โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 10 กันยายน 2561 3,268 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ / 10 เครื่องมือการจัดการเชิงกลยุทธ์
13 ก.ย. 2561 อ่าน 39,070 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
13 ก.ย. 2561 อ่าน 4,784 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
19 ก.ย. 2561 อ่าน 7,056 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2 ต.ค. 2561 อ่าน 6,327 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2 ต.ค. 2561 อ่าน 77,740 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
10 ต.ค. 2561 อ่าน 19,731 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เครื่องมือการพัฒนา หมายถึง วิธีการที่ใช้พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติงานของบุคลากร ให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้นตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ตามความเหมาะสมของลักษณะงานและเป้าหมายขององค์กร
10 เครื่องมือที่มักใช้กัน ได้แก่
1. การฝึกอบรม (Training) :
กระบวนการที่จะช่วยส่งเสริมและเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและความสามารถในการทำงานของพนักงานให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีขึ้น
2. การฝึกอบรมในขณะทำงาน (OJT: On The Job Training) :
การเพิ่มพูนทักษะในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผลและเกิดการเรียนรู้และฝึกฝนโดยทันที ในขณะที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยกัน
3. การสอนงาน (Coaching) :
การดึงศักยภาพของทีมงานโดยการใช้คำถามและกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง มีวิธีการปฏิบัติด้วยตัวเอง ตาม Style ของตัวเอง
4. การเป็นพี่เลี้ยง (Mentioning) :
มุ่งเน้นที่เส้นทางในสายอาชีพ โดยพี่เลี้ยงจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงานนั้น คอยชี้แนะและกำหนดแนวทางการพัฒนาให้กับพนักงาน
5. การให้คำปรึกษาแนะนำ (Consulting) :
การสร้างแนวคิดและวิธีการที่เหมาะสมในฐานะที่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ มาก่อน เพื่อให้ง่ายและรวดเร็วในการนำไปปรับใช้ได้ทันที โดยไม่ต้องทดลองด้วยตัวเอง
6. การหมุนเวียนเปลี่ยนงาน (Job Rotation) :
การพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถในด้านอื่นๆ เพิ่มเติมทำให้สามารถทดแทนกันได้ในทีมงานของตัวเอง อีกทั้งเตรียมตัวในการเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ในอนาคต
7. การเพิ่มคุณค่าในงาน (Job Enrichment) :
การเน้นให้การปฏิบัติงานมีคุณภาพที่สูงขึ้น มีคุณค่ามากกว่าการส่งมอบหมายตามปกติ เป็นการกระตุ้นให้พนักงานพัฒนาขีดความสามารถของตัวเองเพิ่มขึ้น
8. การเพิ่มปริมาณงาน (Job Enlargement) :
การทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในด้านปริมาณและระยะเวลาที่จำกัด เพื่อพัฒนาความสามารถด้านความเร็วและการรองรับปัญหาที่เกิดขึ้น จากงานที่เพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน
9. การฝึกงานและทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ (Counterpart) :
กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในการใช้ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวอย่าง สร้างความคุ้นเคยกับการทำงานที่มีคุณภาพ ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนตัวเองตามแบบอย่างที่ยึดถือได้ง่ายขึ้น
10. การให้ดูงานนอกสถานที่ (Visiting) :
การเรียนรู้กับความสำเร็จของผู้อื่น ทำให้พนักงานเห็นภาพที่ชัดเจนมีแรงบันดาลใจในการทำมาปรับปรุงกับที่ทำงานของตัวเอง เกิดความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
13 ก.ย. 2561 อ่าน 39,070 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
13 ก.ย. 2561 อ่าน 4,784 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
19 ก.ย. 2561 อ่าน 7,056 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2 ต.ค. 2561 อ่าน 6,327 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2 ต.ค. 2561 อ่าน 77,740 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
10 ต.ค. 2561 อ่าน 19,731 หมวด การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
หมวด Management and Productivity อ่าน 7,009
หมวด Management and Productivity อ่าน 2,461
หมวด Management and Productivity อ่าน 3,660
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,839
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,285
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 8,967