หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะอย่างเป็นเหตุเป็นผล (Analytical Thinking and Logical Thinking)
(วิทยากรที่ปรึกษา)
ติดต่อสอบถาม
091-770-3354 / 091-770-3350 / 086-303-6747 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและแนวความคิด
“ขอให้สั่งมาเถอะว่าจะให้ทำอะไร ผมจะทำให้สุดความสามารถ... ผมถนัดทำ ไม่ถนัดคิด!”
“ทำไมเราใช้ทรัพยากรมากมายกับโครงการนี้ แต่ดูเหมือนว่าจะไม่บรรลุผลเท่าที่ควร?”
“ปัญหาลุกลามขยายตัวจากเล็กเป็นใหญ่แก้ไขยากขึ้น เราแก้ปัญหามาถูกทางหรือเปล่า?”
“ทำไมถึงเกิดปัญหาเดิม ๆ ขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก เราแก้ไขปัญหาตรงจุดหรือเปล่า?”
“ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้เยอะมาก ยิ่งดูยิ่งสับสน เราจะประมวลข้อมูลอย่างไรให้เป็นลำดับชัดเจน เป็นเหตุเป็นผล มีวิธีไหนช่วยได้บ้าง?” ความคิดนำมาซึ่งการกระทำ การกระทำก่อให้เกิดผลลัพธ์ ผลลัพธ์จะดีหรือไม่จึงขึ้นกับจุดเริ่มต้นที่สำคัญคือการคิด การคิดที่ถูกวิธีย่อมช่วยให้ประเมินสถานการณ์ได้แม่นยำ เข้าสภาพปัญหาอย่างถูกต้อง นำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ชัดเจน แต่ตรงกันข้าม หากคิดวิเคราะห์ปัญหาผิดจุดผิดประเด็น การพยายามทุ่มทรัพยากรลงไปแก้ไขปัญหานั้นย่อมไม่ช่วยบรรเทาปัญหาได้ ซ้ำร้ายอาจยิ่งสร้างปัญหาใหม่ที่ยุ่งยากขึ้นอีก ความสำเร็จขององค์กรจึงอยู่ที่ความสามารถและทักษะการคิดของบุคลากรทุกระดับ
การพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถและทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ สมเหตุสมผลมีตรรกะที่ชัดเจน ถือว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ช่วยให้การทำงานทุกประเภทในองค์กรประสบบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น การวางแผนงาน การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การเข้าใจลูกค้า การประเมินตลาด ตลอดจนการบริหารจัดการงานต่าง ๆ ประเด็นท้าทายขององค์กรต่าง ๆ คือ จะทำอย่างไรให้บุคลากรทุกระดับมีทักษะการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล
หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาบนพื้นที่ว่า การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลนั้นเป็นทักษะที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ หากได้รับการเรียนรู้ฝึกฝนอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอนผ่านกระบวนการที่พิสูจน์แล้วว่าได้ผล ซึ่งจะช่วยสร้างพื้นฐานการคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะให้กับบุคลากรขององค์กร ได้เข้าใจหลักการ เทคนิค และเครื่องมือในการคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะอย่างมีประสิทธิผล จนสามารถสอนแนะและถ่ายทอดไปประยุกต์ปรับใช้ในการปฏิบัติงานของตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชาต่อไป
สิ่งที่ผู้รับการอบรมจะได้รับจากหลักสูตร
1. เรียนรู้ทักษะการคิดที่มีคุณภาพ ช่วยให้เกิดมุมมองอย่างรอบด้านในการวิเคราะห์ประเมินสถานการณ์อย่างมีเหตุมีผล
2. สามารถจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่วิเคราะห์หรือสิ่งที่จะทำได้ตรงตามเป้าหมาย
3. ใช้เครื่องมือและเทคนิคที่สำคัญเพื่อช่วยวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นตรรกะ (logical) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสัมฤทธิผลของกระบวนการคิด
4. รู้แนวทางการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลจากสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์
5. สามารถประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับการทำงานของตนเอง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เช่น การตรวจสอบ การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผน การจัดทำรายงาน การนำเสนองาน การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ฯลฯ ที่เชื่อมโยงกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรและผลลัพธ์ทางธุรกิจขององค์กรได้
หลักสูตรนี้เรียนอะไรบ้าง? Module 1 เข้าใจการคิดแบบตรรกะ
เข้าใจการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์
ความคิดเกี่ยวกับการตัดสินใจและพฤติกรรมอย่างไร?
มุมมองของคนกับผลของการมองสถานการณ์
หลักการพื้นฐานของการคิดเชิงตรรกะ
กระบวนการคิดเชิงตรรกะ
Module 2 การคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะ
คิดอย่างไรที่เรียกว่าคิดวิเคราะห์?
ประโยชน์และความสำคัญของการคิดวิเคราะห์
เมื่อใดที่ต้องใช้การคิดวิเคราะห์
หลักการคิดวิเคราะห์
การวิเคราะห์ด้วยข้อเท็จจริงและหลักฐาน
ข้อมูล ความเห็น ความเชื่อ หลักฐาน
Module 3 แนวทาง เทคนิค และเครื่องมือการวิเคราะห์เชิงตรรกะ
การเชื่อมโยงเหตุและผล (causal linking)
เทคนิคและเครื่องมือที่ช่วยในการคิดวิเคราะห์ให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ เช่น 5W1H, Why-Why analysis, Cause & Effect diagrams, Affinity diagrams, Relations diagrams, Tree diagrams, Matrix diagrams
การเชื่อมโยงเชิงตรรกะในการคิดวิเคราะห์
การตรวจสอบตรรกะที่ได้จากการคิดวิเคราะห์
Workshop
กรณีศึกษาการนำการคิดวิเคราะห์ไปใช้ในการทำงาน
การนำการคิดเชิงตรรกะไปใช้แก้ปัญหาหน้างาน
แบ่งกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษาปัญหาจริงขององค์กรตามที่แต่ละกลุ่มได้เตรียมมา
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร? ผู้จัดการ หัวหน้างาน หัวหน้าทีม
ผู้รับผิดชอบงานด้านการวิเคราะห์ วางแผน และกำหนดกลยุทธ์ขององค์กร
พนักงานระดับต่าง ๆ ในองค์กรที่ต้องการพัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะอย่างเป็นเหตุเป็นผล
จุดเด่นของหลักสูตร ครอบคลุมทั้งหลักคิด หลักการ วิธีการ และเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ และประยุกต์ใช้กับการจัดการปัญหาในการทำงานจริงของตนเองได้หลังจบหลักสูตร
ใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งการบรรยาย workshop กรณีศึกษา
เครื่องมือการวิเคราะห์ที่เรียนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในหน่วยงานระหว่างประเทศและองค์กรธุรกิจชั้นนำ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลและใช้งานได้จริง
ใช้การเรียนรู้จากโจทย์ทางธุรกิจจริงและประสบการณ์จริงของผู้เรียน
ผู้สอนมีประสบการณ์กว่า 10 ปีในการนำเครื่องมือนี้ไปใช้กับการวางกลยุทธ์องค์กร การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนอย่างได้ผล ทั้งกับหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศ
แนวทางในการดำเนินการฝึกอบรม
เป็นแนวทางผสมผสานในการอบรม (Integrated Training) โดยประกอบด้วย
1. การเรียนรู้แบบกลุ่ม (group learning) เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการแลกเปลี่ยนมุมมองความเห็นระหว่างกัน และช่วยฝึกการทำงานเป็นทีม การรับฟังความเห็นของเพื่อนร่วมงาน
2. การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (adult learning) จะเน้นกระบวนการให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จ เป็นการสื่อสาร 2 ทาง (interactive mode) ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้ารับการอบรม
3. การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ (action learning) เน้นการทำกิจกรรมภาคปฏิบัติและ workshop โดยมีประเด็นสำคัญที่เชื่อมโยงกับการปฏิบัติและการนำไปใช้
กระตุ้นให้ฝึกคิดและนำเสนอ
นำสิ่งที่เรียนไปทดลองใช้
กรณีศึกษาและกิจกรรมกลุ่มเพื่อหา solutions
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่มระดมสมอง
4. เน้นการกระตุ้นการคิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยใช้การสื่อสาร 2 ทาง เพื่อนำไปสู่การกระตุ้นการคิด การประเมินตัวเองและองค์การ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน
กิจกรรม Workshop ที่นำไปสู่การคิดเพื่อวิเคราะห์ และนำเสนอสิ่งที่ดีกว่าเพื่อการพัฒนาหน้าที่การทำงานและผลผลิตองค์การ
ผสมผสานกรณีศึกษา การระดมสมองและการนำเสนอผลงาน
เน้นการทำงานเป็นทีม
5. สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง ผ่านกระบวนการในการประเมินผลให้เข้าใจถึงความรู้ ความเข้าใจของทักษะที่มีในอดีต และสร้างความตระหนักถึงช่องว่าง (gap analysis) ที่มีจากสิ่งที่องค์การหรือผู้เข้าอบรมเป็นและสิ่งที่ควรจะเป็น เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้วยทักษะทางการคิดและการใช้เทคนิคต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
6. เป็นการอบรมที่ใช้กระบวนการอย่างเป็นขั้นตอน
สำรวจความรู้ ความเข้าใจผู้เข้าอบรม
สร้างความเข้าใจในความรู้
ฝึกปฏิบัติด้วย Workshop ที่สอดคล้องกับหน้าที่ปฏิบัติ
ประเมินผลสัมฤทธิ์จากการฝึกอบรม ประกอบด้วย
- ด้านการตอบสนองของผู้เข้าอบรม
- ด้านความรู้ที่ได้
- ด้านพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงหลังการเรียนรู้
- ด้านผลลัพธ์ต่อองค์การ
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม