Constra
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการ
    •   Program Development Consultant
      • All
      • Consultant Program
      • Training Roadmap
      • Blended Learning
      • Cascade Program
      • Specific Group Program
      • Course by Tooling Program
      • Program by Competency
      • People Development by Internal Manager Program
      • Height Potential Group Development
    •   Learning Management System
    •   Value Competency Solution Provider
      • Training & Group Coaching
      • One on One Coaching
      • Assessment Tools
    •   In-house Training
    •   New Program 2023
    •   Public Training 2023
    •   Virtual Class Room
    •   Online Merge Offline
    •   Online Course
    •   Package In-house
    •   หลักสูตรแบบบูรณาการ
    •   ทำแผนฝึกอบรมประจำปี
    •   Learning Journey
    •   Operation Package
  • วิทยากร
  • ผลงาน
    •   Our Portfolio and Gallery
    •   หลักสูตรที่เคยฝึกอบรม
    •   ตัวอย่างลูกค้าของเรา
    •   เสียงตอบรับจากผู้เข้าอบรม
  • HRD Zone
    •   การออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร
    •   เรียนออนไลน์ฟรี
    •   ห้องสมุดสำหรับ HR
    •   คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
  • ดาวน์โหลด
  • ห้องสมุด
  • ร้านค้า
  • แบบทดสอบ
  • ติดต่อเรา
  • Search
    ×

    ค้นหาบน ENTRAINING ด้วย GOOGLE

  • Member
  • EN
Login สู่ระบบสมาชิก
 สมัครเป็นสมาชิกฟรี     ลืมรหัสผ่าน

5 องค์ประกอบของการโค้ช

  โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง     16 มกราคม 2563     11,006     0

หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การโค้ชงาน / 5 องค์ประกอบของการโค้ช

บทความอื่นๆน่าสนใจ

ความหมายของ Design Thinking สร้างหลักการโค้ชเชิงนวัตกรรม

17 ก.พ. 2563   อ่าน 6,350    หมวด การโค้ชงาน

เคล็ดไม่ลับในการโค้ชให้ได้ผลแบบง่ายๆ

24 พ.ย. 2563   อ่าน 876    หมวด การโค้ชงาน

โค้ชชี่ลุยงานหนัก อยาก Work Life Balance ทำอย่างไร

24 พ.ย. 2563   อ่าน 762    หมวด การโค้ชงาน

การโค้ชคนที่มีอีโก้ (Ego) สูง ต้องโค้ชอย่างไร

4 ธ.ค. 2563   อ่าน 971    หมวด การโค้ชงาน

การโค้ชที่คุณค่า (Values) และจุดแข็ง (Strengths) ของโค้ชชี่

4 ธ.ค. 2563   อ่าน 883    หมวด การโค้ชงาน

น้องเขาขาดความมั่นใจ โค้ชเขาอย่างไรดี

4 ธ.ค. 2563   อ่าน 1,018    หมวด การโค้ชงาน

          พูดถึง การโค้ช แต่ละคนก็จะมีการให้ความหมายที่แตกต่างกันไป และมักแยกไม่ค่อยออกว่า บทบาทของโค้ช กับบทบาทในแง่การพัฒนาบุคลากรอื่นๆ ในองค์กร แตกต่างกันอย่างไร เมื่อแยกไม่ได้ เวลาจะต้องใช้จึงเกิดการสับสน ทำให้ไม่เกิดความเชื่อมั่นในการนำไปใช้ตามมา เพราะไม่แน่ใจในผลที่จะได้รับ ดังนั้นก่อนจะเรียนรู้เรื่องการโค้ช เรามาทำความรู้จักกับการโค้ชโดยคร่าวๆ กันดูก่อนดีกว่า

          สำหรับตัวผมเอง เวลาพูดถึง การโค้ช ผมจะแบ่งองค์ประกอบของการโค้ช ออกเป็น 5 ส่วน คือ
          1. หลักการโค้ช
          2. บทบาทโค้ช
          3. ทักษะการโค้ช
          4. กระบวนการโค้ช
          5. เครื่องมือการโค้ช

          คือในการโค้ช ควรจะมีครบทั้ง 5 ส่วน จึงจะเกิดประสิทธิภาพ แต่ความจริงแล้ว ถึงเราจะไม่ได้เป็น โค้ชมืออาชีพ การเข้าใจและฝึกปฏิบัติในแต่ละส่วน ก็ช่วยทำให้เรามีอิทธิพลต่อคนรอบตัวเราในทางดีขึ้น และสามารถนำไปใช้ร่วมกับรูปแบบการพัฒนาบุคลากรแบบอื่นๆ ได้

          ในแง่ของหลักการ สำหรับตัวผมเอง การโค้ช คือ การพาคนจากที่หนึ่ง ไปอีกที่หนึ่ง ตามที่เขาต้องการ ดังนั้น การที่เราจะโค้ชใครสักคนได้ เขาต้องมีเป้าหมายที่เขาเองต้องการเสียก่อน เขาต้องรู้ก่อนว่าตนเองอยากไปไหน เพื่ออะไร แต่ในเมื่อองค์กรมอบหมายเป้าหมายมา เราก็จะต้องทำให้เขาเห็นให้ได้ก่อนว่า เป้าหมายขององค์กรจะเป็นเป้าหมายของเขาได้อย่างไร แล้วทุกวันนี้ เป้าหมายของทีมเรา กลายเป็นเป้าหมายของคนในทีมเราทุกคนหรือยัง คิดว่า เราจะทำอย่างไรได้บ้างครับ ในการทำให้ทุกคนยอมรับเป้าหมายทีมหรืองค์กร ไปเป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายของเขาเอง

          การสร้างความชัดเจนของเป้าหมาย การสร้างแรงจูงใจ โน้มน้าวใจทำให้เห็นประโยชน์ในเป้าหมาย การสร้างการมีส่วนร่วม การคิดเป้าหมายร่วมกัน เป็นหลากหลายวิธีการที่ใช้ได้ แต่ต้องอย่าลืมว่า เป้าหมายคือของเขา ไม่ใช่ของตัวเรา

          บทบาทของโค้ช สำหรับผม เราเป็นเพียงกระจกเงาที่สะท้อนให้เขาเห็นความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก ของเขา ต่อเป้าหมายของเขาเอง สิ่งที่ทำให้เขายังไม่ไปถึงเป้าหมาย ไม่ใช่เพราะไม่มีศักยภาพ เพียงแต่เขายังมองไม่เห็นว่าอะไรเป็นตัวฉุดรั้งเขาไว้ และการเป็นกระจกเงาของเรา จะช่วยส่องให้เขาเห็นภาพตัวเขาเองได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้เขาเห็นว่าเขามีมุมมองเป็นบวกหรือลบ เขามีความเชื่อที่จำกัดหรือส่งเสริม ต่อการไปสู่เป้าหมาย แล้วลูกน้องของเรา หรืออาจเรียกว่า (Coachee) จะเป็นผู้เลือกเองว่า เขาต้องการจะปรับเปลี่ยนสิ่งใด เขาจะต้องก้าวข้ามหลุมพรางทางความคิดตัวไหน เขาจึงจะสามารถก้าวต่อไปข้างหน้าได้ โค้ช จึงอาจไม่ใช่ทั้งผู้ผลัก หรือผู้ดึงเขาไปสู่เป้าหมาย เป็นเพียงแค่คนที่ยืนข้างๆ เขา หรือเต้นรำไปพร้อมกับเขา เท่านั้นเอง ดูสบายดีใช่ไหมครับ

          แล้วเมื่อเทียบกับบทบาทของเราในทุกวันนี้ เรายืนอยู่ตรงไหนครับ ข้างหน้า ข้างหลัง หรือเดินเคียงข้างไปกับ น้องๆ ในทีมของเรา

          ส่วนทักษะในการโค้ชแทบไม่มีความแตกต่างกับทักษะการสื่อสารที่เราใช้ในการทำงานทุกวันนี้เลยครับ ไม่ว่าจะเป็น การฟัง การตั้งคำถาม และการสะท้อนหรือให้ข้อมูลย้อนกลับ เพียงแต่วัตถุประสงค์ในการใช้อาจมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่สิ่งที่จะทำให้ทักษะนี้มีความแตกต่าง ขึ้นอยู่กับเราใช้บนบทบาทอะไร เช่น ในแง่ของการฟัง และการตั้งคำถาม ถ้าเราใช้บทบาท คุณครูหรือผู้สอนงาน (Teacher) เราก็จะพยายามฟังว่า ลูกน้องของเราขาด ความรู้ (Knowledge) เรื่องอะไร เราจะถามเพื่อตรวจสอบความรู้ของเขาว่าถูกต้องหรือไม่ ต้องแก้ไขความรู้เรื่องใด

          ถ้าเราใช้บทบาท ผู้ฝึกสอน (Trainer) เราก็จะฟังแล้วประเมินว่า เขาขาดทักษะ (Skill) เรื่องไหน เราก็จะถามเพื่อประเมินระดับทักษะความสามารถของเขาว่าเหมาะสมเพียงพอกับงานหรือไม่
          ถ้าเราใช้บทบาทโค้ช (Coach) เราก็จะฟังแล้วมองหาว่า คนของเรามีความเชื่อความคิดข้อใด ที่กลายเป็นข้อจำกัดของเขา เราก็จะถามหา วิธีการที่จะทำให้ตัวเขาเองหลุดพ้นจากสถานการณ์นั้น เพื่อไปถึงจุดหมาย
          คงพอเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า การใช้องค์ประกอบแต่ละส่วน บนวัตถุประสงค์ที่แตกต่าง ทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน แล้วปกติ เราใช้ทักษะเหล่านี้อย่างไร เพื่อวัตถุประสงค์อะไร

          ส่วนกระบวนการโค้ช (Coaching Process) สำหรับตัวผมเอง ผมชอบใช้ Mirror Model ร่วมกับ GROW Model ในการเดินกระบวนการ ผมขออนุญาตอธิบายในส่วนของ GROW Model สั้นๆ ดังนี้ครับ กระบวนการจะเริ่มจาก การตั้งเป้าหมาย (Goal) แล้วตรวจสอบสถานะปัจจุบันของเราว่าห่างจากเป้าหมายเพียงใด (Reality) หลังจากนั้นก็เป็นการสร้างพื้นที่เปิด เพื่อค้นหาทางเลือกที่จะไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการ (Option) สุดท้ายกำหนดวิธีการที่คิดว่าเหมาะสม และตอบโจทย์มากที่สุดเพื่อกับไปปฏิบัติ (Way Forward) เพียงเท่านี้ เราก็สามารถเดินกระบวนการโค้ช ตั้งแต่ต้นจนจบได้

          และสุดท้ายองค์ประกอบที่มีความหลากหลายมากที่สุด คือ เครื่องมือ ที่เราจะเลือกนำไปใช้ครับ ผมขอยกตัวอย่าง การฟัง บนกระบวนการ GROW Model ขั้น Reality นะครับ ในคำพูดสั้นๆ ของโค้ชชี่ ที่รำพึงว่า “เขากลัวว่า เขาจะทำงานนี้ได้ไม่ดี เขาจึงอยากปฏิเสธงานนี้” ถ้าเราใช้เครื่องมือ ของ Brain Base Coaching เราอาจพบว่า เขาใช้สมองส่วนอารมณ์ เขากำลังใช้สัญชาตญาณเอาตัวรอด ถ้าเราใช้เครื่องมือของ Life Coaching เราอาจพบว่า เขากำลังกลัวว่าจะทำได้ไม่ดีพอ (Fear of Not Good Enough) ถ้าเราใช้เครื่องมือของ Mindfulness Coaching เราอาจพบว่า เขากำลังขาดศรัทธาต่อตนเอง (Trust) ดังนั้น แม้จะเป็นคำพูดเดียวกัน จากคนคนเดียวกัน ในสถานการณ์เดียวกัน สิ่งที่โค้ชอย่างเรามองเห็นในตัวโค้ชชี่ ก็ยังมีความแตกต่างกันออกไป

          แล้วเราชอบและถนัดเครื่องมือชิ้นไหนมากที่สุด

          ซึ่งเมื่อเราเข้าใจ และสามารถนำเอาทั้ง 5 องค์ประกอบการโค้ช มาใช้ร่วมกัน ก็จะทำให้เรากลายเป็น โค้ช ที่จะสามารถพาคนรอบตัวเราเดินไปข้างหน้าได้ด้วยตัวเขาเอง เริ่มอยากเป็น โค้ช มากขึ้นบ้างหรือยังครับ

แสดงความคิดเห็น

บทความอื่นๆน่าสนใจ

ความหมายของ Design Thinking สร้างหลักการโค้ชเชิงนวัตกรรม

17 ก.พ. 2563   อ่าน 6,350    หมวด การโค้ชงาน

เคล็ดไม่ลับในการโค้ชให้ได้ผลแบบง่ายๆ

24 พ.ย. 2563   อ่าน 876    หมวด การโค้ชงาน

โค้ชชี่ลุยงานหนัก อยาก Work Life Balance ทำอย่างไร

24 พ.ย. 2563   อ่าน 762    หมวด การโค้ชงาน

การโค้ชคนที่มีอีโก้ (Ego) สูง ต้องโค้ชอย่างไร

4 ธ.ค. 2563   อ่าน 971    หมวด การโค้ชงาน

การโค้ชที่คุณค่า (Values) และจุดแข็ง (Strengths) ของโค้ชชี่

4 ธ.ค. 2563   อ่าน 883    หมวด การโค้ชงาน

น้องเขาขาดความมั่นใจ โค้ชเขาอย่างไรดี

4 ธ.ค. 2563   อ่าน 1,018    หมวด การโค้ชงาน

หลักสูตรที่น่าสนใจ

การพัฒนาทักษะการโค้ช เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Coaching for Change)

หมวด Coaching   อ่าน 4,161

การพัฒนาทักษะการโค้ช เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Coaching for Change)

หมวด Advance Coaching   อ่าน 2,361

การพัฒนาทักษะการโค้ชเชิงปฏิบัติการ (Coaching Skill in Practice - Advance)

หมวด Coaching   อ่าน 5,141

หลักพื้นฐานและทักษะการโค้ชเชิงปฏิบัติการ (Principle of Coaching And Coaching Skill)

หมวด Advance Coaching   อ่าน 234

การพัฒนาทักษะการโค้ชด้วยการ์ด (Coaching Card Skill Development)

หมวด Tooling Program   อ่าน 873

การพัฒนาทักษะการโค้ชเชิงปฏิบัติการด้วยคู่มือ (Coaching Skill in Practise with Workbook)

หมวด Tooling Program   อ่าน 826

ผู้นำเชิงรุกด้วยทักษะการโค้ชและพี่เลี้ยง (Proactive Leader with Coaching and Mentoring)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 1,033

การพัฒนาทักษะการโค้ชด้วยเครื่องมือเชิงปฏิบัติการ (Coaching Skill with Tooling in Practices)

หมวด Advance Coaching   อ่าน 291

สถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง

Constra

ศูนย์บริการครบวงจรสำหรับการพัฒนาบุคลากรขององค์กร รับออกแบบโปรแกรมฝึกอบรมโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์

Contact us

บริษัท เอ็นมาร์ก โซลูชั่น จำกัด

112 ซ.รามคำแหง 30/1 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

E-mail : asst.entraining@gmail.com
cocoachentraining@gmail.com
โทรศัพท์ : 02-732-2345 / 02-374-8638
Hotline : 084-164-2057
Fax : 0-2375-2347

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • เว็บไซต์การเรียนรู้ออนไลน์
  • แหล่งรวมความรู้เกียวกับโค้ช
  • เว็บไซต์ส่วนตัว อ.ปกรณ์
  • แบบทดสอบออนไลน์
  • เว็บไซต์เอ็นเทรนนิ่งภาษาอังกฤษ
  • เว็บไซต์ : Peakpotential
  • คำค้นหา / Tags,Keyword,Category
Copyright © All Rights Reserved. Enmark Solution Company Limited.