Constra
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการ
    •   Program Development Consultant
      • All
      • Consultant Program
      • Training Roadmap
      • Blended Learning
      • Cascade Program
      • Specific Group Program
      • Course by Tooling Program
      • Program by Competency
      • People Development by Internal Manager Program
      • Height Potential Group Development
    •   Learning Management System
    •   Value Competency Solution Provider
      • Training & Group Coaching
      • One on One Coaching
      • Assessment Tools
    •   In-house Training
    •   New Program 2023
    •   Public Training 2023
    •   Virtual Class Room
    •   Online Merge Offline
    •   Online Course
    •   Package In-house
    •   หลักสูตรแบบบูรณาการ
    •   ทำแผนฝึกอบรมประจำปี
    •   Learning Journey
    •   Operation Package
  • วิทยากร
  • ผลงาน
    •   Our Portfolio and Gallery
    •   หลักสูตรที่เคยฝึกอบรม
    •   ตัวอย่างลูกค้าของเรา
    •   เสียงตอบรับจากผู้เข้าอบรม
  • HRD Zone
    •   การออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร
    •   เรียนออนไลน์ฟรี
    •   ห้องสมุดสำหรับ HR
    •   คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
  • ดาวน์โหลด
  • ห้องสมุด
  • ร้านค้า
  • แบบทดสอบ
  • ติดต่อเรา
  • Search
    ×

    ค้นหาบน ENTRAINING ด้วย GOOGLE

  • Member
  • EN
Login สู่ระบบสมาชิก
 สมัครเป็นสมาชิกฟรี     ลืมรหัสผ่าน

I will survive

  โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง     26 กันยายน 2561     1,452     0

หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด การพัฒนาตนเอง / I will survive

บทความอื่นๆน่าสนใจ

Miracle Success สำเร็จอัศจรรย์

26 ก.ย. 2561   อ่าน 1,312    หมวด การพัฒนาตนเอง

บรรลุภาวะผู้นำแบบเบ็ดเสร็จด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ

26 ก.ย. 2561   อ่าน 2,978    หมวด การพัฒนาตนเอง

12 แนวคิดพิชิตผลงาน

29 ต.ค. 2561   อ่าน 1,286    หมวด การพัฒนาตนเอง

การสร้างคุณค่าของตนเอง เพื่อพัฒนาตนเองด้วยการเปลี่ยนแปลง

29 ต.ค. 2561   อ่าน 6,933    หมวด การพัฒนาตนเอง

จิตตก คิดมาก หันมาอ่านเรื่องนี้

29 ต.ค. 2561   อ่าน 1,791    หมวด การพัฒนาตนเอง

คุณมีทางเลือก ทางเลือกเป็นของคุณ

15 พ.ย. 2561   อ่าน 5,022    หมวด การพัฒนาตนเอง

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่านครับ ครบรอบเดือนก็มาทักทายกันสักครั้งหนึ่งถือเป็นกิจวัตรประจำของผมอีกหนึ่งอย่าง จะว่าใหม่ก็ไม่ใช่เนื่องจากเคยเขียนบทความลง Blog ของตัวเองอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง แต่ก็ร้างลามานานพอสมควรเนื่องจากติดภารกิจที่สำคัญมากมายรวมทั้งเสพติด face book ร่วมด้วย นึกแล้วก็เสียดายเวลาและพฤติกรรมก็เปลี่ยนไปจนคนรอบข้างบอกว่าให้ไปปรึกษาศูนย์ผู้ต้องการเลิกสิ่งเสพติดได้แล้ว เพราะเห็นมีเวลาว่างทีไรเป็นต้องเข้า Face book ทุกที และดูเหมือนจะถี่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่ใช่จะมีแต่ข้อเสียนะครับข้อดีก็มีขึ้นอยู่ที่ผู้ใช้ต้องเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด อะไรที่เป็นพิษโทษภัยเราก็ต้องรู้จักกรองทิ้ง ใช้เป็นช่องทาง update ข้อมูลข่าวสารและสื่อสารกันภายในกลุ่มและอื่นๆที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้ การได้กลับมาเขียนบทความอีกครั้งก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีครับ ที่ขึ้นหัวบทความไว้ว่า “I will survive!” ก็เพราะก่อนที่จะเริ่มเขียนบทความมีสิ่งที่อยากจะเขียนอยากจะเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังมากมายจนเลือกไม่ถูกเลยครับ จะเขียนเรื่องอะไรก่อนดี การมีเรื่องเยอะๆก็ดีไปอีกแบบครับอย่างน้อยผมก็มีสต๊อกบทความไปอีกหลายเดือน แต่ข้อเสียคืออยากเขียนอยากเล่าทุกเรื่องจนเลือกไม่ถูกเลย ก็พอดีได้ยินเสียงเพลงขับกล่อมสร้างบรรยากาศให้ดูมีชีวิตชีวาบ้างท่ามกลางสายฝนยามเย็น เพลงที่พูดถึงก็คือ เพลง “I will survive” ที่ต้นตำรับร้องโดย “Gloria Gaynor” ศิลปินนักร้องหญิงผิวสีที่มีเนื้อเพลงและจังหวะที่ค่อนข้างเร็วเร้าใจ สาระของเพลงก็ให้ข้อคิดและให้กำลังใจกับคนที่เคยพลาดผิดหวังแทบเอาชีวิตไม่รอดได้ดีทีเดียว แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งที่กลับคืนมาอีกครั้งหนึ่ง ในเนื้อเพลงจะมีคำว่า I will survive อยู่หลายช่วงด้วยกัน ซึ่งบางคนอาจมองว่าเป็นท่อนสร้อย แต่สำหรับผมๆเห็นว่าเป็น key word ที่สำคัญที่เพลงต้องการสื่อออกมา

“I will survive” ประโยคนี้ทำให้ผมนึกไปถึงประเด็นหนึ่งที่เราทุกคนต้องตระหนักเสมอคือ ความอยู่รอด ยิ่งในกระแสปัจจุบันที่ความอยู่รอดเป็นสิ่งที่พวกเรากำลังเป็นกังวลกันอยู่แทบทุกลมหายใจ โดยเฉพาะบรรดาธุรกิจน้อยใหญ่ต่างๆ ด้วยความกลัวต่างๆที่ถาโถมเข้ามาจากการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างมากมายในอนาคต ใช่ครับผมกำลังพูดถึงการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (Asian Community) ที่ในสังคมไทยเกือบจะทุกภาคส่วนยังมีความเข้าใจกันอย่างไม่ถูกต้องนักในหลายประเด็น ส่วนใหญ่ยังมีกระบวนทัศน์ที่ไม่ถูกต้อง แต่คราวนี้ผมจะยังไม่กล่าวถึงครับ เอาไว้เป็นวาระต่อๆไปจะดีกว่าครับ คราวนี้สิ่งที่ผมจะมาเล่าสู่กันฟังก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับความอยู่รอดเช่นกัน แต่เป็นความอยู่รอดของพวกเราเหล่ามนุษย์ทำงานในศตวรรษที่ 21 ที่ยุคสมัยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคแห่งการแข่งขันกันด้วยภูมิปัญญาและ ความคิดสร้างสรรค์แทนที่ทรัพยากรที่จับต้องได้อื่นๆเฉกเช่นในอคีตหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งถ้ามนุษย์ทำงานไม่เปลี่ยนแปลงปรับตัวเองก้าวให้ทันก็สูญพันธุ์แน่ครับ ผมบังเอิญไปได้บทความเกี่ยวกับทักษะที่จำเป็นสำหรับการอยู่รอดในยุคนี้จากเว็บไซต์แห่งหนึ่ง เขากล่าวถึงทักษะ 5 อย่างที่ผู้อยู่รอดจะต้องพัฒนาขึ้นให้มีอยู่ในตัวเองสำหรับการทำงานและใช้ชีวิตในยุคที่เรียกว่า “Conceptual Age” เรามาดูกันครับว่าทักษะสำคัญทั้ง 5 อย่างนี้มีอะไรบ้าง

ในบทความนั้นกล่าวไว้ว่าในอนาคตคนที่สามารถใช้สมองซีกขวาได้อย่างชำนาญกว่าจะเป็นผู้กำหนดออกแบบอนาคต ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ที่สามารถใช้สมองซีกขวาได้ดีกว่าจะมีจินตนาการเหนือกว่าบางครั้งเรียกว่ามีวิสัยทัศน์ มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่า ในขณะที่คนถนัดใช้สมองซีกซ้ายจะเชี่ยวชาญในการคำนวณวิเคราะห์ แต่อย่างไรก็ตามต่อไปทุกคนจะต้องทำให้ตัวเองถนัดใช้สมองทั้งสองซีกให้เท่าเทียมกันครับ ใครด้อยซีกไหนก็พัฒนาซีกนั้นหากต้องการอยู่รอด ด้วยความคิดดังกล่าวนี้บวกกับการเปลี่ยนแปลงในสิ่งต่างๆรอบตัวเราทั้งในเรื่องของธุรกิจและอื่นๆที่เราๆท่านๆสามารถสังเกตเห็นได้จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่าอนาคตเป็นยุคแห่งแนวคิดหรือ Conceptual Age ซึ่งเหล่ามนุษย์ทำงานที่ต้องการจะไต่เต้าไปสู่ดวงดาวจะต้องมี 5 ทักษะสำคัญจึงจะไปถึงฝั่งฝันได้แค่ความรู้ทักษะความสามารถและใบปริญญาไม่เพียงพอแล้วครับ ซึ่งเชื่อกันว่าทักษะเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญที่เกี่ยวโยงกับสมองซีกขวา และเป็นสิ่งที่บริษัทองค์กรชั้นนำต่างๆมองหาจากพนักงานของตนและผู้ที่มาสมัครงาน โดยยอมรับกันว่าพนักงานที่ดีที่สุดแห่งอนาคตกาลจะต้องเป็นเลิศในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และคิดได้อย่างแตกต่างแปลกใหม่ สังเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆหรือวิธีการใหม่ๆในการทำงานจากความหลากหลายของสิ่งที่มีอยู่ รวมทั้งใช้นามธรรมสัญลักษณ์เชิงจินตภาพมานำเสนอและคิดสรรค์แนวคิดใหม่ๆแม้บริบทต่างๆจะยังไม่เคยมีจริงในขณะนั้นก็ตาม

สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับคือ ความก้าวหน้าในปัจจุบันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการเข้าถึงหรือครอบครองสารสนเทศ ในองค์กรระดับเดียวกันเริ่มมีความทัดเทียมกันมากขึ้น ดังนั้นความได้เปรียบในการแข่งขันจึงมาจากความสามารถในการกลั่นสารสนเทศที่มีอยู่ออกมาใช้ประโยชน์ใครทำได้มากกว่าดีกว่าและเร็วกว่าก็จะได้รับชัยชนะ ซึ่งได้มาจากการเชื่อมระหว่างผลผลิตของสมองซีกซ้ายเข้ากับผลผลิตของสมองซีกขวาให้เป็นรูปธรรม ทักษะที่จะเป็นสะพานเชื่อมนี้ประกอบด้วย 5 ทักษะหลักที่สำคัญ ได้แก่

1. การมีความสามารถในการสร้างจินตภาพในเชิงยุทธศาสตร์ เกี่ยวกับอนาคต กล่าวคือเป็นความสามารถในการเห็นภาพในอนาคตที่ชัดเจนรวมทั้งเห็นถึงแนวทางที่จะทำให้ภาพฝันนั้นเป็นจริงได้ด้วย ที่ผ่านมามนุษย์ทำงานมักจะเห็นเพียงปัจจุบันหรืออนาคตอันใกล้เท่านั้น อาจจะเป็นเพราะภาระกิจมากมายในแต่ละวันรวมทั้งขอบเขตของการทำงานที่จำกัดความคิดอยู่ในมุมแคบๆความจำเจเดิมๆจนทักษะในการเห็นถึงอนาคตจากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในปัจจุบันและอาจจะมีขึ้นในอนาคตอ่อนพลังลงหรือสูญสิ้นไป แต่ผู้คิดจะอยู่รอดจะต้องเรียนรู้พัฒนาทักษะนี้ให้เกิดขึ้น ซึ่งก็ทำได้หลายวิธีการ เช่น การฝึกสร้างสถานการณ์ (Scenario) พยากรณ์อนาคตเกี่ยวกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ตนเองทำงานอยู่ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า เช่น ในปี 2020 บริบทของธุรกิจจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรได้บ้าง และควรจะเตรียมรับสถานการณ์แต่ละอย่างไว้อย่างไร

2. มีความสามารถในการตั้งคำถามที่ขยายโลกทัศน์ให้ก้าวไกล ที่ช่วยให้เราคิดในมุมมองใหม่ๆที่แตกต่างไปจากเดิมๆหรือที่คนอื่นๆทั่วไปคิดกัน เช่น เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรของกิจการ บุคลากรในธุรกิจสถานพยาบาล ทั่วไปแล้วอาจจะตั้งคำถามเกี่ยวกับวิธีการรักษาพยาบาลให้มีคุณภาพเป็นเลิศหรือเชี่ยวชาญในการรักษาโรคเฉพาะบางอย่างเพื่อสร้างจุดขายให้กับตนเอง แต่หากคิดแบบขยายโลกทัศน์ อาจจะตั้งคำถามที่แปลกใหม่ถ้าไม่มีลูกค้ามาใช้บริการรักษาโรคที่สถานพยาบาลเลยล่ะ ปรากฎการณ์นั้นจะเป็นจริงเพราะเหตุใดได้บ้าง ซึ่งอาจจะได้คำตอบว่าเพราะบริการไม่ดี ผู้มารับการรักษาแล้วไม่หายหรือตาย หรืออาจจะเป็นได้ว่าไม่มีใครป่วยเลยจึงไม่มีใครมาใช้บริการรักษาโรค ซึ่งอาจจะทำให้ปิ๊งไอเดียที่เป็นโอกาสใหม่ๆ เช่น บริการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นต้น การพัฒนาต้นพัฒนาทักษะการตั้งคำถามแบบนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากครับ เปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนช่างสงสัยก่อนครับ แล้วลองใช้คำถามประเภท “สมมติว่า...” หรือ “What…if” เพื่อกระตุ้นต่อมคิดครับ หรืออาจจะหัดมองแบบตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นจริงอยู่ในขณะนั้นๆก็ได้ครับ หัดให้ชำนาญครับแล้วจะแปลกใจตัวเองครับว่ากลายเป็นคนช่างคิดไปได้อย่างไร และความคิดที่แปลกใหม่แตกต่างเหล่านั้นอาจจะนำไปสู่ไอเดียใหม่ๆที่จะเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้กับธุรกิจก็ได้

3. มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กล่าวคือให้ลองหาวิธีการแก้ปัญหาในรูปแบบใหม่ๆ ไม่ติดยึดกับวิธีการเดิมๆหรือที่โดยทั่วไปนิยมกัน เพราะถ้าใช้วิธีการเดิมๆผลที่ได้ก็ไม่แตกต่างไปจากเดิมครับ แต่หากใช้วิธีใหม่ๆโอกาสที่จะได้มากกว่าหรือดีกว่าก็เป็นไปได้ครับ แต่พื้นฐานที่สำคัญของการแก้ปัญหาก็ยังละเลยไม่ได้นะครับ ทั้งเรื่องการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลหรือ Logical และการคิดอย่างเป็นระบบหรือ System thinking เพียงให้เติมความสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาเข้าไปด้วย ด้วยการคิดทางเลือกของวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไปหลายๆแนวทาง วิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แบบง่ายๆวิธีการหนึ่งที่ทุกท่านสามารถฝึกได้ในชีวิตประจำวัน คือ การมองสิ่งต่างๆรอบตัวแล้วคิดต่อสิ่งเหล่านั้นในมุมมองใหม่ๆด้วยสายตาของเด็กที่ไม่เคยรู้จักสิ่งเหล่านั้นมาก่อนเลย แล้วจินตนาการดูว่าสิ่งเหล่านั้นคืออะไร มีไว้เพื่ออะไร อรรถประโยชน์คืออะไรได้บ้าง หรืออาจจะนำสิ่งที่อยู่รอบๆตัวของเรามาใช้ประโยชน์ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปก็ได้ครับ ประมาณเกือบ 30 ปีที่แล้ว หากท่านผู้อ่านบางท่านที่เกิดทันหรือเคยได้ยินได้ชมภาพยนตร์ซีรีเรื่องหนึ่งคือ MacGyver ตัวเอกของภาพยนตร์เป็นตัวอย่างที่ดีของนักแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์ที่สามารถหยิบใช้สิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อนำมาแก้ไขสถานการณ์ปัญหาเฉพาะหน้าเอาตัวรอดได้เป็นอย่างดี พวกเราก็เป็นอย่างนั้นได้ครับหากได้ฝึกฝนกันบ่อยๆ

4. มีความสามารถปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลง เป็นที่ทราบดีว่าการเปลี่ยนแปลงได้ทวีอัตราเร่งมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านั้นมันเป็นไปอย่างเชื่องช้า ตัวอย่างที่ชัดเจนหนึ่งคือเรื่องการสื่อสารคมนาคม พสกเราลองดูสิครับว่าเราเคยผ่านช่วงเวลาที่ใช้โทรศัพท์แบบมีสายหรือโทรศัพท์พื้นฐานมานานเท่าไหร่ครับ จากระบบหมุนแป้นตัวเลขไปสู่ระบบแป้นสัญญาณ DTMF แบบกดปุ่ม หลายสิบปีเลยครับ แต่เมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เปลี่ยนโฉมไปมากมายจากระบบ Analog สู่ 4G ด้วยเวลาไม่ถึง 10 ปี ขนาดเล็กลงเรื่อยๆ วิธีใช้งานที่คาดไม่ถึง รวมทั้งยังคอนเวอเจนท์กับเทคโนโลยีอื่นๆจนกลายเป็นอุปกรณ์เอนกประสงค์ไปแล้ว (Multi-purpose Device) การสร้างทักษะการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในอีกมุมมองหนึ่งก็คือการเตรียมความพร้อมหากมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นหรือในด้านบริหารจัดการเรียกว่าการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยการเตรียมความพร้อม การมีแผนสำรองต่างๆไว้หลายๆแผนด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ที่หลากหลายที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อให้เราสามารถปรับตัวได้ทัน ในเมื่อเป้าหมายในงานและในชีวิตของเราชัดเจนแล้วและต้องสำเร็จให้ได้ การเปลี่ยนแปลงก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแน่นอน การที่จะสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่นั้นผู้ที่พร้อมกว่าบริหารความเสี่ยงได้ดีกว่ายอมประสบความสำเร็จมากกว่าครับ

5. มีความสามารถในการฟื้นตัวได้รวดเร็ว กล่าวคือ ล้มแล้วลุกได้เร็ว ไม่ติดยึดหรือจมอยู่กับความล้มเหลว ซึ่งตรงนี้หัวใจสำคัญคือต้องคิดบวก Positive thinking แม้จะมีข้อจำกัดอยู่มากมาย เช่น ความไม่พร้อมในสิ่งต่างๆหรือสูญเสียอะไรที่สำคัญต่อการทำงานหรือดำเนินชีวิตไปบ้าง แต่ก็ต้องค้นหาวิธีการที่จะฟื้นคืนชีพให้เร็วที่สุดบนพื้นฐานที่จำกัดนั้น หลายๆท่านอาจจะนึกไปถึงช่วงปีที่ผ่านมาซึ่งเราประสบมหาอุทกภัยจนหลายกิจการต้องหยุดดำเนินการไป แต่ภายหลังเหตุการณ์ผ่านพ้นเราก็จะเห็นว่ามีบางกิจการที่กลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่บางกิจการกลับยังไม่สามารถเริ่มดำเนินงานได้แม้ว่าความเสียหายจะไม่ต่างกันนักก็ตาม ซึ่งมนุษย์ทำงานก็ไม่ต่างกันบางคนพลาดแล้วกลับตัวได้รวดเร็ว บางคนก็ถลำลึกจนเยียวยาได้ยาก การเริ่มพัฒนาทักษะนี้ก็คงต้องคิดเพิ่มคิดต่อเป็นสิ่งที่จะต้องทำต่อเนื่องจากการพัฒนาทักษะในข้อ 4 ครับ ให้คิดว่าหากมีอะไรพลาดหรือล้มเหลวแล้วจะหยุดความเสียหายด้วยวิธีการใด แล้วจะเริ่มต้นใหม่อย่างไร กล่าวคือ มีแผนรองรับไว้ครับ ถึงเวลาเกิดขึ้นจริงๆจะได้ไม่ต้องจิตตกหรือมืดแปดด้านทำอะไรไม่ถูก ถ้ามีแผนไว้แล้วก็แค่กางแผนแล้วเดินหน้าได้เลย

ที่เล่าสู่กันฟังนี้ก็อยากจะแบ่งปันและชวนท่านผู้นำผู้บริหารองค์กรต่างๆรวมทั้งมนุษย์ทำงานทั้งหลายที่ปรารถนาความสำเร็จในงานและชีวิตให้ได้ลองเอาไปคิดและประเมินตัวเองและองค์กรของท่านครับ ตรงไหนยังอ่อนก็เพิ่มยังด้อยก็เสริมเพราะเป้าหมายของพวกเราชัดเจนครับว่าต้องรอดชีวิตมุ่งสู่เป้าหมายในยุคแห่งสงครามปัญญาให้ได้ครับ “I will survive.” ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและชีวิตส่วนตัวนะครับแล้วพบกันใหม่ครับ

แสดงความคิดเห็น

บทความอื่นๆน่าสนใจ

Miracle Success สำเร็จอัศจรรย์

26 ก.ย. 2561   อ่าน 1,312    หมวด การพัฒนาตนเอง

บรรลุภาวะผู้นำแบบเบ็ดเสร็จด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ

26 ก.ย. 2561   อ่าน 2,978    หมวด การพัฒนาตนเอง

12 แนวคิดพิชิตผลงาน

29 ต.ค. 2561   อ่าน 1,286    หมวด การพัฒนาตนเอง

การสร้างคุณค่าของตนเอง เพื่อพัฒนาตนเองด้วยการเปลี่ยนแปลง

29 ต.ค. 2561   อ่าน 6,933    หมวด การพัฒนาตนเอง

จิตตก คิดมาก หันมาอ่านเรื่องนี้

29 ต.ค. 2561   อ่าน 1,791    หมวด การพัฒนาตนเอง

คุณมีทางเลือก ทางเลือกเป็นของคุณ

15 พ.ย. 2561   อ่าน 5,022    หมวด การพัฒนาตนเอง

หลักสูตรที่น่าสนใจ

ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อการจัดการปัญหา (Problem Solving & Decision Making with System Thinking)

หมวด Management and Productivity   อ่าน 2,512

การคิดเชิงระบบและการประยุกต์ใช้ด้วยตัวเอง (System Thinking & Applied)

หมวด Thinking   อ่าน 3,134

การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจด้วยการคิดแบบระบบ ((Excellent Problem Solving & Decision Making with System Thinking))

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 1,692

การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจด้วยการคิดแบบระบบ (Excellent Problem Solving & Decision Making with System Thinking)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 1,785

การพัฒนาทักษะการคิดแบบระบบ (System Thinking)

หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other)   อ่าน 1,888

การแก้ปัญหาและการตัดสินใจเชิงเหตุผลด้วยการคิดเชิงระบบ (Problem Solving & Decision Making by System Thinking)

หมวด Thinking   อ่าน 4,032

การคิดเชิงระบบและการประยุกต์ใช้ด้วยตัวเอง (System Thinking & Applied)

หมวด Advance Thinking   อ่าน 3,266

การพัฒนาตัวเองเพื่อก้าวสู่ผู้จัดการยุคใหม่ (Self-development to become a new generation manager)

หมวด Leadership   อ่าน 4,125

สถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง

Constra

ศูนย์บริการครบวงจรสำหรับการพัฒนาบุคลากรขององค์กร รับออกแบบโปรแกรมฝึกอบรมโดยทีมงานผู้เชี่ยวชาญและมากประสบการณ์

Contact us

บริษัท เอ็นมาร์ก โซลูชั่น จำกัด

112 ซ.รามคำแหง 30/1 ถ.รามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240

E-mail : asst.entraining@gmail.com
cocoachentraining@gmail.com
โทรศัพท์ : 02-732-2345 / 02-374-8638
Hotline : 086-303-6747 / 091-770-3350
091-770-3354
Fax : 0-2375-2347

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • เว็บไซต์การเรียนรู้ออนไลน์
  • แหล่งรวมความรู้เกียวกับโค้ช
  • เว็บไซต์ส่วนตัว อ.ปกรณ์
  • แบบทดสอบออนไลน์
  • เว็บไซต์เอ็นเทรนนิ่งภาษาอังกฤษ
  • เว็บไซต์ : Peakpotential
  • คำค้นหา / Tags,Keyword,Category
Copyright © All Rights Reserved. Enmark Solution Company Limited.