โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 30 สิงหาคม 2561 2,465 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด สุขภาพกับการทำงาน / โรคจากพฤติกรรม
30 ส.ค. 2561 อ่าน 2,791 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
3 ก.ย. 2561 อ่าน 2,768 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
6 ก.ย. 2561 อ่าน 3,588 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
6 ก.ย. 2561 อ่าน 7,064 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
6 ก.ย. 2561 อ่าน 2,174 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
10 ก.ย. 2561 อ่าน 7,836 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
ทุกวันนี้มีโรคต่างๆ เกิดขึ้นมามากมาย ผมเองในแต่ละวันก็ต้องให้บริการการตรวจรักษาทั้งโรคที่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ และโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ที่น่าประหลาดใจอย่างหนึ่งก็คือ คนไข้ของผมไม่เคยมีทีท่าว่าจะมีปริมาณลดลงเลย ไม่ว่าผมจะมียาดีๆ หรือยาแพงๆ เท่าไหร่ก็ตาม รักษาไปรักษามาปริมาณคนไข้กลับเพิ่มขึ้นเสียด้วยซ้ำ หลายคนบอกว่าในเมื่อเรามีวิวัฒนาการทางการรักษาเพิ่มมากขึ้น มียาดีๆ ยาใหม่ๆ ผลิตเข้ามาป้อนความต้องการของตลาดคนขี้โรคอย่างเราๆ ท่านๆ อย่างมากมาย คนไข้ก็ต้องมีอายุยืนยาวมากขึ้นเป็นธรรมดา คงไม่มีใครยอมตายง่ายๆ หรอกจริงไหมครับ ดังนั้นพอคนเราอายุมากขึ้นโรคภัยมันก็ย่อมมากขึ้นเป็นเงาตามตัวเท่านั้นเอง แต่ในความเป็นจริงมันมีสาเหตุอยู่แค่นี้จริงๆ หรือเปล่านะ
เราน่าจะพอทราบกันอยู่บ้างแล้วว่า ไอ้เจ้าโรคที่อยู่อันดับต้นๆ ของสังคมอย่างประเทศไทยเราเนี่ย มันเป็น โรคจากพฤติกรรม ของเราเองไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เรียกง่ายๆ ว่าเป็นโรคของการไม่ดูแลตัวเองกันเสียเป็นส่วนใหญ่ พอดูแลตัวเองกันไม่ไหว ก็ต้องยกมาให้เป็นหน้าที่หมออย่างพวกผมช่วยดูแลแทน ซึ่งดูแนวโน้มของการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยในโรคกลุ่มนี้แล้ว หมออย่างพวกผมคงจะยังไม่ตกงานกันง่ายๆ ไปอีกนานเลยทีเดียว
การรักษา โรคจากพฤติกรรมเหล่านี้ มันไม่ใช่การรักษาโรคอย่างเดียว มันต้องรักษาสาเหตุของโรคด้วย นั่นก็คือการรักษาพฤติกรรมที่ผิดๆ ของเหล่าคนไข้ที่น่ารักของเราด้วย ผมจึงต้องเพิ่มโปรโมชั่น ซื้อหนึ่งแถมหนึ่ง ให้ยาแถมความรู้กันไปด้วยในการรักษาโรคแต่ละครั้ง ซึ่งนอกจากหมอตัวเล็กๆ อย่างพวกผมแล้ว ทางผู้ใหญ่ในกระทรวงก็ให้ความสำคัญเช่นเดียวกัน พวกเรามีโครงการรณรงค์การให้ความรู้ เกี่ยวกับโรคต่างๆ มากมาย มีหลากหลายรูปแบบการรณรงค์ทั้งใบปลิว แผ่นพับ ออกอากาศทางโทรทัศน์กันอีกหลายต่อหลายครั้ง นอกจากนี้แล้วพี่ๆ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่นๆ ที่ไม่ใช่หมอ ทั้งพยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือชาวบ้านอย่างๆ พี่ๆ อสม. ที่มีจิตอาสาและจิตใจที่ดีงามทุกคนก็ช่วยกันไปเผยแพร่ความรู้ในเรื่องโรคและการดูแลสุขภาพ แก่พวกชาวบ้านกันถึงเรื่อนชานเลยทีเดียว จากชาวบ้านที่ไม่รู้ ก็เริ่มจะมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคที่เขาเป็นเพิ่มขึ้น ซึ่งดูเหมือนพวกเราจะทำสำเร็จ
ตอนนี้เวลาผมถามคนไข้แต่ละคนว่าทราบไหมว่าเขาเป็นโรคอะไร เขาควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรทุกคนเริ่มตอบได้ เผลอๆ บางคนไปหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต เพราะตอนนี้พวกเรามีอาจารย์กูเกิ้ลเป็นอาจารย์ใหญ่ อยากรู้เรื่องอะไร กดๆ คลิกๆ ไม่กี่ทีความรู้ต่างๆ ก็พลั่งพลูมามากมาย บางครั้งยังมีมาถกเถียงกับผมอีกว่าที่อ่านมาไม่ใช่แบบที่หมอสอน หมอๆ และเจ้าหน้าที่ทุกคนก็ดีใจว่าสิ่งที่เราทำมันเกิดผลแล้ว คนไข้ของเราต่างมีมีความรู้เพิ่มกันถ้วนหน้า ไชโย
แต่พอหันกลับมาดูอีกทีก็จะพบว่า คนไข้ของผมเองก็ยังไม่ได้ลดลง เพราะอย่างที่คุณเองก็รู้ แม้จะมีความรู้มากมายสักเท่าไหร่ก็ตาม แต่ถ้าเราไม่ทำ มันก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด เอาง่ายๆ พวกหมอเราเองนี่แหละตัวดี มีความรู้และความเข้าใจเรื่องโรคกันเป็นอย่างดี แต่หมอเองก็เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงกันถ้วนหน้า แถมหัวใจวายไปสู่สุขติกันอีกหลายท่าน ดังนั้น ปัญหาจริงๆ แล้วของโรคจากพฤติกรรม อาจไม่ใช่เรื่องของความรู้อย่างที่เราเข้าใจกันแต่เพียงอย่างเดียว แต่มันเป็นปัญหาของความคิดที่จะทำเสียมากกว่า อาจจะเข้าทำนองที่ว่า ความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด ดังนั้นเราลองถามตัวเราเองกันดูบ้างหรือยังว่า ตอนนี้เราอยากจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพของเรากันจริงๆ จังๆ แล้วหรือยัง ก่อนที่เราจะต้องต้องอยู่ในภาวะที่ต้องถูกบังคับให้ต้องเปลี่ยนแปลงอาจจะโดยหมอ หรือคนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ตัวเรา
30 ส.ค. 2561 อ่าน 2,791 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
3 ก.ย. 2561 อ่าน 2,768 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
6 ก.ย. 2561 อ่าน 3,588 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
6 ก.ย. 2561 อ่าน 7,064 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
6 ก.ย. 2561 อ่าน 2,174 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
10 ก.ย. 2561 อ่าน 7,836 หมวด สุขภาพกับการทำงาน
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 14,446
หมวด Advance Coaching อ่าน 1,260
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,196
หมวด Softskill อ่าน 2,784
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,351
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 97
หมวด Coaching อ่าน 4,295
หมวด Leadership อ่าน 3,437