมือวัดสุขภาพของเรา
จริงๆ แล้วเครื่องมือในการวัดสภาวะทางสุขภาพหรือความสมบูรณ์ของร่างกายเรานั้น มีมากมายหลายอย่างมาก ขึ้นอยู่กับว่าเป้าหมายของเราคืออะไร เมื่อเราได้เลือกเป้าหมายที่จำเพาะออกมาแล้ว เราก็จะมาเลือกเฟ้นเครื่องมือวัดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอีกที
องค์ประกอบของสุขภาพบางอย่างมีเครื่องมือวัดหลายๆ ชิ้นด้วยซ้ำ ซึ่งเราก็ควรจะเลือกใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อที่จะสามารถวัดองค์ประกอบทางสุขภาพของเราได้ละเอียดมากสุดเท่าที่ทำได้
ยกตัวอย่างเช่น คนที่อยากมีรูปร่างดีไม่อ้วน ก็สามารถใช้น้ำหนักตัวเป็นตัววัดได้ใช่ไหมครับ แต่มันจะดีขึ้นไหมถ้าเรานำเอาขนาดไซส์ของเสื้อผ้าหรือใช้เส้นรอบเอวมาเป็นตัววัด เพราะแต่ละคนสูงต่ำไม่เท่ากัน การใช้น้ำหนักตัวอย่างเดียวอาจไม่เห็นภาพชัดเจนเท่าไหร่ว่าตอนนี้เราอ้วนหรือผอมเพียงใด และถ้าจะให้ดีเราสามารถใช้ดัชนีมวลกาย หรือ Body mass index (BMI) มาใช้เป็นเครื่องมือวัดเป้าหมายรูปร่างของเรา ก็จะยิ่งสามารถบอกได้ละเอียดและเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น
หรือคนที่เป็นเบาหวานอาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ ซึ่งโดยปกติเราจะคุ้นเคยกับการเจาะน้ำตาลปลายนิ่วเพื่อใช้วัดระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง หรือ Fasting blood sugar (FBS) เป็นไม้บรรทัดในการวัด แต่เนื่องจากเจ้าระดับน้ำตาลจากปลายนิ้วนี้มันขึ้นๆ ลงๆ ตามอาหารการกินของเราในแต่ละวัน ค่าที่ได้ก็อาจจะไม่แน่นอน แถมบางคนตั้งใจอยากได้ระดับน้ำตาลดีๆ ก่อนจะมาพบหมอสักสองสามวัน เจ้าสัญชาตญานการเจ้าเล่ห์ของเรา ก็พยายามสั่งให้เราพยายามทำตัวเป็นคนไข้ที่ดีเป็นพิเศษ อดอาหารมาอย่างเต็มที่ เจ้าไม้บรรทัดอันเดิมก็อาจจะทำให้การวัดเป้าหมายของเราคลาดเคลื่อนมากขึ้นไปอีก ก็ยิ้มดีใจไปด้วยกันทั้งคนไข้ทั้งหมอว่าควบคุมน้ำตาลได้แล้ว ซึ่งจริงๆ มันไม่ใช่ ดังนั้นถ้าเราเลือกไม้บรรทัดอันใหม่ เป็นการใช้ระดับน้ำตาลสะสม หรือ HbA1C ซึ่งเป็นการหาระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ก็จะทำให้เรารู้สถานการณ์ระดับน้ำตาลของเราอย่างเป็นจริงมากขึ้น ทำให้เรารู้ตัวอย่างจริงจังมากขึ้นว่าเราใกล้ถึงเป้าหมายควบคุมระดับน้ำตาลของเราแล้วหรือยัง
แล้วตอนนี้คุณเลือกไม้บรรทัดของสำหรับเป้าหมายของคุณได้หรือยัง เมื่อเลือกได้แล้ว ลองคิดต่ออีกสักนิดว่ามีไม้บรรทัดที่ดีกว่านี้อีกหรือไม่ หรือถ้ายังเลือกไม่ได้ เราอาจจะลองปรึกษาหรือขอความเห็นจากคุณหมอหรือเจ้าหน้าที่สาขาวิชาชีพทางการแพทย์อื่นๆ ดูก็ได้ครับ ลองเล่าถึงเป้าหมายของเราให้คุณหมอฟัง ผมคิดว่าคุณหมอและเจ้าหน้าที่ทุกคนจะเต็มใจช่วยให้ข้อมูล เพื่อที่คุณจะสามารถเลือกไม้บรรทัดของคุณได้
เอาหล่ะตอนนี้เมื่อเป้าหมายพร้อม ไม้บรรทัดพร้อม เราจะได้ก้าวเดินไปข้างหน้ากันต่อไป วัดกันดีๆ นะครับว่าตอนนี้เราอยู่ตรงจุดไหนของเป้าหมายของเราแล้ว
หมายเหตุ ดัชนีมวลกาย (อังกฤษ: Body mass index ; คำย่อ BMI) เป็นค่าดัชนีที่คำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง เพื่อใช้เปรียบเทียบความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัว ต่อความสูงของมนุษย์ ซึ่งคิดค้นโดย Adolphe Quetelet ชาวเบลเยียม ค่าดัชนีมวลกายหาได้โดยนำน้ำหนักตัวหารด้วยกำลังสองของส่วนสูงตนเอง
โดยปกติ ให้ใช้น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และส่วนสูงเป็นเมตร จะได้หน่วยเป็น กก./ม.2 เมื่อได้คำนวณค่าดัชนีมวลกายแล้ว ลองนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์ดังนี้ ผอมเกินไป : น้อยกว่า 18.5 (< 18.5)
เหมาะสม : มากกว่าหรือเท่ากับ 18.5 แต่น้อยกว่า 25 (<=18.5 แต่ <25)
น้ำหนักเกิน : มากกว่าหรือเท่ากับ 25 แต่น้อยกว่า 30 (<=25 แต่ <30)
อ้วน : มากกว่าหรือเท่ากับ 30 แต่น้อยกว่า 40 (<=30 แต่ <40)
อันตรายมาก : มากกว่าหรือเท่ากับ 40 (<=40)
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,809 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,873 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,908 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,386 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
2 มี.ค. 2565 อ่าน 382 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
30 ม.ค. 2563 อ่าน 2,604 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
หมวด Coaching อ่าน 4,059
หมวด Leadership อ่าน 3,258
หมวด Leadership อ่าน 5,834
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,052
หมวด Softskill อ่าน 3,540
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,156
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,700
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,134