หลักสูตรฝึกอบรม เก่งงานพร้อมรับอาเซียน - หลักสูตร 1 วัน
(Now is the time to prepare yourself for the AEC)

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม เก่งงานพร้อมรับอาเซียน (Now is the time to prepare yourself for the AEC)

อ. ชวน ทองไทยสิน

(วิทยากรสถาบันฝึกอบรมเอ็นเทรนนิ่ง)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  093-649-3561 / 084-164-2057 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
 รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่สมบรูณ์ โดยสร้างความพร้อมและความเข้มแข็งทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการเมืองและความมั่นคง โดยที่ประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลักมีความสำคัญเท่าเทียมกัน ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปพร้อมๆ กัน การกำหนดการก้าวไปสู่ประชาคมเป็นวาระแห่งชาติ 
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งอาเซียน รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของประเทศ เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 ที่เน้นการปฏิบัติและเชื่อมโยงยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในภูมิภาค 
การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนไทยยุคใหม่ จะทำให้สภาพสังคมไทยในอนาคตเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต สังคมไทยจะประกอบไปด้วยผู้คนจากประเทศเพื่อนบ้านมากกว่ายุคปัจจุบันมากมาย เพราะเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าประเทศไทยเป็นประเทศน่าอยู่ สภาพการค้า การลงทุน สภาพเศรษฐกิจจะมีความใกล้ชิดกันมากขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน การคมนาคมจากประเทศหนึ่งสู่ประเทศหนึ่งจะมีความสะดวกสบายมากขึ้น จะมีการติดต่อสื่อสารระหว่างประชาชนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น สังคม ไทยจะเป็นสังคมหลากวัฒนธรรม การทำกิจกรรมร่วมกันของประชาชนในประชาคมอาเซียนจะเพิ่มขึ้น ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากขึ้นของประชาชนในภูมิภาคอาเซียน จะนำไปสู่การมีวัฒนธรรมที่หลากหลายในสังคม เกิดการตั้งถิ่นฐาน การย้ายแรงงานข้ามชาติจะเพิ่มมากขึ้น นี้เป็นเพียงบางส่วนของการเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อวิถีชีวิตของคนวัยทำงาน การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน มีทั้งส่วนได้และส่วนเสียอยู่หลายประการเช่นกัน 
ปัจจุบัน ประชาชนโดยทั่วไปของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งรวมถึงคนไทยยังไม่ได้มีความรู้สึกถึงความเป็น "พลเมืองอาเซียน" จากรายงานผลการสำรวจข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทัศนคติเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องอาเซียน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าตนเองเป็น "พลเมืองอาเซียน" ไม่ถึงร้อยละ 65 
โลกอนาคตนั้น “น่ากลัว” สำหรับผู้ที่ไม่ได้เตรียมการ แต่จะเป็น “โอกาส” สำหรับผู้ที่เตรียมพร้อม การเปิดประชาคมอาเซียนที่จะเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2558 เช่นเดียวกัน สามารถเป็นทั้งโอกาสและวิกฤตของคนทำงานไทย 
ข้อสรุปและผลการวิจัยหลายชิ้น ค้นพบว่า คนทำงานไทยยังมีวิธีคิดเกี่ยวกับการทำงาน ความรู้ ทักษะ และเอกลักษณ์ทางลักษณะนิสัยอีกหลายประการ ที่เมื่อนำมาคิดพิจารณาแล้วพบว่า อาจเป็น “อุปสรรค” ต่อการทำงานในอนาคต 
สิ่งที่ “จำเป็น” ต้องเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ก้าวเข้าสู่อาเซียนได้อย่างมั่นใจ โดยให้คำแนะนำดีๆ ที่เป็นประโยชน์และนำไปใช้ได้จริงเพื่อให้คนทำงานทุกคนเรียนรู้ที่จะมองอนาคตเพื่อลดความเสี่ยง การสำรวจจุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงตนเอง ทั้งนิสัย มุมมอง ทักษะการทำงาน รวมทั้ง การเรียนรู้ด้านต่างๆ

วัตถุประสงค์
 เพื่อให้ผู้เรียนได้แนวทาง,หลักการและความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานที่กำลัง ดำ เนินการอยู่ รวมทั้งเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับผู้ที่กำลังจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้จัดการในอนาคต 
เพื่อให้ผู้เรียนมีแนวคิด และเทคนิคในการวิเคราะห์สถานะของดำเนินงานในปัจจุบัน เพื่อประยุกต์ปรับใช้และ พัฒนาการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น 
เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นและเข้าใจสภาพปัญหาหรืออุปสรรคที่กำลังเผชิญอยู่ในแผนก/ ฝ่ายและปรับมุมมองใหม่ ต่อการดำเนินงาน หรืออุปสรรคต่างๆเพื่อให้พร้อมรับมือกับประชาคมอาเซียนที่จะมาถึง 
เพื่อเป็นการเพิ่มเติมประสบการณ์ที่ได้จากการสอนและการแลกเปลี่ยน ให้สามารถนำ ไปเป็นกรณีศึกษา สำหรับการดำเนินงานในอนาคต

รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
 PART 1 : แนวคิดประชาคมอาเซียนและการมองอนาคต 
       เป้าหมายการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน 
       
ผลดี – ผลเสียของการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน 
       
มองข้ามอาเซียน แต่มองโลกอนาคต 
       Workshop : ประเด็นน่าห่วงใยสำหรับองค์กร 
 PART 2 : เตรียมความพร้อมในองค์กรและการบริหารการเปลี่ยนแปลง
       ชอบเปลี่ยน ก่อนจะถูกเปลี่ยน 
       
การบริหารเปลี่ยนแปลง คน ระบบ บริบท 
       
เทคนิคการบริหารการเปลี่ยนแปลง : เทคนิค และเครื่องมือ 
       
กรณีศึกษา : การบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กร สู่ ประชาคมอาเซียน 
 PART 3 : พัฒนาตนสู่เป้าหมาย
       เป้าหมาย : คนไทยมาตรฐานโลก 
       ทักษะการคิดต่างๆ (ให้ผู้เรียนเสนอความต้องการให้อบรมการคิดใด ประกอบการบรรยาย เช่น การคิดเชิงวิเคราะห์ ,การคิดเชิงอนาคต , การคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น) 
       ทักษะการทำงาน (ให้ผู้เรียนเสนอความต้องการให้อบรมทักษะใด ประกอบการบรรยาย เช่น การสื่อสารในองค์การ , การวางแผนสู่เป้าหมาย , การโค้ช เป็นต้น) 
       ทักษะภาษา และวัฒนธรรม 
       Role play : การทำงานข้ามวัฒนธรรม 
 PART 4 : กรณีศึกษา : ตุ๊กตาล้มลุก และศึกษาตนเอง : ข้อดี – ข้อด้อย
       การพัฒนาตนเองให้รู้ลึก รู้กว้าง รู้ไกล 
       
แนวคิดตุ๊กตาล้มลุก และกรณีศึกษา 
       
เปิดรับสิ่งใหม่ เพื่ออนาคต 
       
Workshop : ข้อดี – ข้อด้อยองค์กร ,ข้อดี – ข้อด้อยทีมงาน, ข้อดี – ข้อด้อยตนเอง

แนวทางในการฝึกอบรม
การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนเป็นบุคคลสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ได้ในทันที ด้วยแนวทางของตัวเอง
การฝึกอบรมมีความหลากหลาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และ คิดถึงสถานการณ์ การทำงานของตัวเอง 
       การบรรยาย : เน้นเนื้อหาที่ใกล้ตัว เพื่อให้ง่ายต่อการเรียนรู้
       Work Shop : กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
       การนำเสนอ : เกิดการฝึกฝนการแสดงออกและทำงานเป็นทีม
       Role Playing : ทำให้เห็นสถานการณ์จริง โดยการแสดงแบบสมมติ 
       การตอบคำถาม : จูงใจให้ผู้ฝึกอบรมได้คิด และแสดงความคิดเห็น 
       การบ้านเพื่อการนำไปฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง 
วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้นๆ โดยการเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยตัวเอง

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม