โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 11 มกราคม 2566 100 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การบริหารโครงการ / เทคนิคบริหารโครงการ EP:15
11 ม.ค. 2566 อ่าน 100 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 107 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 96 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 108 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 100 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 118 หมวด การบริหารโครงการ
เทคนิคบริหารโครงการ EP:15
====================
"ถ้าเสร็จได้เร็วก็เริ่มงานต่อไปเลยไม่ต้องรอตาม schedule"
"ทำไมต้องรอพรุ่งนี้โทรตามตอนนี้เลย"
"ดูจากความคืบหน้าแล้วผมว่าเราเร่งให้เร็วกว่านี้ได้อีก"
Sense of Speed
อีกหนึ่งคุณสมบัติของผู้บริหารโครงการสายบี้ (Progress) ซึ่งมีความสามารถพิเศษคือ มักจะมองหา Area ของงานในโครงการที่ดูแล้วมีโอกาสเร่งสปีดงานจากที่เป็นอยู่ปัจจุบันได้เสมอ ลูกน้องที่เจอผู้บริหารโครงการแบบนี้คงรู้สึกเหนื่อยไปตามๆกัน เพราะต้องวิ่งตามอย่างตื่นตัวอยู่ตลอด วันนึงเปลี่ยนเกียร์หลายรอบ เปลี่ยนเส้นทางกระทันหันก็บ่อย แต่ผลที่ได้ตามมาคือความคืบหน้าของโครงการจะ Ahead the Plan อยู่เสมอ
เหตุผลที่ผู้บริหารโครงการประเภทนี้พยายามจะเร่ง Progress งานหรือ Speed up ในจุดที่คิดว่าทำได้ .... เท่าที่ผมสัมผัสจากมือเก๋าๆมามีอยู่ 5 เหตุผลครับ
1.Price : เวลามีราคา
ผู้บริหารโครงการประเภทนี้มองว่าทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาทีคือต้นทุนที่กำลังถูกใช้ไปทั้งค่าแรงคน ค่าชั่วโมงเครื่องจักร เงินเดือนที่ต้องจ่าย ค่าเสียโอกาสทางการขายหรือการใช้ประโยชน์จากโครงการ ... หากทำให้โครงการจบได้เร็วเงินก็เหลือ ค่าแรงต่างๆก็เซฟไปกลายเป็นกำไรส่วนต่าง แต่หากจบช้าก็ต้องเสียค่าปรับทำให้ขาดทุนได้
---------
2.Uncertainty : โครงการคือการทำงานบนความไม่แน่นอน
การบริหารโครงการเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เยอะ ซึ่งก็มีทั้งปัจจัยที่คาดเดาได้เช่น ค่าแรงสูงหาคนยาก และปัจจัยที่คาดเดาไม่ได้ เช่น อุบัติเหตุ ความผันผวนของราคาวัสดุ ..... ดังนั้นอะไรที่เร่งได้เร่งได้ต้องตุนเอาไว้ก่อน ยิ่งช่วงเหตุการณ์ปกติยิ่งต้องเร่งให้มากในทุกๆ Area ที่พอจะเร่งสปีดได้
----------
3.Awakening : สร้างบรรยากาศตื่นตัวให้ทีมงาน
โครงการที่ผู้นำมีความตื่นตัว กระตือรือร้น ก็จะส่งพลังเหล่านี้ลงสู่ทีมงานด้วยเช่นกัน ทำให้บรรยากาศของโครงการมี Energy ทั้งเชิงบวกคือการแข่งขัน พร้อมลุยปัญหา แต่ก็มีเชิงลบด้วยเช่น ความเหนื่อยล้า การกล่าวโทษ กล่าวอ้างกัน ซึ่งผู้บริหารโครงการก็ต้องใช้ Interpersonal Skill เข้าไปเสริมด้วย
---------
4.Economic of Speed : งานจบเร็วก็รับงานเพิ่มได้มากขึ้น
หนึ่งในความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ที่องค์กรชั้นนำมีคือ "ความเร็วในการส่งมอบ" เพราะเจ้าของงานหรือลูกค้าเองก็อยากนำโครงการไปรันธุรกิจของเขาต่อ ยิ่งเสร็จเร็วก็ยิ่งใช้งานได้เร็ว ทีมบริหารโครงการเองก็ไปขึ้นโครงการใหม่ต่อได้ แถมยังทำให้การหมุนรอบของทรัพยากรได้หลายรอบเกิดเป็น Economic of Scale ได้อีก
----------
5.Profit Sharing : ได้ส่วนแบ่งกำไรมากขึ้น
หลายองค์กรใช้กลยุทธ์ให้ส่วนแบ่งแบ่งกำไรกับทีมบริหารโครงการ ดังนั้นหากบี้ให้โครงการจบได้เร็วเท่าไร ผลกำไรก็เทิร์นกลับมาเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งเป็นเม็ดเงินที่ผู้บริหารองค์กรยินดีที่จะมอบให้กับทีมบริหารโครงการที่มี Performance แบบนี้
จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า Sense of Speed มีประโยชน์หลายเรื่อง แต่ขณะเดียวกันก็ต้องไม่ละเลย Sense of Quality ด้วยเช่นกัน เพราะหากงานเร็ว แต่ด้อยคุณภาพ ผลที่ตามมาไม่ใช่แค่เสียเงินเสียเวลามาแก้ไขซ่อมงาน แต่ยังลด "ความน่าเชื่อถือ" ด้วยเช่นกัน
11 ม.ค. 2566 อ่าน 100 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 107 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 96 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 108 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 100 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 118 หมวด การบริหารโครงการ
หมวด Coaching อ่าน 2,726
หมวด Coaching อ่าน 4,188
หมวด Leadership อ่าน 3,432
หมวด Leadership อ่าน 5,787
หมวด Leadership อ่าน 4,959
หมวด Leadership อ่าน 3,375
หมวด Leadership อ่าน 14,235
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,038