โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 10 ตุลาคม 2561 3,364 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน / เทคนิคการใช้พลังงานสมองอย่างคุ้มค่า
25 ต.ค. 2561 อ่าน 1,651 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
25 ต.ค. 2561 อ่าน 3,130 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
25 ต.ค. 2561 อ่าน 6,698 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,467 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 4,690 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
26 ธ.ค. 2561 อ่าน 1,738 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
รู้สึกไหมครับว่า ตกบ่ายเมื่อไหร่ เราเริ่มคิดงานไม่ค่อยออก แถมบางทียังเผลอหงุดหงิดกับงานและเพื่อนร่วมอยู่บ่อยครั้ง บางที อาจเป็นเพราะว่าในช่วงเวลานั้น สมองของเราเริ่มเหลือพลังงานสำรองน้อยเกินไปแล้ว สมองจึงต้องสลับการใช้สมองส่วนคิด ไปใช้สมองส่วนอารมณ์ที่ใช้พลังงานน้อยกว่าแทน ผลก็คือ งานเดิมก็ไม่เสร็จ แถมต้องมาหนักใจกับปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานเสียอีก จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถบริหารพลังงานของสมองเราได้ดีขึ้น สามารถเหลือพลังงาน เหลือพลังความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้การทำงานของเรามีความสุขและประสิทธิภาพไปได้ทั้งวัน
คิดว่า สมองของเรานั้นใช้พลังงานไปมากน้อยแค่ไหนในแต่ละวันครับ สมองของเรา มีน้ำหนักเพียง 2% น้ำหนักตัวของเรา แต่กลับต้องการพลังงานสูงถึง 20% ของพลังงานที่ร่างกายได้รับ ดังนั้นการที่สมองส่วนคิดของเราจะทำงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ หาวิธีการแก้ปัญหา และวางแผนงานให้ประสบความสำเร็จได้นั้น สมองของเราต้องได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ และสามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานของสมองไปกับเรื่องที่ไม่จำเป็น
คำถามคือ เราคิดว่า ตัวเราเองสามารถใช้งานสมองของเราได้ถูกต้องแค่ไหน แล้วเราจะมีวิธีการทำงานที่สร้างประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้สมองของเราได้อย่างไร ต่อไปนี้ จะเป็นวิธีการบางส่วนสำหรับการถนอมพลังงานที่สำคัญ เอาไว้ให้พอเพียงสำหรับการสร้างความคิดใหม่ ๆ ของเรา
1. การจดจ่อกับงานทีละอย่าง
ด้วยการจัดลำดับความสำคัญ แม้ว่าจะมีงานในมือมากมายแค่ไหนก็ตาม แต่เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า สมองส่วนคิดของเรามีพื้นที่ที่จำกัด การที่เราใส่ความคิดเกี่ยวกับงานหลายๆ อย่างเข้าไปพร้อมกัน นอกจากจะทำให้ความคิดของเราสับสนได้ง่ายแล้ว ยังเป็นการเร่งอัตราการใช้พลังงานของสมองเราให้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลายๆ ครั้ง สมองของเรารู้สึกล้า ก่อนที่จะได้คำตอบเสียอีก ดังนั้นก่อนการทำงานในแต่ละวันหรือแต่ละสัปดาห์ ควรเริ่มต้นด้วยการจัดลำดับความสำคัญของงานให้เหมาะสม เพราะตัวกระบวนการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้พลังงานสูงมากเช่นกัน จึงต้องรีบทำเรื่องนี้ก่อน ตั้งแต่ในช่วงที่สมองของเรายังสดใสและมีพลังงานเหลือเฟือ
2. ลดสิ่งรบกวนในขณะใช้ความคิด
สมองของเราไวมากต่อการรับรู้สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เนื่องจากเป็นสัญชาตญาณระแวงภัย เพื่อการเอาตัวรอดที่ติดตัวเรามาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เราจึงมักเสียการจดจ่อกับสิ่งที่คิดอยู่ ไปกับสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเราอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเสียงรบกวนจากภายนอก ภาพข่าวหรือราคาหุ้นบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ สัญญาณกระพริบเตือนของอีเมล์ หรือโปรแกรมสนทนาต่างๆ อย่าง Line, Facebook สิ่งต่างๆ เหล่านี้พร้อมจะเข้ามาช่วงชิงความสนใจจากสมองของเราอยู่เสมอ ซึ่งการที่เราจะพยายามหักห้าม ยับยั้ง หรือตัดความสนใจไปกับเรื่องเหล่านี้ต้องใช้พลังงานอย่างมาก แถมเมื่อเราจะกลับมาสนใจและมีสมาธิกับงานเดิมได้อย่างเต็มที่อีกครั้ง ต้องใช้เวลาถึง 25 นาที เรียกว่าเสียทั้งพลังงานและเวลาเลยทีเดียว เราจึงควรอยู่ห่างๆ และตัดช่องทางสิ่งรบกวนเหล่านี้ไปสักระยะ อย่างน้อยจนกว่าเราจะสามารถคิดและวางแผนงานที่สำคัญกว่าในมือเราให้เสร็จเรียบร้อย
3 เอาทุกเรื่องออกจากสมอง
หลาย ๆ ครั้งที่เราพยายามคิดและจินตนาการถึงสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในหัว รอให้มันตกผลึก จนถึงขั้นสุดท้าย แล้วค่อยเขียนมันออกมา แต่กลายเป็นว่าความคิดกลับเริ่มฟุ้งซ่าน หรือเผลอไปคิดเรื่องอื่น ๆ อยู่บ่อย หลาย ๆ ครั้ง เราบังเอิญเกิดความคิดดีๆ ความคิดแปลกใหม่ที่น่าสนใจ ระหว่างที่อยู่ในห้องน้ำ ระหว่างขับรถ หรืออ่านหนังสือเบาสมอง แล้วคิดว่า อีกเดี๋ยวค่อยกลับไปทำ แล้วพอจะใช้กลับคิดไม่ออก เป็นเพราะว่า กิจกรรมการคิดและจินตนาการเหล่านี้ สมองต้องใช้พลังงานจำนวนหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ในการสร้างภาพสิ่งที่เราคิดให้คงอยู่ในหัวเรา วิธีการที่ดีกว่าในการช่วยให้สมองของเราประหยัดพลังงานไว้ได้ คือการจดบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านั้นออกมา ซึ่งการจดหรือวาดออกมาให้เรามองเห็น สมองสามารถใช้พลังงานน้อยกว่าในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว ทำให้เรามีพลังงานเหลือมากพอที่จะคิดต่อยอดหรือเชื่อมโยงสิ่งที่เราคิดให้พัฒนาขึ้นไปจนได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการ
4. สมองชอบภาพวาดมากกว่าตัวอักษร
เนื่องจากสมองของเราคุ้นเคยด้านการวาดภาพมาตั้งแต่สมัยมนุษย์ถ้ำ ซึ่งกินเวลานับล้านปี แต่เราเพิ่งจะมีตัวหนังสือมาใช้กันเมื่อไม่กี่พันปีที่ผ่านมา ทำให้สมองของเรามีวิวัฒนาการในการทำความเข้าใจกับรูปภาพโดยใช้พลังงาน ที่น้อยกว่าการทำความเข้าใจกับตัวหนังสือ โดยเฉพาะถ้าเป็นภาพหยาบๆ ที่ไม่มีรายละเอียดมากนัก ยิ่งทำให้สมองชอบ สนใจ และจดจำได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการที่เราจะจดบันทึกหรือสื่อสาร ให้ตัวเราเองและคนอื่นๆ ให้สามารถเข้าใจและเกิดการจดจำในเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร ควรใช้รูปภาพ วัตถุ หรือโมเดลต่างๆ เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร มากกว่าการใช้ตัวหนังสือเพียงอย่างเดียว เราจะได้ประหยัดพลังงานของสมองไว้ใช้เรื่องอื่น ๆ ได้
5. การตั้งคำถามเพื่อหาทางออก
อาจมีหลายๆ ครั้งที่เกิดปัญหา หรือมีสถานการณ์ที่ไม่ได้ดั่งใจ เป็นภาวะที่วิธีการเดิม ๆ ของเราใช้ไม่ได้ผล เราอาจรู้สึกว่าความคิดมันเริ่มฟุ้งซ่าน จับต้นชนปลายไม่ถูก เป็นช่วงที่เราเกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ มากมาย และมักเป็นอารมณ์ในเชิงลบ ในสถานการณ์เช่นนี้ จะเป็นช่วงที่เราใช้สมองส่วนอารมณ์อย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่า สมองส่วนอารมณ์จะใช้พลังงานน้อยกว่าสมองส่วนคิด แต่ผลลัพธ์ที่ได้จากสมองส่วนอารมณ์มักเป็นประสบการณ์เดิมๆ วิธีการเก่าๆ ซึ่งไม่ตอบโจทย์ต่อปัญหาในปัจจุบัน ดังนั้นการใช้สมองส่วนอารมณ์ไปเรื่อยๆ จึงเท่ากับการเผาผลาญพลังงานทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ วิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้เราสามารถหลุดจากการใช้สมองส่วนอารมณ์ มาใช้สมองส่วนคิด คือการตั้งคำถาม การใช้การตั้งคำถามกับตัวเราหรือคนอื่นๆ ก็ตาม เป็นการทำให้สมองของเราเกิดกระบวนการคิดโดยอัตโนมัติ ทำให้สมองของเรากลับมาจดจ่อกับการหาคำตอบให้กับคำถามที่ได้รับ และควรหลีกเลี่ยงคำถามเกี่ยวกับสาเหตุ อย่าง “ทำไมถึงไม่สำเร็จ” เพราะอาจทำให้เราไปติดกับดักของอารมณ์อีกครั้ง หันมาถามหาทางออกจากปัญหา อย่าง “ทำอร็จ” เพื่อทุ่มเทพลังงานทั้งหมดไปที่เป้าหมายของเรา
เพียงเท่านี้ เราทุกคนก็จะสามารถบริหารจัดการพลังงานเพื่อให้สมองกลายเป็นสมองประหยัดไฟเบอร์ 5 ทำให้สมองของเราและตัวเราเองแสดงศักยภาพออกมาได้มากกว่าเดิม
25 ต.ค. 2561 อ่าน 1,651 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
25 ต.ค. 2561 อ่าน 3,130 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
25 ต.ค. 2561 อ่าน 6,698 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 2,467 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
24 ธ.ค. 2561 อ่าน 4,690 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
26 ธ.ค. 2561 อ่าน 1,738 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,956
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 8,286
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,056
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,256
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,118
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,146
หมวด Thinking อ่าน 8,886
หมวด Thinking อ่าน 3,742