โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 25 ตุลาคม 2561 3,107 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน / อย่าแปลกใจที่คนอื่นมองโลกในแง่ลบ
25 ต.ค. 2561 อ่าน 6,653 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,450 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 4,668 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
26 ธ.ค. 2561 อ่าน 1,731 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
13 ก.พ. 2562 อ่าน 1,292 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 1,569 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
เคยเจอความรู้สึกที่ถูกแวดล้อมด้วยบุคคลที่มีทัศนคติเชิงลบไหมครับ
เวลาที่ต้องทำงานร่วมกันกับคนกลุ่มนี้ น่าจะทำให้เราอดไม่ได้ที่จะรู้สึกโกรธ โมโห หงุดหงิดไม่ได้ การมาทำงานแต่ละวัน ดูเหมือนจะเป็นยาขม (ที่ขมกว่าเดิม) ขึ้นมาทันที
เพราะไม่ง่ายเลย ที่เราและคนกลุ่มนี้จะหาข้อตกลงในการแผนสู่เป้าหมาย หรือมีแรงจูงใจมากพอที่จะผลักดันให้งานเกิดความสำเร็จ
บางที เราอาจรู้สึกไม่ยุติธรรมเลย ที่เราทำงานของเราดีแล้ว ทำเต็มที่แล้ว แต่งานต้องมาล้มเหลว เพราะคนอื่นๆ แบบนี้ และบางทีเราอาจไม่รู้ตัวเลยว่า ตัวเราเองก็กำลังมองพวกเขาด้วยทัศนคติเชิงลบของตัวเราเองเช่นกัน เพราะธรรมชาติ มอบให้สมองของเราคิดลบมากกว่าบวก ในทุกๆ คน
สมองของเราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับประสบการณ์เชิงลบ เพราะการไม่แยแสต่อเรื่องที่เป็นลบ เรื่องที่เสี่ยง มีโอกาสให้เราต้องพบความเจ็บปวด ความทุกข์ หรือถึงขั้นเอาชีวิตไม่รอดเอาง่ายๆ การเป็นคนคิดลบ จึงเป็นการคิดที่สอดคล้องกับการทำงานของสมองได้เป็นอย่างดี
สมองเรามีเจ้าหน้าที่คอยรักษาความปลอดภัย เสมือนยามหนุ่มๆ ที่คอยปั่นจักรยานตรวจตาไปทั่ว ๆ หมู่บ้าน คอยเฝ้ามองดูว่ามีสิ่งใดที่จะเข้ามาคุกคามทำอันตรายต่อตัวเราและทรัพย์สินของเราหรือไม่ และพี่ยามคนนั้นชื่อ อมิกดาลา (Amygdala) สิ่งใดก็ตามที่พี่ยามเขาเห็นเป็นเงาตะคุ่ม ๆ ไม่ชัดเจน จะต้องถูกตีความว่าเป็นอันตรายเอาไว้ก่อน จนกว่าจะมีหลักฐานแสดงตัวว่า สิ่งนั้นมีความปลอดภัยต่อเราอย่างแท้จริง พี่ยามจึงจะยอมปล่อยตัวไป
ซึ่งการทำงานของพี่ยามนี้ อยู่บนระบบสมองส่วนอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งทำงานได้เร็วกว่าสมองส่วนคิดและเหตุผล เราจึงเลือกเชื่อในข้อมูลที่เป็นลบ ได้ง่ายกว่าข้อมูลในเชิงบวก ทั้งที่เมื่อมาคิดวิเคราะห์ดูดีๆ แล้ว เหมือนเรื่องนั้นจะดูไม่มีเหตุผลก็ตาม
เราจึงมักเชื่อข่าวลือในแง่ไม่ดีของใครบางคนได้ง่ายๆ ทั้งที่บางครั้งไม่เคยเจอหน้ากันมาก่อนเลยเสียด้วยซ้ำ อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ เพราะสมองเรามีพื้นที่จำกัด สมองส่วนความจำระยะยาว หรือ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) จะพยายามจัดเก็บประสบการณ์เชิงลบของเราไว้เป็นอย่างดี เพื่อให้มั่นใจว่า เราจะไม่เข้าไปใกล้ เข้าไปเผชิญกับเหตุการณ์แบบนั้นอีก ส่วนประสบการณ์เชิงบวกนั้น จะหายสาบสูญไปบ้าง สมองกลับไม่ค่อยรู้สึกอะไร สมองเราเลือกจัดเก็บข้อมูลในลักษณะนี้ โดยไม่สนว่า เรารู้สึกอย่างไร ดังนั้นอย่าแปลกใจว่า ทำไมเราลืมหน้าแฟนเก่าที่หักอกเราไปไม่ได้เสียที ทั้งที่นึกถึงทีไรก็ต้องเสียน้ำตา หรือมีเพลิงลุกไหม้ในอกทุกครั้งก็ตาม
หรือแม้แต่ในการทำงาน ดูเหมือนประสบการณ์ที่ไม่ดีอย่างการถูกตำหนิ จะฝังแน่นในความรู้สึกเราได้อย่างยาวนาน เรียกว่าแทบจะจำ ทุกท่าทางที่ถูกกระทำ ทุกทุกคำที่พูด ได้อย่างชัดเจน และแม้ว่าในทางทฤษฎี จะบอกว่า เมื่อเราชม 5 ครั้ง จะสามารถชดเชยการตำหนิ 1 ครั้งได้ แม้ความรู้สึกและความสัมพันธ์จะกลับมาดีเหมือนเดิมได้ แต่ประสบการณ์นั้นก็ไม่ได้สูญหายไปไหน เมื่อไหร่ถูกตำหนิอีกครั้ง ความทรงจำการโดนตำหนิในครั้งก่อนก็พร้อมผุดขึ้นมาผสมผสานเป็นเชื้อไฟ ทำให้เหตุการณ์ในปัจจุบันสามารถบานปลายไปได้มากกว่าความเป็นจริงได้ทันที
เมื่อเป็นแบบนี้ สมองเราจึงเหลือพื้นที่ให้เรามีข้อมูลเป็นบวกไม่มากเท่าไหร่นัก ทั้งที่ ชีวิตเราน่าจะเจอกับเรื่องที่เป็นบวก มากกว่าเสียด้วยซ้ำ ไม่เช่นนั้นเราคงไม่รอดมาได้ถึงทุกวันนี้
แม้ธรรมชาติของสมองของเราจะเป็นเช่นนั้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสมองของเราให้คิดและมีทัศนคติเชิงบวกมากขึ้นได้ เริ่มจากฝึกมองหาข้อมูลในเชิงบวกมากขึ้น จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เพื่อสร้างคลังข้อมูลให้เป็นบวกในสมองส่วนความทรงจำระยะยาวให้มากขึ้น
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ ที่เข้ามาให้ช้าลงเพื่อให้สมองส่วนคิดได้มีเวลาทำงานบ้าง ก่อนจะใช้แต่สมองส่วนอารมณ์ในการตัดสินใจ
และที่สำคัญคือ การสร้างความตะหนัก การรู้เนื้อรู้ตัว รู้ทันอารมณ์ความรู้สึกของตัวเราเอง ก็ช่วยให้เราสามารถเข้าใจและหาวิธีจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกเชิงลบของเราได้ทัน ไม่ปล่อยให้สมองของเราฟุ้งซ่านไปด้วยข้อมูลเชิงลบที่วิ่งไปวิ่งมา ให้เปลืองพลังงานของสมองไปโดยเปล่าประโยชน์
แล้วตอนนี้ เรากำลังเกิดอารมณ์ความรู้สึกแบบไหนอยู่ครับ อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบครั้งล่าสุดของเราเกิดขึ้นเมื่อไหร่ จำได้ไหมว่า เหตุการณ์ใดที่ทำให้เราเกิดอารมณ์ความรู้สึกแบบนี้ แล้วเราสามารถเปลี่ยนแปลงความความรู้สึกของเราต่อเรื่องนั้นได้อย่างไร และสุกท้าย เมื่อเราเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของเราต่อเรื่องนั้นได้ เราจะได้ประโยชน์อะไร ตอบตัวเราเองดูเสียหน่อย ดีไหมครับ
25 ต.ค. 2561 อ่าน 6,653 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,450 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 4,668 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
26 ธ.ค. 2561 อ่าน 1,731 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
13 ก.พ. 2562 อ่าน 1,292 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 1,569 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,948
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 7,945
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,050
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,250
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,108
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,140
หมวด Thinking อ่าน 8,467
หมวด Thinking อ่าน 3,725