หลักสูตรฝึกอบรม การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ - หลักสูตร 1 วัน
(Quality Maintenance Pillar)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (Quality Maintenance Pillar)

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
ของเสีย หมายถึง ของที่มีคุณภาพไม่ครบสมบูรณ์ตามความต้องการของลูกค้าหรือของที่มี คุณสมบัติทางคุณภาพ และคุณสมบัติทางเคมี (เงื่อนไขทุกๆข้อของแบบ Drawing) ไม่สมบูรณ์ครบถ้วนตามที่ได้กำหนดไว้


เมื่อเกิดของเสียย่อมส่งผลกระทบกับองค์กรมากมายเช่น สิ้นเปลืองคน อุปกรณ์เครื่องจักร พลังงาน วัตถุดิบ ฯลฯ อีกทั้งยังทำให้เกิดความคิดฝังใจ จนกลายเป็นความเชื่อและวัฒนธรรมของการยอมรับให้เกิดของเสีย มีการซื้อ การจัดเก็บ และการใช้วัตถุดิบเกินความจำเป็น แรงงานเกิดความเหนื่อยล้าและเกิดความขัดแย้งขึ้นในการทำงาน

สภาพที่ไม่ก่อให้เกิดของเสีย (Defect Free Condition)
“เพื่อให้โรงงานปลอดปัญหาผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ บริษัทต้องวิเคราะห์กระบวนการผลิต และเครื่องจักรอย่างเต็มที่เพื่อกำหนดและรักษาสภาพที่ไม่นำไปสู่การเกิดของเสีย (Defect Free Condition)“

ใครคือผู้รับผิดชอบการบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ ฝ่ายควบคุมคุณภาพจะต้องรับผิดชอบในการส่งเสริมการบำรุงรักษาเชิงคุณภาพทั่วทั้งบริษัท หรือ โรงงาน โครงการที่ทำในการบำรุงรักษาเชิงคุณภาพมีความยากง่ายไม่เท่ากัน โครงการที่มีกระบวนการผลิตที่ใหญ่โต หรือต้องการเทคโนโลยีที่ทันสมัย จะต้องได้รับการแก้ไขโดย Project Team ที่นำโดยผู้จัดการแผนก ส่วนโครงการที่ง่ายให้กลุ่มย่อยในพื้นที่ทำงานได้ แก้ไขกันเอง หลังจากทีมงานกำหนดเงื่อนไขสำหรับของเสียเป็นศูนย์ พนักงานส่วนผลิตจะต้องดูแลและควบคุมสภาพเหล่านี้เกือบทั้งหมดให้เป็นส่วนหนึ่งของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ปัญหาที่ยากขึ้นจะแก้ไขโดย Project Team จากฝ่ายผลิต รวมกับแผนกอื่น เช่น ฝ่ายออกแบบผลิตภัณฑ์ วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมเครื่องจักร ฝ่ายบำรุงรักษา และประกันคุณภาพ ปรัชญาพื้นฐานที่จะนำไปสู่ Zero defect


เมื่อเราทราบถึงข้อกำหนดที่จะทำให้เกิด Zero defect แล้ว เราจึงต้องจัดทำแผนผังขั้นตอนดำเนินงานการบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ 10 ขั้นตอน


วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการดำเนินกิจกรรมลดของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect)
2. เพื่อยกระดับความสามารถของผู้เข้ารับการอบรมในแต่ละแผนก เข้าใจถึงกระบวนการที่ทำให้เกิดของเสียของแต่ละส่วนของที่ตนรับผิดชอบอยู่
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจรายละเอียดการดำเนินงาน มีความสามารถในการวางแผนปรับปรุงการผลิตเพื่อมุ่งสู่การผลิตของเสียเป็นศูนย์

กลุ่มเป้าหมาย
สำหรับผู้บริหาร
ผู้จัดการ
หัวหน้างาน

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
วัตถุประสงค์ของ การทำกิจกรรม Zero Defect
       Defect Free Condition คืออะไร
       ปรัชญาพื้นฐานที่จะนำไปสู่ Zero defect
       การดำเนินกิจกรรม การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ 7 ขั้นตอน [ย่นย่อ]
            1. จัดเตรียม QA matrix & Defect mode
            2. วิเคราะห์สภาพของปัจจัยการผลิต (4M)
            3. จัดเตรียม Problem Chart
            4. จัดทำ FMEA / Why Why analysis กับปัจจัยการผลิตที่มีข้อบกพร่อง / ปัญหาความสัมพันธ์ที่ไม่ชัดเจนต่อ
            5. วิเคราะห์หาวิธีการ และดำเนินการปรับปรุงตามแผนงาน
            6. ทบทวนสภาพปัจจัยการผลิต (4M) หลังการปรับปรุง
            7. กำหนดมาตรฐานที่ตรวจสอบได้ และนำไปปฏิบัติ
A. Case study [หน่วยงาน QC นำข้อมูลความสูญเสียที่เกิดขึ้น]
       จัดทำ QA matrix [2-3 Section]
       วิเคราะห์สภาพของปัจจัยการผลิต (4M) [2-3 Section]
       จัดทำ Problem Chart [2-3 Section]
       Why Why analysis
       วิเคราะห์หาวิธีการ และดำเนินการปรับปรุงตามแผนงาน
       ทบทวนสภาพปัจจัยการผลิต (4M) หลังการปรับปรุง
       กำหนดมาตรฐานที่ตรวจสอบได้นำไปปฏิบัติ
Q&A
Post-test

จำนวนผู้เข้าอบรม
20-30 คน/รุ่น

แนวทางการฝึกอบรม
บรรยาย และยกตัวอย่าง 70 % Work Shop 30 %   
ทำกิจกรรมระดมความคิดเห็นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนปรับปรุงการผลิตที่มีของเสียเป็นศูนย์

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม