หลักสูตรฝึกอบรม กฏหมายแรงงานฉบับใหม่ปี 2560 - หลักสูตร 1 วัน

หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม กฏหมายแรงงานฉบับใหม่ปี 2560

อ. พงศา บุญชัยวัฒนโชติ

(วิทยากร อาจารย์ และที่ปรึกษาด้านบริหารทรัพยากรบุคคล)

 โปรไฟล์ของวิทยากร

ติดต่อสอบถาม
  084-164-2057 / 093-649-3561 (HOTLINE)
  asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com

หลักการและเหตุผล
   รัฐบาลปัจจุบัน ได้ให้ความสำคัญและเพิ่มสิทธิแก่ผู้ใช้แรงงานมากขึ้น ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหลายฉบับ อาทิเช่น ออก พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 5 (พ.ศ.2560) โดยเพิ่มบทลงโทษ ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การใช้แรงงานเด็ก และยังมีการนำเสนอร่างกฎหมาย เกี่ยวกับการกำหนดอายุเกษียณของลูกจ้างและการดำเนินการเกี่ยวกับข้อบังคับการทำงานอีกด้วย ล่าสุด คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2560 ฉบับ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน 2541 อีกกว่า 10 ประเด็น เตรียมเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อพิจารณาประกาศใช้ 
   โดยคาดว่าจะประกาศใช้ในอีกไม่นานนี้ องค์กรจึงควรเล็งเห็นความสำคัญของข้อกฎหมายที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ซึ่งหากไม่ทำความเข้าใจให้ถูกต้องชัดเจนแต่เนิ่นๆ อาจทำให้องค์กรได้รับผลกระทบจากการเตรียมรับมือไม่ทัน ในการปรับแก้ข้อกำหนดและเงื่อนไขให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายใหม่ อันอาจมาจากการที่ไม่รู้ลึก รู้จริงในแนวทางการบริหารคน ให้สอดคล้องกับกฎหมาย และหลักจิตวิทยา

เจาะประเด็น พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ปี 60 เพื่อความพร้อมขององค์กร

วัตถุประสงค์
1. ผู้เข้าอบรม ได้รู้และเข้าใจ ในข้อกฎหมายใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง 
2. ผู้เข้าอบรม ได้รู้และเข้าใจ แนวทางการบริหารงานบุคคล ให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร 
3. ผู้เข้าอบรมเข้าใจเจตนารมณ์ และ การปฏิบัติตาม กฎหมายแรงงาน และ สามารถนำมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 
4. สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ผู้บริหารและหัวหน้างาน ในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับกฎหมาย
 
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
1. แนวทางการบริหารงานบุคคล ยุคใหม่ให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร
2. นายจ้างคือใคร ? ทำไมหัวหน้างานและผู้บริหาร ต้องงรู้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
3. สิทธิ หน้าที่และ ความรับผิดชอบของ หัวหน้างานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
4. สาระสำคัญ ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 5 พ.ศ.2560 ที่ประกาศใช้แล้ว อาทิ 
       การใช้แรงงานเด็กและเพิ่มเติมบทลงโทษนายจ้าง
5. สาระสำคัญ ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ ( ) พ.ศ.2560 ที่กำลังเสนอสภานิติบัญญัติ เพื่อพิจารณาประกาศใช้ อาทิ 
       บทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภท เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงาน 
       ปรับปรุงบทบัญญัติเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน 
       บทบัญญัติเกี่ยวกับการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ 
       เพิ่มบทกำหนดโทษกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ 
       การเตรียมการเรื่อง การเกษียณอายุพนักงาน เพื่อรองรับกฎหมายใหม่ ที่จะประกาศใช้ในเร็วๆนี้
6. สาระสำคัญ ของ พรบ.คุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ ( ) พ.ศ.2560 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ อาทิ 
       กำหนดเพิ่มเติมนิยาม “ค่าตอบแทน” ในมาตรา 5 
       กำหนดให้การเปลี่ยนตัวนายจ้างต้อง ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและให้นายจ้างใหม่รับไปทั้งสิทธิหน้าที่ 
       กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วัน ทำงาน 
       กำหนดอัตราค่าชดเชยเพิ่มเติมกรณีนายจ้างเลิกจ้างสำหรับลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป 
       กำหนดให้การย้ายสถานประกอบกิจการให้รวมถึงการย้ายไปที่ซึ่งนายจ้าง มีสถานประกอบกิจการอยู่แล้วด้วย 
       กำหนดให้เวลาการจ่ายค่าชดเชยพิเศษหรือค่าชดเชยพิเศษแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าให้ แก่ลูกจ้างโดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่สัญญาจ้างสิ้นสุด 
       และสาระสำคัญอื่น ๆ อีกหลายประเด็น
7. รูปแบบการจ่ายค่าตอบแทน แบบใดถือเป็นค่าจ้าง แบบใดถือว่าไม่เป็นค่าจ้าง ตามกฎหมาย พร้อมกรณีศึกษา
8. ขั้นตอนและกระบวนการที่องค์กรต้องตรวจสอบและการปรับปรุงกฏข้อบังคับและเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อรองรับกฏหมายใหม่
9. ทักษะและเทคนิคการบริหารวินัยพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ
10. เทคนิคการเขียนหนังสือเตือน การดำเนินการตักเตือน และการลงโทษวินัยพนักงาน 
11. การเลิกจ้างที่เป็นธรรม และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คุณสมบัติผู้เข้าอบรมสัมมนา
เจ้าหน้าที่บุคคล
 ผู้จัดการ
 หัวหน้างาน
 ผู้บริหาร
 ผู้ที่สนใจ

แนวทางการฝึกอบรม
บรรยาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 
แลกเปลี่ยนประสบการณ์

ออกแบบการเรียนรู้อย่างครบวงจร (6 Step Learning Model) ได้ตามต้องการ
(Blended learning)

Step 1 : การจัดทำวิดีโอออนไลน์ Micro Learning

การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)

  รับชม

Step 2 : การดำเนินการสอนด้วย Classroom / Virtual Classroom

การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning

  รับชม

Step 3 : การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic

  รับชม

Step 4 : การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1 on 1 Coaching & Mentor

การพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor

  รับชม

Step 5 : การนำเสนอโครงการปฏิบัติงานจริง (Project Assignment)

การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง

  รับชม

Step 6 : การติดตามผลลัพธ์การเรียนรู้ (Follow Up)

การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม

  รับชม