โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 20 สิงหาคม 2561 1,676 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด หัวหน้างานนักบริหาร / เรื่องที่ไม่ยากของหัวหน้างานมือใหม่ กับเก่งการงาน
21 ส.ค. 2561 อ่าน 946 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
21 ส.ค. 2561 อ่าน 2,309 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
22 ส.ค. 2561 อ่าน 14,671 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
23 ส.ค. 2561 อ่าน 12,398 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
7 ก.ย. 2561 อ่าน 20,676 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
10 ก.ย. 2561 อ่าน 1,264 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
จากบทความที่ได้อ่านมาแล้ว 2 ตอน มองเห็นกรอบและประโยชน์ที่ชัดเจนแล้ว ครั้งนี้มาลงรายละเอียด ของ 7 เก่งกันนะค่ะ ประเดิมด้วย เก่งที่ 1: เก่งการงาน จากหัวข้อก็บอกได้บ้างแล้วว่า การที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้านั้นต้องเคยเป็นคนทำงานเก่งมาก ทั้งด้านความรู้ทักษะในงานนั้น ความสามารถในการจัดการงานได้ตามเป้าหมาย ควบคู่มากับความขยัน ในการพัฒนาตนเอง องค์ประกอบของ เก่งการงาน มีดังนี้
1. งานประจำ
ประชุมทีมงาน (Meeting)
วางแผนงาน (Planning)
ทำงานตามแผนและติดตามผล (Doing&Follow Up)
แก้ไขและรวบรวมปัญหา (Problem Solving)
รายงานผลการทำงานต่อผู้บริหาร (Reporting)
2. งานพัฒนา
นำความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆมาพัฒนากระบวนการทำงานให้ง่ายและมีคุณภาพ
พัฒนาพนักงานให้มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลง
สร้างหรือร่วมกิจกรรมขององค์กรที่ไม่เกี่ยวกับงานบ้าง
สร้างค่านิยมร่วมกันในการเป็นทีมที่มีคุณภาพอย่างไม่เป็นทางการ
6 หลุมพรางสำคัญ ของหัวหน้ามือใหม่ คือ
1. ไม่รู้ความคาดหวัง(เป้าหมาย)ของผู้บริหารและองค์กรที่เกี่ยวกับงานที่ความรับผิดชอบ
2. ไม่รู้หน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งหัวหน้างานมือใหม่
3. ไม่รู้ตนเองว่ามีความสามารถระดับไหนกับงานที่รับผิดชอบ
4. ไม่รู้ว่าภารกิจใน 1 วันของหัวหน้างานมือใหม่ต้องทำอะไรบ้าง
5. ไม่รู้ว่าต้องวางตัวอย่างไรกับบทบาทหัวหน้างานมือใหม่
6. ไม่รู้ว่าต้องพัฒนาตนเองไปในทิศทางใด
3 เทคนิคสำคัญกับการพัฒนา ด้าน“เก่งการงาน”
1. เทคนิคการรู้จักความคาดหวัง (เป้าหมาย) เกี่ยวกับงานที่องค์กรมอบหมาย
2. เทคนิคการรู้จักตนเอง (ปัจจุบัน) ว่าอยู่ในระดับใดเมื่อเทียบกับเป้าหมาย
3. เทคนิคการรู้จักช่องว่าง (การพัฒนา) ด้วยการวางแผนการเปลี่ยนแปลง
เทคนิคการรู้จักความคาดหวัง (เป้าหมาย)
การที่เรารู้จักเป้าหมาย ปกติแล้วการได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งใหม่ ผลตอบแทนสูงขึ้น คิดได้ทันทีเลยว่าต้องมีภารกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน อย่าลังเลรอช้า ควรถามผู้บริหารที่สูงกว่าได้เลย ด้วยการใช้คำถาม 5 W 1 H กับภาพลักษณ์ใหม่ ดังนี้
คาดหวังให้เราทำอะไร หัวข้ออะไรที่สำคัญ (What)
สถานที่ในการทำงานเป็นที่ไหน ต้องมีการโยกย้ายหรือไม่ (Where)
กำหนดการในการทำงาน หรือพิจารณาผล มีระยะเวลาสั้นหรือยาว (When)
เหตุผลหลักในเลือก ว่าทำไมเลือกเราที่คิดว่าเหมาะสม (Why)
บุคคลใดบ้างที่เราต้องเกี่ยวข้องในการทำงาน (Who)
ทำอย่างไรจึงจะบรรลุภารกิจนี้ (How)
เทคนิคการรู้จักตนเอง (ปัจจุบัน) การที่เรารู้จักตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิตส่วนตัว และการทำงานด้วยการฝึกตอบคำถามด้วยความรู้สึกของตนเองดังนี้
จุดเด่นของเรา หรือสิ่งที่เพื่อนๆ ชื่นชมเรา บ่อยครั้ง คืออะไร
งานที่เราชอบ (สิ่งที่ทำแล้วมีความสุขแม้มีอุปสรรคก็ไม่หวั่น) คืองานอะไร
ความภูมิใจของเราในอดีต ที่เล่าแล้วมีความสุขทุกครั้ง คือ
1. ภูมิใจเรื่องอะไร
2. เรื่องราวเป็นอย่างไร
3. มีเหตุการณ์ที่ท้อแท้แล้วเราสามารถเอาชนะเหตุการณ์นั้นมาได้อย่างไร
เทคนิคการรู้จักช่องว่าง (การพัฒนา) ด้วยการวางแผนการเปลี่ยนแปลง
การที่เรารู้ว่าเรามีช่องว่างอะไรที่ต้องพัฒนาบ้าง เป็นการยอมรับศักยภาพของตนเองแต่ไม่ได้ยอมแพ้ เป็นการเริ่มต้นในการทำแผนการพัฒนาตนเองให้ยั่งยืนขึ้น ด้วยสไตล์ของเราเอง กับกระบวนการเปลี่ยนแปลง ด้วยการเป็นคนใหม่ในคนเดิมดังนี้
เขียนเป้าหมายที่ผู้บริหารหรือองค์กรคาดหวัง เช่น 7 เรื่อง
เขียนสิ่งที่ตนเองมีความสามารถอยู่ปัจจุบัน เช่น 4 เรื่อง
เขียนสิ่งที่ตนเองควรพัฒนาเพิ่มขึ้น เช่น 3 เรื่อง
เริ่มเทคนิค ด้วยการนำ เรื่องที่ควรพัฒนา 3 เรื่องจัดการดังนี้
1. เลือกความสำคัญ (ด้วยตารางสำคัญ-เร่งด่วน)
2. วางแผนการพัฒนา ด้วยการแปลงเป็นแผนงานประจำวัน
3. บันทึกสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากการฝึกฝน
4. เล่าให้บุคคลอื่นฟัง (เลือกที่เราเชื่อมั่น ไว้ใจ)
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว การพัฒนาให้เป็นคนที่เก่งงานนั้นไม่ยากอย่างที่คิดใช่ไหมค่ะ จะเห็นว่าผู้เขียนเน้นที่การพัฒนาตนเองตามที่ตนเองอยากพัฒนา เป็นเรื่องที่เราชอบ เราอยากทำ จะมีปัญหาในระหว่างการฝึกฝน เราก็จะไม่เลิกกลางทาง เพราะเราทำในสิ่งที่เราชอบและอยากทำ
การลงมือทำ มีคำตอบอยู่ 2 อย่าง คือ สำเร็จ และ...
ท่านลองตอบดูซิค่ะว่าจะใส่คำว่าอะไรในช่องว่าง (ท่านต้องตอบก่อนจริงๆนะค่ะ) ถึงจะเข้าใจประเด็นต่อไปด้วยความเข้าใจ ครั้งหน้าเราจะมาแลกเปลี่ยนกันในเรื่องราวกรณีศึกษาตัวอย่างของ เก่งการงาน เป็นเรื่องจริงที่มีน้องCoachee มาปรึกษาระหว่างการเข้าไปเป็นที่ปรึกษาในองค์กรแห่งหนึ่ง น่าจะเป็นเรื่องที่หลายท่านกังวล และติดอยู่เช่นกัน เพื่อเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น พบกันกับตอนหน้านะค่ะ
21 ส.ค. 2561 อ่าน 946 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
21 ส.ค. 2561 อ่าน 2,309 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
22 ส.ค. 2561 อ่าน 14,671 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
23 ส.ค. 2561 อ่าน 12,398 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
7 ก.ย. 2561 อ่าน 20,676 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
10 ก.ย. 2561 อ่าน 1,264 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
หมวด Leadership อ่าน 4,130
หมวด Leadership อ่าน 3,007
หมวด Leadership อ่าน 4,113
หมวด Softskill อ่าน 4,244
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 15,791
หมวด Softskill อ่าน 4,555
หมวด Advance Leadership อ่าน 2,849
หมวด Advance Leadership อ่าน 2,425