หลักสูตรฝึกอบรม การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง - หลักสูตร 1 วัน
(Kaizen : A Powerful Approach to Performance Improvement)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen : A Powerful Approach to Performance Improvement)

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักสูตรใกล้เคียงที่อาจจะตรงโจทย์คุณ !!

หลักการและเหตุผล
“การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือไคเซ็นคือหัวใจที่เป็นเคล็ดลับแห่งความสำเร็จของธุรกิจญี่ปุ่นตั้งแต่ในอดีตจวบจนปัจจุบัน” ประโยคนี้หาได้เป็นการกล่าวอ้างที่เกินความเป็นจริงแต่อย่างใด ทั้งนี้มีประจักษ์หลักฐานที่สนับสนุนการกล่างอ้างนี้อย่างมากมาย แม้แต่โตโยต้าซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกที่ประสบความสำเร็จ อย่างมากในอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลกก็ยังยอมรับว่าเบื้องหลังของความสำเร็จคือไคเซ็นที่เปรียบเสมือนรากฐานค้ำยันความก้าวหน้าและพัฒนาการอย่างยั่งยืนขององค์กร ในแต่ละปีโรงงานแต่ละแห่งซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคต่างๆทั่วโลกของโตโยต้ามีโครงการปรับปรุง อย่างต่อเนื่องหรือไคเซ็นไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นโครงการต่อโรงงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้แต่โรงงานหรือองค์กรระดับชั้นนำของโลกยังให้ความสำคัญต่อสิ่งที่เรียกว่าไคเซ็น ทั้งนี้หากศึกษาอย่างลึกซึ้งถึงปรัชญาการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าที่หลายองค์กรนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจของตน จะพบว่าความสำเร็จของธุรกิจเกิดจากการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างกระบวนการ เทคโนโลยี และบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งปรัชญานี้เชื่อว่าความสำเร็จของธุรกิจมาจากคุณภาพของบุคลากร จึงให้ความสำคัญกับบุคลากรในฐานะที่เป็นทุนทางปัญญาขององค์กรซึ่งโตโยต้าได้กำหนดเป็นหลักการหนึ่งที่สำคัญของการผลิตแบบโตโยต้าซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับบุคลากรหรือ Respect for People โดยบุคลากรจะต้องได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสมและต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาที่ทำงานอยู่ในองค์กร ทั้งนี้การที่จะดำรงแนวคิดนี้และดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมจนหยั่งรากเป็นวัฒนธรรมขององค์กรได้นั้น ไคเซ็นหรือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นกุศโลบายหนึ่งที่ยอดเยี่ยมและมีประสิทธิผลสูง ซึ่งให้ผลสำเร็จทั้งในด้านการสร้างคนและสร้างผลประกอบการที่ดีให้กับองค์กรไปพร้อมๆกัน ซึ่งองค์กรที่ดำริและดำเนินโครงการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือไคเซ็นจะประจักษ์ได้ด้วยตนเองในระยะเวลาไม่นานนักถึงผลทางตรงและทางอ้อมจากการดำเนินโครงการฯ อาทิ ความสามารถและทักษะของบุคลากรที่พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดโดยไม่จำเป็นต้องทุ่มงบประมาณการฝึกอบรมอย่างมหาศาล ความพึงพอใจในงานและองค์กรของบุคลากรเพิ่มสูงขึ้น จนส่งผลต่อการลดลงอัตราการลาออกของบุคลากร คุณภาพของงานที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ องค์กรมีผลประกอบการและกำไรที่เติบโตอย่างน่าพอใจ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นข้อยืนยันที่ดียิ่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่องค์กรต่างๆมีความตื่นตัวและนำไคเซ็นมาดำเนินการกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน 
อย่างไรก็ตามประเด็นที่สำคัญมิได้อยู่ที่องค์กรมีการนำไคเซ็นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรหรือไม่ แต่อยู่ที่การทำไคเซ็นอย่างถูกต้อง มีความสอดคล้องกับบริบททางธุรกิจขององค์กร และเชื่อมโยงกับเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรมากน้อยเพียงใด ดังที่กล่าวแล้วว่าการทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือไคเซ็นนั้นให้ผลกับองค์กรในสองด้านกล่าวคือด้านพัฒนาบุคลากรและพัฒนาผลประกอบการ การที่จะให้ได้ผลทั้งสองด้านอย่างมีประสิทธิผลองค์กรหรือผู้นำในแต่ละระดับขององค์กรจะต้องเข้าใจในแนวคิดในภาพรวมและในรายละเอียดขั้นตอนรวมทั้งหลักการและเทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องจนสามารถประยุกต์ใช้ไคเซ็นได้อย่างถูกต้องเหมาะสมด้วย กล่าวคือทุกการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือไคเซ็นจะต้องมีความเชื่อมโยงกับการส่งมอบคุณค่าและเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กรและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบสืบเนื่องในเชิงลบหรือ Negative Side Effect การฝึกอบรมเกี่ยวกับไคเซ็นจึงจำเป็นและสำคัญยิ่ง เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งจะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงหรือขยายผลไปทั่วทั้งองค์กรต่อไปได้มีความเข้าในอย่างถูกต้องในทุกรายละเอียดจนสามารถริเริ่มประยุกต์และถ่ายทอดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิผล 
Kaizen คืออะไร? คำว่า “Kaizen” เป็นศัพท์ภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “การปรับปรุง (improvement)” ซึ่งหากแยกความหมายตามพยางค์แล้วจะแยกได้ 2 คำ คือ “Kai” แปลว่า “การเปลี่ยนแปลง (change)” และ “Zen” แปลว่า “ดี (good)” ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีก็คือการปรับปรุงนั่นเอง Kaizen เป็นแนวคิดธรรมดาและเป็นส่วนหนึ่งในทฤษฎีการบริหารของญี่ปุ่น ซึ่งโดยธรรมชาติหรือด้วยการฝึกฝนนั้นทำให้คนญี่ปุ่นมีความรู้สึกรับผิดชอบในการที่จะทำให้ทุกอย่างดำเนินไปโดยราบรื่นเท่าที่จะสามารถทำได้ด้วยการปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในชีวิตประจำวันหรือการทำงาน นี่เป็นจุดแข็งที่ทำให้ Kaizen ดำเนินไปได้อย่างดีในประเทศญี่ปุ่น เพราะโดยหลักการแล้ว Kaizen ไม่ใช่เพียงการปรับปรุงเท่านั้น แต่หมายความรวมไปถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดด้วย และที่สำคัญอย่างยิ่งคือเป็นการปรับปรุงงานและกระบวนการทำงานซึ่งตนเองเป็นผู้ปฏิบัติและรับผิดชอบโดยตรงแม้ว่าการปฏิบัติงานและผลงานจะอยู่ในเกณฑ์ดีอยู่แล้วก็ตาม เนื่องจากทุกๆงานสามารถทำให้ดียิ่งขึ้นไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดและควรจะปรับปรุงพัฒนาดียิ่งขึ้นกว่าเดิมทุกๆวัน 
ทีมและการมีส่วนร่วมคือสิ่งกำหนดความสำเร็จของ Kaizen การปฏิบัติงานใดๆ ก็ตามจะสำเร็จไม่ได้หากขาดความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในทางกลับกัน สิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็น โครงการ แผนงาน หรืองานที่ได้รับมอบหมาย ย่อมจะทำสำเร็จได้โดยง่ายถ้าได้รับความร่วมมือ การมีส่วนร่วม การจูงใจ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของสมาชิกแต่ละคนในองค์การ คำกล่าวที่ว่า “การให้พนักงานมีส่วนร่วม” นั้นดูเป็นสิ่งที่ไม่ยากนักแต่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้บริหารว่าการบริหารคนคือสิ่งที่ยากที่สุด อย่างไรก็ตามการผลักดันให้สมาชิกในองค์การเข้ามามีส่วนร่วมได้นั้น สำคัญอยู่ที่ความมุ่งมั่นและความตั้งใจจริงของผู้บริหารระดับสูง (Top Management Commitment) ความอุตสาหะพยายามและการมีนโยบายและแผนงานที่ชัดเจนทั้งนี้เนื่องจากการทำงานที่ดีได้อย่างเนื่องนั้นจำเป็นต้องมีระบบที่ดีมารองรับจึงจะสร้างสรรค์ให้เกิดผลอย่างที่ต้องการได้ ดังนั้นจุดเริ่มต้นที่ดีคือการฝึกอบรมสร้างความเข้าใจที่ตรงกันของทั้งผู้บริหารและบุคลากรในทุกระดับเกี่ยวกับ Kaizen เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมุ่งเน้นสร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วมความคิดปรับปรุงอย่างสร้างสรรค์จากพนักงานทุกคนอย่างกว้างขวางทั่วทั้งองค์กร โดยมีแนวคิดของ Kaizen เป็นพื้นฐาน เชื่อมโยงถึงค่านิยมบรรทัดฐานและเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร


วัตถุประสงค์
เพื่อถ่ายทอดความรู้ แนวคิด หลักการและเทคนิคต่างๆเกี่ยวกับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือไคเซ็นให้กับบุคลากรที่เข้ารับการอบรม
เพื่อแนะนำหลักการดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องที่มีประสิทธิผลตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ยุทธวิธีและการนำไปปฏิบัติให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปริเริ่มดำเนินการในหน่วยงานของตนได้อย่างถูกต้อง
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ผ่านการฝึกทักษะการดำเนินการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือไคเซ็นจากกรณีศึกษาตัวอย่าง เพื่อสร้างความเข้าใจในการดำเนินงานของแต่ละขั้นตอนอย่างเป็นระบบ จนสามารถนำไปขยายผลเป็นโครงการนำร่องการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในหน่วยงานของตน
 
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
Introduction to Kaizen (แนะนำสู่ไคเซ็น)
       Lean Thinking : A paradigm shift and the new way of future business thinking (คิดแบบลีนวิธีคิดสำหรับอนาคตที่ยั่งยืนของธุรกิจ)
       What is Kaizen? (ความหมาย ปรัชญา หลักการและแนวคิดของไคเซ็น)
       Quality Management (การบริหารคุณภาพ)
       Problem Solving with Kaizen (ปัญหาและการแก้ปัญหาด้วยแนวคิดไคเซ็น)
Kaizen Implementation (ปฏิบัติการไคเซ็น)
       Change Management and Kaizen Team (การบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จและการกำหนดทีมไคเซ็น)
       Team Based Problem Solving Techniques (เทคนิคการแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม)
       Improvement Tools (เครื่องมือการปรับปรุง เช่น QC and New QC Tools, VSM, Process Flow Analysis, ECRS, Lean Tools)
       Kaizen Event (การดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง)
          - การวางแผนและการเตรียมความพร้อม
          - การกำหนดคัดเลือกหัวข้อปัญหาสำหรับกิจกรรม Kaizen ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร
          - การออกแบบคัดเลือกมาตรการปรับปรุง
          - การจัดทำแผนปฏิบัติการปรับปรุง
       Kaizen Blitz (ไคเซ็นแบบเร่งรัด)
       PDCA and Standardization (วงรอบ PDCA และการทำให้เป็นมาตรฐาน)
Kaizen A3 Report and Presentation (การนำเสนอและติดตามการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย A3)
Kaizen Promotion and Motivation (การส่งเสริมไคเซ็น)
Cost-Benefit Analysis of a Kaizen Project (การประเมินวัดผลและการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลประโยชน์กับต้นทุนของโครงการไคเซ็น)
Kaizen Samples (ตัวอย่างไคเซ็น)
Kaizen Workshop Step by Step (กิจกรรมกลุ่มฝึกทักษะปฏิบัติการไคเซ็น)
Conclusion, Q&A (สรุปและตอบข้อซักถาม)


แนวทางการฝึกอบรม
การฝึกอบรมใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยเน้นให้ผู้เรียนได้คิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้ได้ทันที 
เนื้อหาของหลักสูตรมีทั้งการบรรยาย , การระดมสมอง (Brainstorming) , การปฏิบัติการ (Work Shop) , การแสดงสถานการณ์จำลอง (Simulation) และ การนำเสนอ (Present) ทำให้การเรียนรู้ เกิดความสนุกสนาน และสามารถเข้าใจด้วยตัวเองอย่างแท้จริง 
วิทยากรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการสอนแนะแบบกลุ่มหรือ Group Coaching เพื่อให้ผู้เรียนรู้ สามารถพัฒนาประยุกต์เทคนิคและเครื่องมือได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตนเอง และนำไปสู่การใช้ปฏิบัติงานจนเกิดความชำนาญ

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม