โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 11 กรกฎาคม 2561 1,300 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน / 5 เทคนิคการขยายอาณาจักรแห่งความปลอดภัย
11 ก.ค. 2561 อ่าน 1,545 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
11 ก.ค. 2561 อ่าน 1,346 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
29 ส.ค. 2561 อ่าน 5,149 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
14 ก.ย. 2561 อ่าน 4,549 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
14 ก.ย. 2561 อ่าน 1,080 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
19 ก.ย. 2561 อ่าน 1,713 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
สิ่งหนึ่งที่จะทำให้สมองของเรา ไม่อยากเกิดการเปลี่ยนแปลง คือ ความกลัว ซึ่งอย่างที่คุยกันมาบ้างแล้วว่า ความกลัว มีสาเหตุมาจากความรู้สึก ไม่ชัดเจนของสมองเรา ดังนั้น ถ้าเราสามารถทำให้สมองของเราเกิดความชัดเจนได้มากเท่าไหร่ เราก็จะกล้าคิด กล้าทำ กล้าเดินไปสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ ได้มากขึ้นเท่านั้น เพียงแต่ว่า ตอนนี้ เราชัดเจน กับตัวเราเองมากน้อยแค่ไหน
เทคนิค #1 สร้างความชัดเจนของเป้าหมาย
เริ่มจากเป้าหมายที่ชัดเจน ถึงแม้จะยังไปไม่ถึง แต่ก็พอรู้ว่า ตำแหน่งของเป้าหมายที่เราอยากได้นั้นอยู่ตรงไหน เพื่อที่จะได้กำหนดทิศทางได้ถูกต้อง เพราะโดยธรรมชาติแล้ว เป้าหมายหนึ่งเป้าหมาย สามารถมีหลากหลายหลักการในการไปถึงเป้าหมายนั้น แถมแต่ละหลักการยังแตกย่อยเป็นอีกหลากหลายวิธีการ อาจจะมีวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เป็นวิธีการที่คล้ายๆ กับวิธีการของเราก็อาจเป็นได้
เทคนิค #2 เริ่มจากจุดแข็ง
จุดแข็ง คือสิ่งที่เรารู้สึกทำได้ง่าย ไม่รู้สึกอึดอัดใจ และคาดเดาผลลัพธ์ที่ออกมาได้ชัดเจน ดังนั้นจุดแข็งจึงเป็นเสมือนหนึ่งในพื้นที่ปลอดภัยของเรา การเริ่มต้นจากจุดแข็งเป็นสิ่งที่เราพัฒนาให้เติบโตได้ง่ายกว่าการปิดข้อบกพร่องของตัวเราแม้ว่าการปิดข้อบกพร่องนั้น จะเสมือนการสร้างสะพานไปสู่เป้าหมายเราได้ก็ตาม ลองจินตนาการ การสร้างสะพานบนหุบเหวแห่งความว่างเปล่าดู มันช่างดูยากเย็น ทั้งยังไม่มั่นคงเลยสักนิด ดังนั้น การพยายามไปสู่เป้าหมายโดยไม่ใช้จุดแข็งที่มี จึงมักไม่ค่อยสามารถทำได้เต็มที่ และทำได้ต่อเนื่องมากนัก ลองคิดดูครับว่า มีจุดแข็ง หรือข้อดี ข้อไหนของเราบ้าง ที่น่าจะสนับสนุนตัวเรา แล้วทำให้เราเติบโตไปใกล้เป้าหมายได้มากขึ้น
เทคนิค #3 เริ่มจากสิ่งที่ชอบ
พื้นที่ปลอดภัย มักมีสิ่งที่สมองของเราชอบและให้ความสำคัญ สิ่งที่เราชอบ เราทำแล้วมีความสุข สิ่งที่เราชอบ เราทำได้โดยไม่เบื่อ สิ่งที่เราชอบ เราสามารถหาเวลาทำจนได้ ดังนั้น สิ่งที่เราชอบ เป็นสิ่งที่เราพัฒนาและเติบโตได้ง่าย และรวดเร็ว
การจะใช้เวลากับสิ่งนั้นให้ถึง 10,000 ชั่วโมง เพื่อกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นได้ ดูไม่ใช่เรื่องยากเย็น ถ้าเราจดจ่อกับมันมากพอ ดังนั้นในบรรดาสิ่งที่เราชอบ มีเรื่องอะไรบ้าง ที่ถ้าเรากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว จะสอดคล้องไปกับเป้าหมายของเรา เพราะจริงๆ แล้ว พื้นที่ปลอดภัยของเราที่ถูกสร้างขึ้นมา ไม่ดีมีใครมากำหนดว่ามันกว้างใหญ่แค่ไหน คนที่กำหนดคือ สมองของเราเอง ลองนึกถึงตอนเด็กๆ หรือตอนเข้าทำงานใหม่ๆ ดูก็ได้ว่า พื้นที่ปลอดภัยของเราเติบโตมามากแค่ไหน สิ่งที่เดิมเราเคยกลัว มี่กี่อย่างที่เรารู้สึกเฉยๆ หรือบางทีกลับชอบมันเสียอีก สิ่งที่เดิมเราเคยทำไม่ได้ มี่กี่อย่างแล้วที่เรากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญ
เทคนิค #4 เริ่มจากความรู้สึกง่าย สมองของเรา
ตอบสนองต่อความรู้สึกได้เร็วกว่าความคิดเสมอ ดังนั้น แม้จะเป็นเรื่องที่มีประโยชน์แค่ไหน ถ้าเรารู้สึกไม่ชอบ รู้สึกยาก เรามักจะมีพฤติกรรมถอยห่างจากสิ่งนั้นเสมอ ดังนั้นคิดว่า เราจะสามารถสร้างความรู้สึก ง่าย ให้กับเรื่องนั้นได้อย่างไรบ้าง การที่จะ โน้มน้าวสมองของเรา ให้รู้สึกง่าย ก็มีหลากหลายครับ เช่น น้อยๆ ดูไม่เยอะ อะไรที่ต้องทำเพียงแค่นิดๆ หน่อยๆ ทำไม่นานก็เสร็จ เราจะรู้สึกดีกับมัน เราจึงเห็นหนังสือประเภทที่สื่อความหมายลักษณะนี้บ่อยๆ เช่น เพียง 5 นาที หรือ แค่ 1% ก็สำเร็จได้ และมันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ดังนั้นเมื่อได้เป้าหมายใหญ่แล้ว เราควรย่อยเป้าหมายนั้นให้เล็กลง ยาก เพราะไม่รู้ หลายครั้งที่เราไม่รู้รายละเอียดของสิ่งที่จะต้องทำต่อไปหรือไม่มีคำตอบให้ ทำให้เรารู้สึกไม่คุ้นเคย จนกลายเป้นความรู้สึกยากตามมา ดังนั้น เราสามารถทำตัวให้คุ้นเคยกับเรื่องเหล่านั้นได้โดยการทำความรู้จักกับสิ่งที่เราต้องทำให้มากที่สุด ตามความถนัดในการเรียนรู้ของเรา อาจจะอ่านหนังสือเพื่อเก็บข้อมูล ลองพูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น หรือลองคิดลองทดลองด้วยตนเอง ก็ขึ้นอยู่กับตัวเรา เมื่อเรารู้จัก เมื่อเรามองเห็น เราก็จะรู้สึกว่าเรื่องนั้นง่ายสำหรับเรา ง่ายเพราะมีคนช่วย บางทีการมีผู้ช่วยหรือที่ปรึกษาสักคน ก็ทำให้งานของเราง่ายขึ้นเยอะครับ เพราะทำให้เรารู้สึกปลอดภัยมากขึ้น ในการจะตัดสินใจลงมือทำได้ง่ายขึ้น เพราะติดขัดตรงไหนก็ยังคุยปรึกษากันได้ แถมไม่ต้องกังวลข้อผิดพลาด เพราะถึงเกิดขึ้นก็ยังมีคนช่วยแก้ไข คิดว่า เราจะทำวิธีไหนได้บ้าง ที่ทำให้เรารู้สึกว่า ง่าย ได้มากขึ้นอีก
เทคนิค #5 การเติบโตอย่างต่อเนื่อง
สิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาและเติบโตของเรา เกิดจากความต่อเนื่อง มากกว่าความเร็ว ดังนั้น เราไม่จำเป็นต้องเร่งรีบเปลี่ยนแปลงตัวเอง จนรู้สึกฝืน จนรู้สึกอึดอัด เพราะความรู้สึกแบบนั้น มักจบด้วยการหยุดทำ ก่อนที่จะไปถึงเป้าหมายได้ง่ายๆ แต่การเติบโตทีละเล็กทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง จะเกิดเป็นความชำนาญ แล้วทำให้เราเติบโตได้มากขึ้นในภายหลังโดยอัตโนมัติ เมื่อไหร่เราทำครบ 21 วัน สิ่งนั้นก็แทบกลายเป็นนิสัยของเราไปโดยอัตโนมัติ จากนั้นเราก็ไม่ค่อยรู้สึกแล้วว่า เรากำลังต้องพยายามทำอะไรอยู่อีกต่อไป ถึงตอนนี้ คิดว่าพื้นที่ความปลอดภัยของเรา กำลังจะเติบโตไปในทิศทางใด จากการขยายพื้นที่ความปลอดภัยของเรา นอกจากเราจะสามารถไปถึงเป้าหมายได้แล้ว เรายังอาจจะค้นพบความเชี่ยวชาญของเราอีกหลายประการที่เคยซ่อนอยู่ เพราะโลกทุกวันนี้ เป็นโลกของข้อมูล การที่เรากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดก็ตาม ก็จะเป็นที่สนใจ และเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของคนอื่นๆ ต่อไปอีกก็ได้ และเมื่อเราเริ่มต้นได้เร็วเท่าใด เราก็ยิ่งสร้างพื้นที่ปลอดภัยของเราให้กว้างขวางมากขึ้นเท่านั้น
ด้วย 5 เทคนิคในการสร้างอาณาจักรความปลอดภัย
เทคนิค #1 สร้างความชัดเจนของเป้าหมาย
เทคนิค #2 เริ่มจากจุดแข็ง
เทคนิค #3 เริ่มจากสิ่งที่ชอบ
เทคนิค #4 เริ่มจากความรู้สึกง่าย
เทคนิค #5 การเติบโตอย่างต่อเนื่อง
คิดว่า เทคนิคต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้เรานำไปประยุกต์ใช้กับเรื่องใดได้บ้าง ที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายของเรา
สุดท้ายแล้ว วิธีการที่จะเอาชนะความกลัวของเราได้นั้น คือการ ลงมือทำ เพราะ ความกลัวของเรามักใหญ่กว่าความเป็นจริงอยู่เสมอ การลงมือทำ จะทำให้สมองของเราเห็นความชัดเจนมากที่สุด
11 ก.ค. 2561 อ่าน 1,545 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
11 ก.ค. 2561 อ่าน 1,346 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
29 ส.ค. 2561 อ่าน 5,149 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
14 ก.ย. 2561 อ่าน 4,549 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
14 ก.ย. 2561 อ่าน 1,080 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
19 ก.ย. 2561 อ่าน 1,713 หมวด การปลุกสมองสร้างผลงาน
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 3,948
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 7,945
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,050
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,250
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 5,108
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 4,140
หมวด Thinking อ่าน 8,466
หมวด Thinking อ่าน 3,725