โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 6 ธันวาคม 2561 4,848 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การพัฒนาตนเอง / เทคนิคการโน้มน้าวใจลูกน้อง ในการทำงานแบบง่ายๆ
6 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,760 หมวด การพัฒนาตนเอง
19 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,891 หมวด การพัฒนาตนเอง
19 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,397 หมวด การพัฒนาตนเอง
19 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,329 หมวด การพัฒนาตนเอง
13 ก.พ. 2562 อ่าน 80,985 หมวด การพัฒนาตนเอง
13 ก.พ. 2562 อ่าน 3,379 หมวด การพัฒนาตนเอง
เมื่อรู้ว่าวันนี้จะต้องคุยกับลูกน้องสักคนเพื่อที่จะโน้มน้าวใจให้เขาเกิดแรงกระตุ้นในการทำงาน ผู้เขียนเองจะใช้เวลาในการเตรียมตัว นึกถึงคำพูดที่ตัวเองจะพูดเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น เพราะเวลาส่วนใหญ่จะหมดไปกับการนึกถึงลูกน้องคนนั้น นึกถึงเรื่องที่เกี่ยวกับเขา นึกถึงสิ่งที่เขาจะพูด
ในอดีต ความรู้สึกนึกคิดของเจ้าของกิจการอย่างตัวผู้เขียนเอง คิดว่าลูกน้องที่ทำงานกับเรา ควรต้องจะมีความเกรงกลัวเราอยู่ลึกๆ เพื่อการกำหนดผลลัพธ์ของงานเราจะได้ควบคุมได้แบบไม่ยาก แต่นั่นกลับเป็นการพิสูจน์ว่าผลงานของลูกน้องที่ทำให้กับเรานั้นมันจะออกมาอย่างแคระแกนสิ้นดี เป็นผลงานที่ต่อยอดอะไรไม่ได้เลย ถ้ามองตามเหตุผลที่เราตั้งใจตั้งแต่แรกคือให้เขาทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการ ซึ่งเขาก็ทำงานได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการแล้วนี่ แล้วทำไมเรายังไม่พอใจอีก เมื่อมาพิจารณาดีๆอีกทีพบว่าการทำงานของลูกน้องเราเป็นการทำงานแค่เพียงสักแต่ว่าทำไป ไม่ได้มีอารมณ์ร่วมใดๆกับงานนั้นเลย แล้วเราจะทำอย่างไรเพื่อให้เขาไม่ทำงานแบบสักแต่ว่าทำไป และสามารถใช้ศักยภาพของตัวเองใส่ลงไปในงานที่ทำได้อย่างเต็มที่
บังเอิญมีโอกาสได้ซื้อหนังสือเล่มหนึ่งมาอ่านมีชื่อว่า “100 วิธี ทำให้คนยอมทำงานให้เราด้วยความเต็มใจ และมีแรงจูงใจที่ดี” ของ Steve Chandler & Scott Richardson ซึ่งก็จะบอกเทคนิคการทำให้คนยอมทำงานให้เราสารพัดจนครบ 100 วิธีตามชื่อหนังสือนั่นแหละครับ ถ้าจะให้ยกมากล่าวถึงกันทั้งหมด 100 วิธี บทความนี้ก็คงจะยาวเกินไป จึงขอหยิบมาเพียงบางส่วนที่ทำให้ผู้เขียนรู้สึกสะดุดกับชีวิตจริงโดยบอกเล่าผ่านบทความนี้ละกันนะครับ บางส่วนในหนังสือที่ว่านั้นเขียนไว้ว่า พวกเขาไม่สามารถทำงานกับบุคคลที่พวกเขาไม่สามารถทำให้ผ่อนคลายได้ เมื่อเขาไม่ผ่อนคลาย เขาก็จะไม่เปิดใจรับคำแนะนำใดๆ จากข้อความตรงนี้ ผู้เขียนขอขยายความต่อไปว่า คนระดับหัวหน้า หรือผู้จัดการส่วนใหญ่พยายามจะสร้างข้อตกลงกับลูกน้อง ที่กลับทำให้ความกลัวที่อยู่ในใจของลูกน้องเพิ่มมากขึ้นเมื่อการมอบหมายงานได้ดำเนินไปเรื่อยๆ โดยความกลัวนั้นได้สกัดกั้นความคิดดีๆที่สร้างสรรค์ของเขาไปเรียบร้อยแล้ว แล้วหัวหน้าจะสร้างข้อตกลงด้วยวิธีใด เพื่อที่จะไม่กระตุ้นความกลัวในใจของลูกน้องซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาพยายามปกป้องตัวเอง
คำตอบก็คือ การถามคำถามแบบสร้างสรรค์ เพราะคำถามที่สร้างสรรค์จะเป็นสิ่งที่ยกย่องความคิด และความรู้สึกของลูกน้อง คำถามในลักษณะนี้ จะเป็นคำถามที่เขาผ่อนคลาย และอยากตอบ
คนอื่นไม่ต้องการให้เราขายความคิดของเราให้กับพวกเขาหรอก พวกเขาล้วนต้องการที่อยากมีความคิดเป็นของตัวเอง ลูกน้องต้องการทำสิ่งต่างๆด้วยความคิดของเขา มิใช่ของเรา นี่คือเคล็ดลับของการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ความคิดการปกป้องตัวเองจากคำสั่งที่รู้สึกไม่เห็นด้วยจะถูกปลุกขึ้นมาแบบอัตโนมัติ ยิ่งถ้าหัวหน้าไม่เข้าใจถึงความคิดนี้ คุณอาจเผลอไปกระตุ้นให้พวกเขาตอบสนองต่อความกลัวมากยิ่งขึ้น สิ่งที่คนระดับหัวหน้า หรือผู้จัดการสามารถที่จะทำได้ดี ก็คือ การถามอย่างสุภาพ และปล่อยให้พนักงานที่อยู่ภายใต้การนำของเราได้คิด ได้พูด และแสดงความมุ่งมั่นด้วยตัวเอง สิ่งที่จะเอาไปทำนั้นเขาต้องรู้สึกให้ได้ว่า มันมาจากหัวสมองของเขาเอง พันธะสัญญาในใจจะเกิดขึ้นกับตัวของเขาเอง แล้วเขาจะกลับไปมุ่งมั่นงานนั้นด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งนี่คือหนึ่งในวิธีการโน้มน้าวใจลูกน้องให้ทำงานให้เราอย่างเต็มใจ
6 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,760 หมวด การพัฒนาตนเอง
19 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,891 หมวด การพัฒนาตนเอง
19 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,397 หมวด การพัฒนาตนเอง
19 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,329 หมวด การพัฒนาตนเอง
13 ก.พ. 2562 อ่าน 80,985 หมวด การพัฒนาตนเอง
13 ก.พ. 2562 อ่าน 3,379 หมวด การพัฒนาตนเอง
หมวด Leadership อ่าน 4,125
หมวด Leadership อ่าน 3,003
หมวด Leadership อ่าน 4,106
หมวด Softskill อ่าน 4,240
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 15,779
หมวด Softskill อ่าน 4,549
หมวด Advance Leadership อ่าน 2,846
หมวด Advance Leadership อ่าน 2,424