โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 24 ธันวาคม 2561 4,884 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน / 5 ปัจจัยของความกลัว
26 ธ.ค. 2561 อ่าน 1,797 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
13 ก.พ. 2562 อ่าน 1,352 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 1,647 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 2,082 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 5,542 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 2,206 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
“ปัจจัยแห่งข้อจำกัด”
มีสิ่งที่เรากลัวกันบ้างไหมครับ
เรากลัวอะไรกันบ้าง แต่ละคนคงมีสิ่งที่กลัวทั้งที่เหมือนและไม่เหมือนกัน
และปฏิกิริยาของเรา เวลาเจอสิ่งที่กลัวเป็นอย่างไรครับ
วิ่งหนีอย่างรวดเร็ว (Flight) ตีกันให้แพ้ชนะกันไปข้าง (Fight) หรือนิ่งสนิทเป็นหินที่ถูกสาป (Freeze)
เดี๋ยวนี้ อาจยังมีการเสแสร้ง ตีเนียน เพื่อเอาตัวรอด (Fake) ด้วยอีกแบบหนึ่ง
เรามักใช้แบบไหนมากกว่ากันครับ
สมองของเราก็มีสิ่งที่เรากลัวเช่นกันครับ
แต่ทฤษฎีความกลัวสำหรับสมองที่น่าสนใจ และพบได้สำหรับการทำงานในองค์กร มี 5 ตัวนี้ครับ (5 FEARS)
Fairness กลัวไม่ได้รับความยุติธรรม
Expectation กลัวความไม่ชัดเจน ต้องคะเน ต้องคาดเดา
Autonomy กลัวไม่มีทางเลือก
Relation กลัวสูญเสียความสัมพันธ์
Status กลัวการถูกเปรียบเทียบกับคนอื่น
มีเหตุการณ์ไหนบ้าง ที่ทำให้เรารู้สึกแบบนี้ในที่ทำงานบ้างไหม
และที่สำคัญคือ เราเคยเป็น ต้นเหตุ ความกลัวของคนรอบข้างกันบ้างหรือไม่
เมื่อสมองของเรารู้สึกว่ามีสิ่งต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นรอบๆ ตัวเรา
ถ้าเราไม่รู้ตัว สมองจะปรับโหมดไปใช้สมองส่วนอารมณ์ ซึ่งสามารถทำงานได้เร็วกว่า เพื่อการเอาตัวรอดทันที
แถมสมองส่วนอารมณ์ยังใช้พลังงานน้อย เราจะได้เหลือพลังงานมากพอที่จะสร้างพฤติกรรมตอบสนองที่ใช้พลังงานมากๆ เช่น การจะสู้ หรือ ถอยหนี จากสถานการณ์ดังกล่าว
ดังนั้น ความกลัวต่างๆ เหล่านี้ หากเกิดขึ้นแล้ว
จึงเป็นเสมือนกำแพงที่ขัดขวางการใช้สมองส่วนคิดของเราไปโดยอัตโนมัติ
ดังนั้น เราอาจไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมเวลามาทำงาน เราหรือคนรอบข้าง จะกลายเป็นเหมือนคนไม่มีสมอง คิดอะไรไม่ค่อยออก
พอเจอโจทย์ที่ไม่คุ้นเคย โจทย์ที่ยาก ก็อยากจะอยู่ห่างๆ เข้าไว้
เพราะไม่แน่ใจว่าจะหาทางแก้โจทย์นั้นได้อย่างไร
เนื่องจากสมองส่วนคิดเราไม่พร้อมที่จะทำงาน
โจทย์นั้น จึงมักเป็น ปัญหา ไม่ใช่สิ่งที่ ท้าทาย สำหรับสมองของเราอยู่เสมอ
เมื่อความกลัวเกิดขึ้น และสมองส่วนอารมณ์ตัดสินใจแทนสมองส่วนคิดเป็นส่วนใหญ่
ไม่ว่าการตอบสนองนั้นจะออกมาเป็น สู้ หนี หรือนิ่งเฉย
ผลลัพธ์ที่ได้ก็คงส่งผลกระทบที่ไม่ดีเท่าไหร่
แล้วถ้าตัวเราเองจะสามารถบริหารจัดการความกลัวเหล่านี้
ทั้งของตัวเรา และคนรอบข้างได้
เราก็จะสามารถดึงศักยภาพของสมองส่วนคิดออกมาได้มากขึ้น ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และมีความเป็นทีมยิ่งขึ้น
หัวหน้าบางคนอาจคิดว่า การใช้ความกลัว ถึงจะทำให้เราได้งาน
แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า การได้ผลงานจากความกลัว แม้จะสร้างได้ง่าย สร้างได้ไว กว่าการสร้างผลงานจากความปรารถนา
แต่ก็มีโอกาสสูงที่ ผลงานชิ้นนั้น จะถูกสร้างด้วยฐานข้อมูลชุดเดิม ด้วยวิธีการเดิมๆ
เราจึงต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนก่อนว่า เราอยากได้งานที่เสร็จ หรืองานที่พัฒนา มากกว่ากัน โดยไม่ได้มีทางเลือกใดถูกหรือผิด
เพราะขณะนั้น สมองของเราก็อาจจะกำลังเผชิญกับ ความกลัว จากระดับที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน
26 ธ.ค. 2561 อ่าน 1,797 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
13 ก.พ. 2562 อ่าน 1,352 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 1,647 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 2,082 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
1 เม.ย. 2562 อ่าน 5,542 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
22 เม.ย. 2562 อ่าน 2,206 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,040
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 10,584
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,105
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,310
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,194
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,199
หมวด Thinking อ่าน 11,983
หมวด Thinking อ่าน 3,831