โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 3 กันยายน 2561 1,169 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ / เคล็ดลับความสำเร็จในการผูกมัดใจบุคลากรขององค์กรระดับชั้นนำ เขาทำกันอย่างไร ตอนที่1
3 ก.ย. 2561 อ่าน 1,409 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3 ก.ย. 2561 อ่าน 1,414 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3 ก.ย. 2561 อ่าน 1,841 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4 ก.ย. 2561 อ่าน 1,897 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4 ก.ย. 2561 อ่าน 3,120 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4 ก.ย. 2561 อ่าน 2,401 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ในทางเศรษฐศาสตร์มีทฤษฎีหนึ่งที่กล่าวถึงการเคลื่อนย้ายของทุนและแรงงานภายใต้เงื่อนไขของสภาวะที่ปราศจากข้อจำกัดใดๆของการเคลื่อนย้ายว่า เงินทุนและแรงงานนั้นจะเคลื่อนไปสู่แหล่งที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเสมอ ซึ่งในความเป็นจริงก็มีส่วนถูกอยู่บ้าง แต่ก็มิได้เป็นเช่นที่ทฤษฎีได้กล่าวอ้างไว้เสมอไป มิเช่นนั้นแล้วความโกลาหลคงเกิดกับระบบเศรษฐกิจอย่างมิอาจคาดเดาได้ว่าจะสิ้นสุดลงอย่างไรและเมื่อใด ทฤษฎีดังกล่าวเป็นเพียงความเชื่อที่ค่อนข้างจะเป็นอุดมคติสุดโต่งของสำนักเศรษฐศาสตร์สำนักหนึ่ง ทั้งนี้มีความพยายามที่จะอธิบายถึงความเบี่ยงเบนไปจากทฤษฎีในโลกเแห่งความเป็นจริงว่า มีสาเหตุมาจากความไม่สมบูรณ์ของระบบข้อมูลข่าวสารบ้าง หรือมีข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงาน เช่น มาตรการต่างๆของภาครัฐที่มุ่งผลต่อการสร้างอุปสรรคสกัดกั้นการเคลื่อนย้ายโดยเสรีเพื่อดำรงรักษาเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นคำอธิบายที่สมเหตุผลและมีการพิสูจน์ในเชิงประจักษ์ถึงความเชื่อมโยงของเหตุและผลดังกล่าว อย่างไรก็ตามนั่นคือมุมมองต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงานในเชิงมหภาค แต่ในระดับองค์กรและระดับปัจเจกแล้ว มาตรการและข้อจำกัดเหล่านั้นหาได้มีนัยสำคัญต่ออิสระภาพของการเคลื่อนย้ายไปสู่ทางเลือกในด้านผลตอบแทนที่ดีกว่าไม่ แต่ทฤษฎีดังกล่าวก็มิได้สอดคล้องกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงอีกเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างมากมาย ที่องค์กรซึ่งจ่ายผลตอบแทนไม่สูงมากนักแต่ก็ยังมีบุคลากรที่ยังสมัครใจทำงานด้วยความเต็มใจและเคียงข้างเติบโตกันไปกับองค์กรอย่างยาวนาน บ่อยครั้งที่บุคลากรเหล่านี้เป็นบุคลากรที่เปี่ยมศักยภาพมีความรู้ความสามารถโดดเด่นที่มักถูกเรียกว่าเป็นบุคลากรประเภทพรสววรค์ (Talent) ซึ่งบ่อยครั้งจะเป็นที่หมายตาขององค์กรคู่แข่งในการดึงตัวให้ไปร่วมงานด้วย แต่บุคลากรก็ยังคงภักดีและปฏิบัติงานอยู่กับองค์กรต่อไป แม้จะถูกองค์กรคู่แข่งเสนอให้ผลตอบแทนที่เย้ายวนใจเพืยงใดก็ตาม คำอธิบายต่อปรากฎการณ์เช่นนี้คืออะไร นับเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ ผู้บริหารและนักบริหารงานทรัพยากรบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความกระจ่างอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่การแข่งขันเพื่อการช่วงชิงทรัพยากร บุคคลอันล้ำค่าได้ทวีความรุนแรงและจะเข้มข้นยิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อจะได้วางแผนและบริหารกลยุทธ์การสรรหา การพัฒนาและการรักษาบุคลากรที่ทรงคุณค่าขององค์กรได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ทั้งยังจะได้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับองค์กรในการต่อสู้กับสงครามการแย่งตัวบุคลากรด้วย ประเด็นเรื่องของการผูกมัดใจบุคลากร (Employee Engagement) ได้รับการหยิบยกขึ้นมาเป็นหนทางสู่การอธิบายถึงปรากฎการณ์ดังกล่าว รวมทั้งเป็นเรื่องหนึ่งในด้านการบริหารจัดการทุนมนุษย์ที่องค์กรชั้นนำต่างๆได้ให้ความสำคัญและ ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ในฐานะที่เป็นเครื่องมือทรงอานุภาพยิ่งซึ่งองค์กร สามารถประยุกต์เพื่อกำหนดกลยุทธ์และวิธีการบริหารจัดการให้บุคลากรสร้างสรรค์ผลงานได้ตามที่ องค์กรคาดหวังและในขณะเดียวกันก็สามารถรักษาบุคลากรที่มีค่ายิ่ง (ซึ่งเปี่ยมไปด้วยทักษะ ความรู้โดยนัย ความสามารถ ประสบการณ์และความสัมพันธ์อันดีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆขององค์กร) เหล่านั้นไว้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล อาไว้ผมจะมาเล่าให้ฟังกันต่อครับว่าซีอีโอและนักบริหารหัวก้าวหน้าที่ประสบความสำเร็จเขาคิดใหม่ทำใหม่กันอย่างไร
ตอนที่1 | ตอนที่2 | ตอนที่3 | ตอนจบ
3 ก.ย. 2561 อ่าน 1,409 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3 ก.ย. 2561 อ่าน 1,414 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
3 ก.ย. 2561 อ่าน 1,841 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4 ก.ย. 2561 อ่าน 1,897 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4 ก.ย. 2561 อ่าน 3,120 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
4 ก.ย. 2561 อ่าน 2,401 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 7,485
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 6,241
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,381
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 7,541
หมวด Management and Productivity อ่าน 2,700
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 6,566
หมวด Management and Productivity อ่าน 2,046
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 1,071