โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 11 กันยายน 2561 1,662 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด สุขภาพกับการทำงาน / องค์ประกอบเป้าหมายชิ้นสุดท้าย นาฬิกาจับเวลา
2 มี.ค. 2565 อ่าน 78 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 800 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,644 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,529 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
10 ก.ย. 2561 อ่าน 1,678 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
10 ก.ย. 2561 อ่าน 1,841 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
ในที่สุดเราก็เดินมาถึงองค์ประกอบชิ้นสุดท้าย ที่เราจะได้มองเห็นเป้าหมายทางสุขภาพที่สมบูรณ์ของตัวเราเอง เพื่อที่เราจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมายของเราเอง สิ่งนั้นก็คือเวลาหรือการขีด เส้นตาย นั่นเอง
สำหรับเรื่องสุขภาพแล้วปัญหาเรื่องเงื่อนไขของเวลาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และดูเป็นเรื่องที่ถูกละเลยมากที่สุดเรื่องหนึ่ง เพราะแม้ว่าทุกคนจะบอกว่าสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ แต่โดยส่วนใหญ่ก็มักจะผลัดวันประกันพรุ่ง เพื่อขอใช้เวลาไปในเรื่องอื่นๆ เป้าหมายอื่นๆ กันเสียก่อน โดยลืมนึกถึงไปว่าเมื่อไหร่ที่เราเดินตกลงไปในหุบเหวของสุขภาพที่เสื่อมโทรมแล้ว โอกาสที่จะปีนป่ายกลับขึ้นมานั้นแทบจะไม่มีเลย
ไม่ว่าคุณจะมีตัวช่วยเป็นยศฐาตำแหน่งหรือปริมาณเงินในบัญชีมากสักแค่ไหน ถ้าอยู่ๆ วันหนึ่งหัวใจของเรามันเกิดเหนื่อยล้าและเกิดความขี้เกียจ จนหยุดเต้นขึ้นมาเฉยๆ ก่อนเวลาอันควรของมัน สิ่งต่างๆ ที่คุณพยายามทำมาจะเท่ากับศูนย์ และกลายเป็นความสูญเปล่าไปในทันที
เวลาและสภาวะทางสุขภาพเป็นสิ่งที่คล้ายกันอย่างหนึ่งคือเมื่อมันผ่านจุดๆ หนึ่งไปแล้วเราไม่สามารถที่จะย้อนกลับมาเหมือนเดิมได้ แม้ปัจจุบันเราจะมีวิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้าไปไกลมากแค่ไหนก็ตาม หลายๆ โรคโดยเฉพาะพวกกลุ่มโรคทางพฤติกรรมก็ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเป็นโรคเบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ไปแล้ว สุขภาพของเราก็จะไม่เหมือนเราคนเดิมอีกต่อไป ทว่าเราก็ยังสามารถจะดูแลสุขภาพของเราให้ดีเสมือนคนที่สุขภาพปกติคนอื่นๆ ได้ ถ้าเรามีเป้าหมายและความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงที่มีพลังและความตั้งใจมากพอ
แต่ถ้าเราเป็นโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงไปแล้ว เรายังคงใช้ชีวิตไปวันๆ ดูแลตัวเองไปวันๆ หรือยังไม่ดูแลตัวเราเองอีก วันดีคืนร้ายหากเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์อัมพาต หรือไตวายขึ้นมา เราก็จะยิ่งดำดิ่งสู่เบื้องลึกของก้นหุบเหวมากขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นถึงเวลาหรือยังที่คุณจะหันมาให้เวลากับตัวคุณเองก่อนงานหรือสิ่งอื่นๆ ถึงเวลาหรือยังที่คุณจะขีดเส้นตายให้กับตัวคุณเอง ก่อนที่มันจะกลายเป็นเส้นตายไปจริงๆ
การที่เรามีการวางกรอบเวลาให้เป้าหมายของเราอย่างชัดเจนนั้น จะทำให้เราสามารถจัดสรรได้ว่าในช่วงเวลาแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ หรือแต่ละเดือนนั้น เราควรจะทำอะไรในแต่ละช่วงเวลาบ้าง ที่จะสามารถทำให้เป้าหมายทางสุขภาพ ของเราประสบความสำเร็จ และเราจะสามารถรู้ได้ว่าเมื่อเวลาผ่านมาได้ระยะหนึ่งแล้วเราสามารถเดินไปได้ตามเส้นทาง แห่งเป้าหมายของเราได้ไกลมากน้อยแค่ไหนแล้ว ทำให้เราสามารถประเมินผลได้ว่าโอกาสของเราที่จะประสบความสำเร็จตามแผนนั้น เป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
ถ้าเราประเมินแล้วว่าด้วยระยะเวลาที่เหลืออยู่ เรายังไม่สามารถทำตามเป้าหมายทางสุขภาพของเราได้ไม่ดีเท่าทีควร เรามีโอกาสจะไม่สำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เราก็จะได้มาปรับแก้ไขแผนการหรือหาวิธีการอื่นๆ มาเพิ่มเติมเพื่อให้เราสามารถไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการได้จริง สามารถแก้ไขความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้ก่อนที่เราจะเกิดปัญหาสุขภาพขึ้นมาจนแก้ไขไม่ได้
แต่ถ้าเราประเมินแล้วพบว่าเราสามารถปฏิบัติตัวได้ดีจนมีโอกาสจะประสบความสำเร็จ ได้ตามระยะเวลาที่เราวางไว้ เราก็จะเกิดกำลังใจและมั่นใจในวิธีการปฏิบัติตัวของเรามากขึ้น ทำให้เราไม่ต้องคอยมาทุกข์ใจหรือกังวลใจกับปัญหาทางสุขภาพของเรา และมีเวลาที่เราจะไปดูแลเป้าหมายอื่นๆ ในชิวิตของเรามากขึ้น
ตัวอย่างเช่นเรามีเป้าหมายที่จะลดน้ำหนักให้ได้สัก 5 กิโลกรัม ด้วยการออกกำลังกายอาทิตย์ละ 3 วันภายในระยะเวลา 1 ปี แต่พอระยะเวลาผ่านมาได้สัก 6 เกือน ถ้าน้ำหนักเจ้ากรรมของเรามันเกิดลดได้แค่ 1 กิโลกรัม ประเมินดูแล้วเป้าหมายของเราดูท่าทางแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จแน่ๆ เราก็อาจจะต้องมาปรับแผนดูว่า เราสามารถจะหาเวลาออกกำลังกายเพิ่มขึ้นอีกอาทิตย์ละ 2-3 วันได้ไหม แต่ถ้าบอกว่าเวลามันไม่มีมากกว่านี้ เราก็ต้องไปหาหนทางอื่นๆ ที่ไม่ต้องเพิ่มเงื่อนไขของเวลา เช่น การควบคุมอาหารควบคู่กับการออกกำลังกาย เป็นต้น
เพียงเท่านี้เราเอง ก็จะสามารถมีเป้าหมายทางสุขภาพที่มีองค์ประกอบที่ครบสมบูรณ์เหมือนอย่างที่เราตั้งใจ และเป้าหมายที่เราเองคิดออกมาเองนี้ก็จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมทางสุขภาพของเราต่อไป
ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาสุขภาพของเราเองจึงต้องเริ่มที่การสร้างความคิดที่ดี ปล่อยให้ความคิดที่ดีสร้างพฤติกรรมที่ดี และสุดท้ายพฤติกรรมที่ดีจะสร้างสุขภาพที่ดีให้กับตัวเรา
2 มี.ค. 2565 อ่าน 78 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 800 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,644 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,529 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
10 ก.ย. 2561 อ่าน 1,678 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
10 ก.ย. 2561 อ่าน 1,841 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
หมวด Management and Productivity อ่าน 4,614
หมวด Advance Leadership อ่าน 1,091
หมวด Sales and Marketing อ่าน 3,368
หมวด Sales and Marketing อ่าน 2,933
หมวด Management and Productivity อ่าน 4,929
หมวด Management and Productivity อ่าน 5,221
หมวด Thinking อ่าน 2,648