โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 11 มกราคม 2566 54 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การบริหารโครงการ / เทคนิคบริหารโครงการ EP:16
11 ม.ค. 2566 อ่าน 59 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 49 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 55 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 54 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 67 หมวด การบริหารโครงการ
3 ก.ย. 2561 อ่าน 2,648 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เทคนิคบริหารโครงการ EP:16
====================
"ราคาวัสดุเปลี่ยนแปลงทุกวัน จะซื้อล๊อตเดียวเลยหรือจะทะยอยซื้อ เผื่อราคาลงดี?"
"ถ้าจ้างคนเพิ่ม จะเสี่ยงตรงที่ถ้างานไม่ต่อเนื่องกลายเป็นต้องแบกต้นทุนเพิ่ม"
"ลูกน้องทำผิดกฏ โทษคือต้องถูกพักงาน แต่งานก็เร่ง...จะตัดสินใจอย่างไรดี?"
"งานไม่เรียบร้อยหลายจุด ถ้าแก้คงใช้เวลาหลายวัน ทางลูกค้าก็อยากให้รีบส่งมอบ เอาไงดี?"
ผู้บริหารโครงการที่มีประสบการณ์น่าจะคุ้นเคยกับสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจเหล่านี้ บางเรื่องไม่ซับซ้อนมาก รู้ผลลัพธ์อยู่แล้วก็ตัดสินใจได้ง่าย แต่บางสถานการณ์ที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อนมักจะทำให้เกิดความกระอักกระอ่วนใจ (Dilemma) แต่ไม่ว่าจะสถานการณ์ใด...ท้ายที่สุดก็ต้องตัดสินใจอยู่ดี เพราะผลกระทบของการไม่ตัดสินใจในบางครั้งก็อาจจะรุนแรงกว่าการตัดสินใจผิดพลาด ความสามารถในการตัดสินใจจึงเป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่สำคัญของผู้บริหารโครงการในฐานะผู้นำ
----------
แต่ก็มีหลายครั้งที่ไม่กล้าตัดสินใจจากหลายสาเหตุเช่น
• เกรงว่าคนอื่นจะไม่เห็นด้วย
• ไม่อยากรับผิดชอบหากตัดสินใจผิด
• อยากให้คนอื่นตัดสินใจแทนมากกว่า
• กลัวตัดสินใจผิด
• กังวลไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร
แต่ผู้บริหารโครงการที่มีประสบการณ์หลายท่านล้วนเคยผ่านความรู้สึกแบบนี้มาแล้ว ซึ่งก็ทราบนี้ว่ายังไงก็หลีกเลี่ยงการตัดสินใจไม่ได้ สู้ตัดสินใจไปเลยแล้วค่อยไปดูว่าผลจะออกมาอย่างไร (แต่ก็ผ่านการคิดอย่างรอบคอบที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วเช่นกัน) หลายครั้งที่ตัดสินใจผิดพลาดก็เป็นประสบการณ์ เป็นค่าเล่าเรียนกันไป ถูกหรือแพงก็ตามผลกระทบที่เกิดตามมา
--------
จากประสบการณ์ทั้งที่เคยเป็นผู้บริหารโครงการและเป็นวิทยากรบรรยายโดยอ้างอิงหลักการ สถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจมี 3 รูปแบบ คือ
1.ตัดสินใจในสภาวะที่แน่นอน
ส่วนใหญ่เป็นการตัดสินใจเรื่องที่มีความเสี่ยงต่ำ ควบคุมปัจจัยต่างๆได้และคาดเดาผลลัพธ์ได้ว่าจะออกมาเป็นอย่างไร การตัดสินในสภาวะนี้จะเลือกทางเลือกที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุด ประหยัดสุด กำไรมากสุด คุ้มค่าสุด เช่น
• เพิ่มเวลาทำงานพิเศษ (OT และวันหยุด) ในช่วงที่เร่งงาน ซึ่งรู้ผลลัพธ์ว่าต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม การประเมินคือ จะใช้แรงงานเท่าไร และระยะเวลาแค่ไหนจึงจะคุ้มค่าและเพียงพอกับแผนงาน
• เสนอราคางานที่ไม่มีคู่แข่ง ซึ่งมีโอกาสได้งานแน่ๆ แต่ก็ต้องต่อรองมูลค่างานกับเจ้าของงานให้ได้สูงสุด
2.ตัดสินใจในสภาวะที่มีความเสี่ยง
เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่มีโอกาสผิดพลาดสูงกว่าปกติ แต่ก็เป็นความผิดพลาดที่พอคาดเดาได้ว่าอาจจะเกิดขึ้น จึงต้องมีหลายๆทางเลือกแล้วดูความน่าจะเป็นของแต่ละทางเลือก โดยใช้ประสบการณ์ที่เคยผ่านเรื่องแบบนี้มาแล้ว ประกอบการตัดสินใจ เช่น
• การสั่ง Stock Materials ในช่วงราคาผันผวน ซึ่งมีความเสี่ยงตรงที่ถ้าช่วงราคาลงอาจขาดทุนได้
• การร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ใหม่ เจ้าของงานใหม่ มีความเสี่ยงตรงนี้ไม่รู้ว่าจะเข้ากันได้ดีแค่ไหน แต่ใช้ประสบการณ์คอยประเมินคำพูด พฤติกรรมว่าน่าไว้ใจหรือไม่
3.ตัดสินใจในสภาวะที่ไม่แน่นอน
เป็นการตัดสินใจที่ไม่ค่อยมีผู้บริหารโครงการท่านใดชอบ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีข้อมูลในอดีต คาดเดาอะไรแทบไม่ได้เลย มีตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้เกี่ยวข้องเยอะมาก เช่น
• ผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดในปัจจุบัน
• การบริหารโครงการในช่วงที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น สึนามิ น้ำท่วม
การตัดสินใจสถานการณ์เหล่านี้ต้องอาศัยสัญชาติญาณ (Intuition) บวกกับความเชื่อมั่นมาช่วย รวมถึงการมองในแง่ดีว่าผลลัพธ์น่าจะออกมาดี ผู้บริหารโครงการที่เก่งนอกจากประเมินสถานการณ์ในการตัดสินใจแล้ว ยังประเมินความสามารถทีมงานแล้วผ่องถ่ายกระจายอำนาจในการตัดสินใจลงไปให้ทีมงานด้วยเช่นกัน
11 ม.ค. 2566 อ่าน 59 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 49 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 55 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 54 หมวด การบริหารโครงการ
11 ม.ค. 2566 อ่าน 67 หมวด การบริหารโครงการ
30 มี.ค. 2564 อ่าน 2,493 หมวด การพัฒนาตนเอง
หมวด Coaching อ่าน 2,952
หมวด Coaching อ่าน 2,604
หมวด Coaching อ่าน 2,811
หมวด Leadership อ่าน 3,005
หมวด Leadership อ่าน 5,280
หมวด Leadership อ่าน 3,333
หมวด Leadership อ่าน 3,836
หมวด Leadership อ่าน 3,102