โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 13 กุมภาพันธ์ 2562 1,296 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน / แบตเตอรี่ของสมอง
1 เม.ย. 2562 อ่าน 1,572 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 2,016 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 5,246 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 2,112 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 3,744 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 1,668 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
เวลาพูดถึงเรื่องบริหารเวลา เราคงได้ผ่านตาการให้ความสำคัญของคำว่า เรื่องสำคัญ กับ เรื่องที่เร่งด่วน กันมาบ้างแล้ว ซึ่งแน่นอนว่า ในเชิงของเหตุผล ด้วยการวิเคราะห์จากสมองส่วนคิดของเรา เราก็ควรจะให้ความสำคัญกับ เรื่องที่สำคัญ มากกว่าจะเสียเวลาไปกับเรื่องเร่งด่วน เพราะเรื่องเร่งด่วนที่ไม่สำคัญเหล่านั้น เป็นตัวเผาผลาญเวลาและพลังงานของเราไปเป็นจำนวนมาก แต่กลับไม่สามารถทำให้เราสามารถเดินไปถึงเป้าหมายที่เราตั้งไว้ได้สักเท่าไหร่นัก
แต่ในชีวิตการทำงานทุกวันนี้ เราก็ยังต้องตกเป็นเหยื่อของเรื่องเร่งด่วนเหล่านั้นอยู่ดี สาเหตุหนึ่งก็เพราะว่า เรื่องเร่งด่วนมักส่งผลต่อสมองส่วนอารมณ์ มักส่งผลต่อความรู้สึกในความอยู่รอดของสมองเราได้มากกว่า เรื่องเร่งด่วน จึงมักเอาชนะ เรื่องสำคัญ ไปได้เกือบทุกที แล้วตัวเราเองยังเป็นเช่นนั้นอยู่หรือไม่
ซึ่งวิธีการบริหารจัดการเวลาในส่วนนี้ ก็คงต้องอาศัยความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของสมองส่วนคิด เพื่อทำการจัดลำดับความสำคัญและจัดสรรงานให้ถูกต้องมากขึ้น ต้องกระตุ้นให้สมองส่วนคิดของเราสร้างแรงจูงใจให้แก่สมองส่วนอารมณ์ได้มากพอ ที่จะเปลี่ยนสมองมาให้คุณค่าแก่ เรื่องสำคัญ มากกว่า เรื่องเร่งด่วน อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งเราอาจได้มาคุยประเด็นนี้โดยละเอียดอีกที
แต่อีกประเด็นหนึ่งที่ผมอยากแลกเปลี่ยนในวันนี้คือ แล้วสำหรับคนที่มีเวลาให้กับเรื่องที่สำคัญของตัวเราเองแล้วนั้น เราให้เวลาในช่วงไหนของวันแก่เรื่องที่สำคัญของเรา เช้า สาย บ่าย เย็น อย่างไหนคือเวลาที่เรามักใช้ทุ่มเทให้กับ เรื่องสำคัญ ในชิวิตเรา ที่เราต้องให้สำคัญกับเรื่องช่วงเวลา เพราะเวลาที่ต้องทำงานจริงๆ สมองส่วนคิดของเราอาจทำงานด้วยประสิทธิภาพที่ไม่เท่าเทียมกัน
เนื่องจากสมองส่วนคิดของเรานั้นนอกจากจะใช้พลังงานสูงแล้ว สมองส่วนคิดของเรายังมีขีดจำกัดของการใช้งาน นึกภาพคล้ายๆ กับระดับของแบตเตอรี่ในโทรศัพท์ของเรานั้นแหละครับ หลังจากที่เราได้นอนหลับพักผ่อนหรือเล่นกีฬา สมองส่วนคิดของเราจะถูกชาร์จจนเต็ม สมองของเราจะมีศักยภาพสูงสุด
ระดับของศักยภาพสมองของเรานั้น จะเริ่มร่อยหรอลงเรื่อยๆ เมื่อเราใช้สมองส่วนคิดไปกับการแก้ไข้ปัญหาและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ระหว่างวัน จนเมื่อถึงขีดสุดท้าย สมองส่วนคิดของเราก็จะเริ่มเกิดภาวะสมองล้า คิดอะไรไม่ค่อยออก เป็นระดับที่สมองของเราเรียกร้องการพักผ่อน เพื่อได้กลับไปสะสมพลังงานกลับมาให้่เต็มที่อีกครั้ง หลายๆ ครั้งที่เราเจอปัญหาในงานที่ยาก ปัญหาที่หนักสมองกว่าปกติ เราจึงอาจรู้สึกสมองตื้อ คิดอะไรไม่ค่อยออกไปได้ทั้งวัน
ดังนั้นแม้ว่าจะจะสัญญากับตัวเองว่าจะให้เวลากับเรื่องที่สำคัญในทุกๆ วันก็ตาม แต่ถ้าเราผัดผ่อนกับตัวเรา ด้วยการเอาเรื่องอื่นๆ มาทำก่อน แล้วเรื่องสำคัญๆ ไว้ค่อยทำทีหลัง บางทีในเวลานั้น สมองส่วนคิดของเรา ก็อาจไม่พร้อมที่จะแสดงศักยภาพ ต่อให้แบ่งเวลาไว้คิด แต่ตอนนั้นสมองเราก็อาจจะไม่อยากคิดอะไรแล้วก็ได้
การจัดลำดับความสำคัญ จึงต้องให้ความสำคัญทั้งในแง่ของระยะเวลา และช่วงเวลาที่มีศักยภาพของสมองอีกด้วย เรากำลังทำแบบนั้นอยู่หรือเปล่าครับ
แล้วพอหันกลับมาในองค์กร เรามักนัดประชุมเรื่องสำคัญๆ กันตอนไหนครับ หลายๆ ที่ชอบนัดประชุมช่วงสายๆ หรือเลื่อนไปจนถึงช่วงบ่าย แถมยังอาจลากไปถึงช่วงเย็น ด้วยเหตุผลว่าทุกคนจะได้มีเวลาจัดการธุระเร่งด่วนของตัวเองให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเข้าประชุม คิดว่าตอนนั้น สมองส่วนคิดของทุกคนจะเหลือศักยภาพสักกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมจะเป็นอย่างไร
และเมื่อสมองส่วนคิดของเราไม่ค่อยทำงาน ก็เป็นโอกาสอันดีที่สมองส่วนอารมณ์ของเราจะมาทำงานแทน ลองนึกภาพที่ทุกคนกำลังใช้อารมณ์ในการพูดคุยดูครับว่า มันน่าจะโกลาหลแค่ไหน แล้วความโกลาหลแบบนั้น เคยเกิดขึ้นกับทีมของเราและองค์กรของเราบ้างหรือไม่ บ่อยแค่ไหน
ตอนนี้ คิดว่าเราจะรักษาระดับแบตเตอรี่ของสมองส่วนคิดเราและเพื่อนร่วมงานให้เต็มที่ ก่อนจะเข้าประชุม หรือ ก่อนจะดำเนินการเรื่องสำคัญต่อชีวิต และการทำงานของเราอย่างไรบ้างครับ
1 เม.ย. 2562 อ่าน 1,572 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 2,016 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 5,246 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 2,112 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 3,744 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 1,668 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,952
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 8,112
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,053
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,254
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,112
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,144
หมวด Thinking อ่าน 8,701
หมวด Thinking อ่าน 3,730