โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 5 พฤษภาคม 2564 792 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด ทั่วไป / เรามอบหมายให้ทีมงานไปวางแผนงานเองแต่ทีมงานกลับรอเราสั่ง
5 พ.ค. 2564 อ่าน 2,392 หมวด ทั่วไป
4 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,366 หมวด ทั่วไป
4 มิ.ย. 2564 อ่าน 653 หมวด ทั่วไป
15 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,468 หมวด ทั่วไป
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,032 หมวด ทั่วไป
6 ม.ค. 2565 อ่าน 383 หมวด ทั่วไป
"เคยไหมครับที่เราสั่งให้ทีมงานจัดพื้นที่หน้างานตามรูปแบบที่เราบอกแต่เขามีรูปแบบของเขาเอง จึงไม่ค่อยเต็มใจทำตามคำสั่ง"
อาการดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากความไม่ชัดเจนในวัตถุประสงค์ (Objective) กับวิธีการ (Method) ของการ"สั่งงาน"กับ"มอบหมายงาน"
บทบาทหนึ่งที่สำคัญของ #ผู้บริหารโครงการ คือการ Assign งานให้กับทีมงานเพื่อแบ่งเบาภาระของหัวหน้าและพัฒนาความสามารถของทีมงานผ่านการทำงานแทนหัวหน้า
วิธีการ Assign ที่เรามักใช้บ่อยๆคือ #การสั่งการ (Ordering) และ #การมอบหมายงาน (Delegation)
ทั้ง 2 วิธีมีความแตกต่างกันพอสมควร โดยผมขอสรุปเข้าใจง่ายๆดังนี้ครับ
1.สั่งการ = สั่งให้ทีมงานทำงานที่เป็นหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว
มอบหมาย = มอบหมายงานที่เป็นหน้าที่ของเราให้ทีมงานไปดำเนินการแทน
2.สั่งการ = หัวหน้าเป็นคนกำหนดวิธีการ,แผนงานให้
มอบหมาย = ให้อิสระทีมงานเป็นคนกำหนดวิธีการ,แผนงานเอง หรือกำหนดร่วมกัน (Brainstrom)
3.สั่งการ = อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่หัวหน้าเป็นหลัก
มอบหมาย = อำนาจการตัดสินใจอยู่ที่ทีมงานเป็นหลัก (ตามขอบเขตที่ตกลงร่วมกัน)
4.สั่งการ = มักจะเป็นงานที่ทีมงานเคยทำ ทำประจำอยู่แล้ว จึงไม่ต้องสอนหรือแนะนำอะไรมาก
มอบหมาย = ส่วนมากเป็นงานใหม่ งานที่ไม่เคยทำ จึงควรมีการสอนงาน ให้คำแนะนำ หรือโค้ชให้ทีมงานเกิดความเชื่อมั่นด้วย
5.สั่งการ = ทีมงานไม่สามารถปฏิเสธได้เพราะเป็นความรับผิดชอบเดิมของเขาอยู่แล้ว
มอบหมาย = ทีมงานอาจจะมีข้อต่อรองที่จะไม่รับงานโดยอาจมีเหตุผล (ข้ออ้าง) เช่น งานตัวเองเยอะอยู่แล้ว , ไม่เคยทำกลัวทำผิด
6.สั่งการ = อาจจะติดตามความคืบหน้าถี่หรือไม่ถี่ก็ได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของทีมงานและความมั่นใจของหัวหน้า
มอบหมาย = ควรมีการติดตามความคืบหน้าถี่ เนื่องจากอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่ายหรือทีมงานต้องการความช่วยเหลือบ่อย เพราะเป็นงานที่ยังไม่เคยทำมาก่อน
7.สั่งการ = มุ่งเน้นการทำงานให้เสร็จตามเป้าหมาย
มอบหมาย = มุ่งเน้นการเรียนรู้งาน พัฒนาตวามสามารถของทีมงานให้เติบโต
============================
#ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญระหว่างการ Assign
การสั่งการ
-------
- เป้าหมาย กำหนดเสร็จที่ชัดเจน
- ความไว้วางใจระหว่างหัวหน้ากับทีมงาน (Trust)
- ความสามารถ ประสบการณ์ของทีมงาน
- ความเข้าใจตรงกันในงานที่สั่งทั้งรายละเอียด วิธีการ ทรัพยากรที่ต้องใช้
- ความเร่งด่วนของงานที่สั่งเพื่อเสริมกำลังคน อุปกรณ์ วัสดุอย่างเพัยงพอ
การมอบหมายงาน
------------
- ความสามารถและความเต็มใจของทีมงาน
- Workload ที่มีอยู่ ณ ตอนนั้นของทีมงาน
- ความยากง่ายของงานเพื่อการสอนงาน
- อำนาจในการตัดสินใจที่ทีมงานสามารถทำได้ (Authority)
- กำหนดการติดตามความคืบหน้าที่ชัดเจน
- เวลาของหัวหน้าที่ Standby สำหรับสอนงาน consult และ โค้ชได้
- รับฟัง สังเกตคำพูด อากัปกิริยาของทีมงานอย่างเข้าอกเข้าใจ (Empathy)
===========================
#ตัวอย่างงานที่ควรใช้การสั่งการ
----------------------
- การตรวจเช็ค ตรวจสอบปริมาณวัสดุ คุณภาพการทำงาน
- งานเร่งด่วนต่างๆ เช่นอุบัติเหตุ , Overview หน้างานเพื่อต้อนรับบุคคลสำคัญ
- คำนวนปริมาณวัสดุต่างๆ (Cost Estimation)
- งานที่มีกฏระเบียบกำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้วเช่น งาน Safety
- การจัดเก็บ ทำความสะอาดพื้นที่หน้างานประจำวัน
- การแจกจ่ายงานประจำวันหรือตามแผนงานที่กำหนดไว้แล้ว
เป็นต้น
#ตัวอย่างงานที่เหมาะแก่การมอบหมาย
-------------------------
- หาวิธีการลด Cost ลดต้นทุน ลด Waste ในการใช้วัสดุ เครื่องจักร แรงงาน ค่าน้ำค่าไฟ อุปกรณ์สำนักงาน
- คิดวิธีการทำงานใหม่ๆเพื่อให้งานเร็วขึ้น
- พูดคุย เจรจา ต่อรองหาข้อสรุปกับ Suppliers , Subcontractor (ใน scope ที่ไม่ใหญ่เกินไป)
- จัดวาง layout พื้นที่หน้างาน stockyard ออฟฟิสให้สะดวกต่อการทำงาน
- การวางผังบุคลากร Manpower , การจัดตารางเครื่องจักร
เป็นต้น
==========================
#ผู้บริหารโครงการยุคใหม่ (Smart Project Manager) ควรเข้าใจในความเร่งด่วน ความสำคัญของงานที่มี
สามารถวิเคราะห์ Priority และแยกแยะได้ชัดเจน
งานใดควรใช้การสั่งการ(Ordering)
งานใดควรใช้การมอบหมาย(Delegation)
เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลกับทั้งตัวงานและการเรียนรู้และพัฒนาของทีมงาน
เพื่อสร้างการเติบโตให้พร้อมรับผิดชอบงาน(โครงการ)และตำแหน่งที่ท้าทายของทีมงาน(Career Path)
ในโลกอนาคตการแข่งขันที่ไม่แน่นอน คาดเดายาก (VUCA)
5 พ.ค. 2564 อ่าน 2,392 หมวด ทั่วไป
4 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,366 หมวด ทั่วไป
4 มิ.ย. 2564 อ่าน 653 หมวด ทั่วไป
15 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,468 หมวด ทั่วไป
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,032 หมวด ทั่วไป
6 ม.ค. 2565 อ่าน 383 หมวด ทั่วไป
หมวด Advance Leadership อ่าน 43
หมวด Coaching อ่าน 3,222
หมวด Leadership อ่าน 13,465
หมวด Leadership อ่าน 4,173
หมวด Coaching and Thinking อ่าน 2,895
หมวด Coaching and Thinking อ่าน 4,092
หมวด Sales and Marketing อ่าน 3,656
หมวด Sales and Marketing อ่าน 3,992