โดยทีมงานเอ็นเทรนนิ่ง 4 มิถุนายน 2564 1,322 0
หน้าแรก / ห้องสมุดเอ็นเทรนนิ่ง / บทความหมวด หัวหน้างานนักบริหาร / Strategic Management for Successful Manager
15 มิ.ย. 2564 อ่าน 786 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
25 มิ.ย. 2564 อ่าน 871 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,475 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
7 ก.ย. 2561 อ่าน 5,100 หมวด ทั่วไป
11 ม.ค. 2566 อ่าน 55 หมวด การบริหารโครงการ
15 ส.ค. 2561 อ่าน 2,138 หมวด ทั่วไป
สำหรับผู้ที่เพิ่งได้รับการเลื่อนขั้นเป็นหัวหน้างาน หรือผู้จัดการ หรือที่เราอาจเรียกว่า “ผู้จัดการมือใหม่” นั้น ไม่น้อยก็มาก มักจะมีความอึดอัดขัดข้องใจอยู่พอสมควร ใจหนึ่งก็ดีใจและภูมิใจที่ได้เลื่อนตำแหน่ง มีรายได้เพิ่มมากขึ้น อาจจะมีรถประจำตำแหน่ง มีชื่อพร้อมตำแหน่งใหม่บนนามบัตร ย้ายโต๊ะทำงาน ฯลฯ แต่อีกใจหนึ่งก็กังวลกับหน้าที่ใหม่ และบทบาทใหม่ที่รับ ภาระหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น ความรับผิดชอบที่มากขึ้น เรื่องราวใหม่ ๆ ที่ต้องเรียนรู้มากขึ้น ฯลฯ ที่สำคัญหากทำพลาด หรือทำไม่ได้อย่างที่บริษัทคาดหวังไว้ก็อาจจะถูกตำหนิ หรือถูกถอนตำแหน่งคืน หรือร้ายยิ่งกว่านั้น อาจจะถูกบีบให้ออกจากงานไปหางานที่ใหม่ทำก็เป็นได้ ดังนั้นการได้รับการเลื่อนขั้นขึ้นเป็นผู้จัดการ อาจจะกลายเป็นลาภที่มาพร้อมกับความทุกข์ก็ได้
งานที่เพิ่มเข้ามาให้ผู้จัดการมือใหม่ได้รับมือ และเป็นงานที่อาจจะไม่คุ้นเคยมาก่อนก็เช่น งานของการเป็นผู้นำหน่วยงาน งานบริหารและจัดการคน งานวางแผนงบประมาณ งานแก้ปัญหาจากที่เคยเป็นแค่สมาชิกกลับต้องมาเป็นหัวหน้าทีม งานวัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของพนักงานในหน่วยงาน งานอบรมให้ความรู้เป็นต้น และงานที่มักจะสร้างปัญหาให้มากที่สุดก็คืองานที่เกี่ยวกับการเป็นผู้นำ
หากกล่าวถึงการเป็นผู้นำ เราอาจจะต้องอธิบายย้อนไปตั้งแต่การเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมของมนุษย์เลยทีเดียว โดยทั่วไปสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีมันสมองใหญ่กว่าสัตว์ชนิดอื่นบนโลก มีความคล่องแคล่วว่องไว และสามารถคิดได้อย่างมีเหตุผล และที่สำคัญก็คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่ว่าจะเป็นสัตว์กินพืช หรือสัตว์นักล่า ก็มักจะอยู่รวมกันเป็นฝูง และมีผู้นำฝูง มนุษย์ก็เช่นกัน
การอยู่รวมกันเป็นฝูงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็เพื่อความอยู่รอด บางชนิดก็อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ บางชนิดก็อยู่กันเป็นฝูงย่อย และที่สำคัญต้องมีผู้นำหรือจ่าฝูง หากเป็นสัตว์กินพืช โดยมากหัวหน้าจะต้องคอยปกป้องฝูง คอยเฝ้าดูสัตว์นักล่าที่ป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ ๆ หากเป็นพวกนักล่าก็จะแบ่งออกเป็นสองประเภท เช่นพวกหมาป่า หัวหน้าฝูงนอกจากจะต้องคอยป้องกันฝูงแล้วยังต้องเป็นผู้นำในการล่า และกำหนดกลยุทธ์ในการออกล่าด้วย แต่ถ้าเป็นสิงโต หัวหน้าฝูงจะทำหน้าที่เพียงแค่ปกป้องพื้นที่และฝูงของตน ส่วนพวกที่ล่าก็จะเป็นกลุ่มตัวเมียที่อยู่ในฝูง แต่เมื่อได้อาหารมาจ่าฝูงจะได้กินส่วนที่ดีที่สุดก่อนเสมอ
สำหรับมนุษย์ การเป็นหัวหน้าฝูงมีหน้าที่มากกว่านั้น เนื่องจากมนุษย์ไม่ได้มีชีวิตอยู่เพียงเพื่อสืบเผ่าพันธุ์หรือทำให้ท้องอิ่มเท่านั้น เรามีอะไรทำมากกว่านั้น การเป็นผู้นำหากนำได้ดีก็จะทำให้พรรคพวกอยู่รอด และหากทำพลาดก็อาจจะหมายถึงหายนะ อยู่ที่ว่าเราจะเลือกที่จะเป็นผู้นำแบบไหน
กลับมาที่คำว่าผู้จัดการ ในแต่ละองค์กร ล้วนมีผู้จัดการหรือผู้นำอยู่มากมายหลายระดับ ตั้งแต่ระดับต้น เช่นหัวหน้าไลน์การผลิต ซุปเปอร์ไวเซอร์ หรือหัวหน้าแผนก ระดับกลาง เช่น ผู้จัดการ ผู้จัดการทั่วไป ไปจนถึงระดับสูง เช่นผู้อำนวยการ รองประธานบริษัท ประธานบริษัท ตำแหน่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้จัดการทั้งสิ้น ต่างคนต่างก็เป็นผู้นำ และผู้บริหารในหน่วยงานของตน ต่างกันตรงรายละเอียดและความยากง่ายของการบริหารงาน ซึ่งหากจะบริหารให้ประสบความสำเร็จก็ต้องมีกลยุทธ์การบริหารที่ดี
การบริหารงานอย่างมีกลยุทธ์ หรือ Strategic Management คือการบริหารงานที่ต้องใช้ทักษะและความรู้ในการวางแผน กำหนดนโยบาย ค้นหาความร่วมมือ และลงมือปฏิบัติ โดยใช้ทรัพยากรที่จำกัด เพื่อให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ไม่ว่าเราจะเป็นผู้บริหารในระดับใดก็ตาม ในตำแหน่งนั้นจะต้องมีเป้าหมายที่เราต้องทำให้สำเร็จอยู่เสมอ หรือที่เรียกว่า KPI ซึ่งแม้จะยังไม่ได้เป็นผู้จัดการก็มีเป้าหมายที่จะต้องทำให้สำเร็จอยู่แล้ว ประเด็นก็คือเป้าหมายในฐานะผู้จัดการไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียว เรามีทีมงานที่จะเป็นผู้ช่วยเพื่อให้งานนั้นสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนั้นการค้นหาความร่วมมือ หรือการสร้างทีมที่พร้อมจะช่วยให้เราทำงานให้สำเร็จจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้การวางแผนงานอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยคำนึงถึงจังหวะเวลา และงบประมาณที่จำกัดก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้
ผู้จัดการมีหน้าที่พื้นฐานอยู่ไม่กี่อย่างคือ Planning หรือการวางแผนงาน ซึ่งผู้จัดการต้องสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าอะไรจะเกิดขึ้น จากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา และต้องวางแผนการทำงานล่วงหน้า Organizing คือการสร้างความมั่นใจให้กับองค์กรหรือผู้บริหารระดับบน ว่าทรัพยากรทั้งที่เป็นมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์ จะถูกนำมาใช้อย่างถูกต้อง Commanding หรือ Leading คือหน้าที่ในการตัดสินใจว่าอะไรควรที่จะต้องทำ และวางตัวผู้ที่อยู่ในทีมงานเป็นผู้รับผิดชอบตัดสินใจว่าอะไรควรที่จะต้องทำ และวางตัวผู้รับผิดชอบ Coordinating คือหน้าที่ประสานงานตามโครงสร้างขององค์กรไปยังผู้จัดการในระดับเดียวกัน ระดับที่ต่ำกว่า หรือระดับที่สูงกว่า เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Controlling คือหน้าที่ตรวจสอบความก้าวหน้าของงานกับแผนการที่วางไว้ รวมไปถึงการวัดผลงานของผู้ที่อยู่ในทีมงานด้วย
ผู้จัดการยังต้องมีบทบาทเป็นผู้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง พนักงาน หัวหน้างาน และผู้บังคับบัญชา ซึ่งเรียกว่าต้องมี Interpersonal ที่ดี เป็นผู้ที่เก็บ แบ่งปัน และวิเคราะห์ข้อมูล หรือ Information ต่าง ๆ รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ และยังต้องเป็นผู้ ตัดสินใจ หรือ Make Decision ในงานต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
ซึ่งการที่จะทำให้บทบาทและหน้าที่ในฐานะผู้จัดการสำเร็จลุล่วงได้ ผู้จัดการรุ่นใหม่ต้องเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นดังคำพูดที่ว่า The thing that made you here, will not make you there สิ่งที่พาคุณมาจนถึงจุดนี้ จะไม่สามารถนำคุณถึงจุดหมายใหม่ของคุณได้ ดังนั้นผู้จัดการมือใหม่ต้องเพิ่มทักษะส่วนตัวอีกหลายอย่าง ซึ่งบางอย่างผู้จัดการมือใหม่อาจจะไม่อยากศึกษาเรียนรู้ แต่น่าเสียดายว่าทักษะที่เราไม่อยากเรียนรู้นั้น กลับกลายเป็นทักษะที่สำคัญในการเป็นผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จ
Political Skill หรือทักษะการเล่นการเมืองภายในองค์กร แม้ว่าคำว่าเล่นการเมืองในองค์กรอาจจะเป็นคำซึ่งไม่ได้ให้ความหมายในแง่บวกเท่าไรนัก การเล่นการเมืองหมายถึงว่า ผู้จัดการที่จะประสบผลสำเร็จต้องรู้ว่าใครมีอำนาจจริงในองค์กรหรือบริษัท เพื่อสร้างความสัมพันธ์หรือ Connection
Conceptual Skill หรือความสามารถในการมองภาพรวมจากมุมสูงเป็น เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ที่ซับซ้อน การรู้หลักการของเป้าหมายที่เรากำลังทำอยู่นั้น จะทำให้เราไม่หลงทางโดยง่าย และในบางครั้งการไม่ลงไปเล่นเองในทุกเรื่อง โดยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นทัพหน้าไปก่อนก็นับเป็นกลยุทธ์ที่ดี
Interpersonal Skill หรือความสามารถในการสื่อสาร กระตุ้น (motivate) สอนงาน กระจายอำนาจ พูดแล้วมีคนฟังมากกว่าคนขัด ความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจคน หรือเรียกอีกอย่างว่า เสน่ห์ หรือ Charming
Diagnostic Skill หรือความสามารถในการมองทะลุสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ถูกแนว เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ผู้จัดการที่ดีต้องสามารถใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมา รวมถึงการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลในการตรวจสอบต้นตอของปัญหาก่อนที่จะลงมือแก้ไข
Leadership Skill หรือความเป็นผู้นำที่ถูกกาลเวลา และเข้าใจภาวะผู้นำในหน่วยงานอื่นที่มีวัฒนธรรมที่แตกต่าง โดยผู้จัดการที่จะประสบความสำเร็จต้องสำเหนียกว่า เขาไม่ได้เป็นผู้นำเพียงคนเดียวในองค์กร ยังมีผู้จัดการที่เป็นผู้นำในหน่วยงานอื่นอยู่อีกด้วย การเป็นผู้นำที่ดีไม่ได้หมายถึงการเป็นผู้นำไปในทุกเรื่อง หรือทุกเวลา เราจะเป็นผู้นำเมื่อมีความจำเป็นที่ต้องนำ หรือเป็นหน้าที่ที่ต้องนำเท่านั้น
Technical Skill หรือการมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคในงานที่รับผิดชอบ แม้ว่าผู้จัดการอาจจะไม่ต้องลงมือปฏิบัติทางด้านเทคนิคเอง แต่ความรู้และการให้คำแนะนำที่ถูกต้อง จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกทีมได้ว่า พวกเขามีผู้นำที่มีความรอบรู้ และเขามาได้ถูกทางแล้ว
Behavioral หรือความมีระเบียบวินัย และบุคลิกส่วนตัวที่น่านับถือ เป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด การเป็นผู้นำที่ดีคือการเป็นผู้ที่มีความประพฤติที่ทำให้ผู้คนอยากทำตาม การมีบุคลิกส่วนตัวที่น่านับถือ จะทำให้เราสามารถทำงานหรือสั่งงาน หรือหาคนมาช่วยงานได้ง่ายขึ้น
การมีผู้จัดการที่มีความสามารถในการวางแผนงานและบริหารงานได้อย่างมีกลยุทธ์ นอกจากจะทำให้เป็นผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จแล้ว ยังจะทำให้องค์กรทั้งองค์กรประสบความสำเร็จไปด้วย
15 มิ.ย. 2564 อ่าน 786 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
25 มิ.ย. 2564 อ่าน 871 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 1,475 หมวด หัวหน้างานนักบริหาร
20 ก.พ. 2558 อ่าน 296 หมวด ร่วมเดินทางด้วยกัน
28 มิ.ย. 2564 อ่าน 2,177 หมวด การพัฒนาตนเอง
7 พ.ย. 2561 อ่าน 8,890 หมวด การตลาด-งานขาย
หมวด Leadership อ่าน 10,844
หมวด Advance Leadership อ่าน 2,132
หมวด หลักสูตรเฉพาะวิทยากร (Other) อ่าน 2,135
หมวด Coaching อ่าน 2,954
หมวด Coaching อ่าน 2,608
หมวด Coaching อ่าน 2,813
หมวด Leadership อ่าน 3,007
หมวด Leadership อ่าน 5,287