โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 11 กันยายน 2561 1,912 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด สุขภาพกับการทำงาน / องค์ประกอบเป้าหมายชี้นที่4 โลกของความจริง
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,957 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,530 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
2 มี.ค. 2565 อ่าน 429 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
26 ส.ค. 2562 อ่าน 3,343 หมวด การพัฒนาตนเอง
19 ก.ย. 2561 อ่าน 7,327 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
7 เม.ย. 2564 อ่าน 1,525 หมวด ทั่วไป
ในตอนนี้เป้าหมายของเราก็จะมีองค์ประกอบเกือบจะครบสมบูรณ์แล้ว เราเริ่มมีพร้อมทั้งเข็มทิศ ไม้บรรทัด และแผนที่สำหรับเป้าหมายของเรา จึงถึงเวลาแล้วที่เราจะมองย้อนกลับไปทบทวนดูอีกครั้งว่า เมื่อเรามองดูเป้าหมายที่เราวาดไว้นั้น เรามองโลกนี้ด้วยความเป็นจริงกันมากน้อยแค่ไหน เป้าหมายที่ดีนั้นควรจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นเหตุเป็นผล ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เป้าหมายนั้นจึงจะประสบความสำเร็จได้จริง
เมื่อเราวาดเป้าหมายที่เราต้องการขึ้นมา แน่นอนว่าเราต้องอยากให้เป้าหมายของเราประสบความสำเร็จแต่ถ้าเป้าหมายของเรา มันสูงมากจนเกิดกว่าที่เราจะเอื้อมมือไปถึง เราก็ย่อมไม่สามารถจะไปถึงเป้าหมายนั้นได้เสียที แม้ว่าหัวใจของเราจะบรรจุความตั้งใจจริงไว้มากสักเพียงใดก็ตาม ในที่สุดเราก็จะเกิดความท้อถอยที่ไม่สามารถจะหยิบจับความฝันของเราได้ จนกลายเป็นสาเหตุให้หมดกำลังใจ และทิ้งมือทั้งสองข้างลงข้างตัวเพื่อขอยอมแพ้ในที่สุด ที่ร้ายแรงกกว่านั้นคือมันอาจกลายเห็นเหตุลุกลาม จนทำให้เราต้องพลอยเสียความตั้งใจต่อเป้าหมายอื่นๆ ในชีวิตเราไปด้วยได้
ในทางตรงกันข้ามถ้าเป้าหมายนั้นตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสม ในที่ที่เราสามารถหยิบจับได้จริง ในที่สุดเราก็จะสามารถพยายามจนไปถึงเป้าหมายและพิชิตมันลงได้ เราก็จะเกิดทั้งความสุขและกำลังใจที่จะแสวงหาเป้าหมายใหม่ๆ ที่ดีขึ้น ท้าทายมากขึ้นได้อีกเรื่อยๆ ในที่สุดเราก็จะมีสุขภาพ ที่ดี สุขภาพ ในฝันของตัวเราเองได้ด้วยตัวของเราเอง
แต่ถ้าเมื่อไหร่เราพิจารณาดูแล้วว่าเป้าหมายที่เราอยากได้ไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง ก่อนที่เราจะยอมแพ้ ยอมปล่อยมือทิ้งเป้าหมายของเราไป ลองหยิบเป้าหมายของเรามาพิจารณาดูให้ดีอีกครั้งหนึ่งว่า อะไรเป็นสาเหตุให้เป้าหมายของเราไม่มีทางเกิดขึ้นจริง ถ้าเป็นเพราะเป้าของเรามันสูงเกินไป จนหลุดจากโลกความเป็นจริง เป็นไปได้ไหมที่เราจะลดระดับลงมาให้เป้าของเรากลับสู่โลกของความเป็นจริง อยู่ในระดับที่ตัวเราจะสามารถเอื่อมมือไปสัมผัสมันได้ แต่ถ้าเป็นเพราะวิธีการหรือหนทาง เราจะเดินไปสู่เป้าหมาย มันยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้ ก็ต้องลองหาวิธีการอื่นมาเพิ่มเสริมเติมแต่งให้เกิดหนทางที่จะไปยังเป้าหมายของเราจริงๆ ได้
ความอยู่บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลนั้นสำคัญต่อเป้าหมายทางสุขภาพ เป็นอย่างมาก ทั้งต่อตัวเป้าหมายเองและวิธีการปฏิบัติ เราจะเห็นได้ว่ามีผู้คนมากมายที่ตัองตกเป็นเหยื่อของพวกที่ฉวยโอกาสต่อเป้าหมาย และวิธีการที่เกินจริงอยู่บ่อยครั้ง
หลายๆ คนเป็นโรคเบาหวาน แล้วอยากหายขาด ไม่อยากต้องรับประทานยา แต่ก็ไม่อยากต้องมาคอยควบคุมอาหาร ก็ไปเลือกการใช้พวกยาหม้อ ยาสมุนไพร ที่มีหลายสำนักโฆษณากันให้เห็นอย่างเกลื่อนกลาด แต่กลับไม่ได้รับการตรวจสอบรับรองจากหน่วยงานราชการที่น่าเชื่อถือได้ แล้วหวังจะหายขาดได้ คุณคิดว่าเป้าหมายและวิธีการในลักษณะนี้จะประสบความสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหน
หลายคนที่อยากลดความอ้วน แต่ไม่อยากรอเวลานานๆ ตั้งเป้าหมายอยากจะลดน้ำหนักสัก 10 กิโลกรัมภายใน 1 เดือน ทั้งๆ ที่เราสร้างพฤติกรรมที่ไม่ดีในการรับประทานอาหารและการไม่ออกกำลังกายมาหลายสิบปี ดังนั้นการใช้วิธีการปกติที่ถูกต้อง อย่างเช่นการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย ย่อมไม่ตอบสนองต่อเป้าหมายของเขา แล้วจะเกิดอะไรขึ้น เขาก็จะต้องตกเป็นเหยื่อของโฆษณาชวนเชื่อของพวกยาลดน้ำหนักต่างๆ ซึ่งนอกจากจะลดไม่ได้จริงแล้ว ยังเกิดผลข้างเคียงต่างๆ ที่ไม่เป็นผลดีต่อร่างกายเราเลย บางคนกลับมาน้ำหนักมากกว่าเดิม บางคนเสียสติ หรือบางคนถึงกับเสียชีวิตจากการตัดสินใจที่ผิดๆ ได้
เรื่องราวในลักษณะนี้คงจะไม่เกิดขึ้นถ้าเราตั้งเป้าหมายด้วยการมองโลกอย่างเป็นจริงมากขึ้น และเลือกวิธีการที่มีเหตุมีผลมากขึ้น บางโรคแม้ไม่สามารถตั้งเป้าหมายให้หายขาดได้ แต่ถ้าปรับเปลี่ยนเป้าหมายเป็นการอยู่กับโรคที่เราเป็นด้วยความเข้าใจ เราเองแม้ไม่สามารถหายขาด แต่เราก็จะอยู่บนโลกนี้อย่างมีความสุขมากขึ้น
คนที่เป็นเบาหวานแม้จะยังไม่มียาหรือวิธีการรักษาใดๆ จะยืนยันว่าหายขาดได้ 100 เปอเซ็นต์ แต่ถ้าเปลี่ยนเป้าหมายเป็นเราจะไม่ยอมให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เราก็ควรจะคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ด้วยการควบคุมอาหารและรับประทานยาอย่างต่อเนื่องภายใต้การดูแลของหมอ เราเองก็สามารถอยู่บนโลกใบนี้ได้โดยไม่มีอาการใดๆ ที่แตกต่างจากคนปกติทั่วๆ ไปเลย
เรามาอยู่ในโลกของความจริงกันเถอะครับ
11 ก.ย. 2561 อ่าน 1,957 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,530 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
2 มี.ค. 2565 อ่าน 429 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
30 ต.ค. 2563 อ่าน 984 หมวด การพัฒนาตนเอง
9 ม.ค. 2566 อ่าน 74 หมวด การตลาด-งานขาย
7 พ.ย. 2561 อ่าน 8,899 หมวด การตลาด-งานขาย
หมวด Management and Productivity อ่าน 6,833
หมวด Advance Leadership อ่าน 1,659
หมวด Sales and Marketing อ่าน 4,782
หมวด Sales and Marketing อ่าน 3,770
หมวด Management and Productivity อ่าน 5,811
หมวด Management and Productivity อ่าน 6,441
หมวด Thinking อ่าน 3,673