หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การคิดเชิงวิพากษ์เพื่อการทำงานที่มีประสิทธภาพ (Critical Thinking for Productive Work)
(วิทยากรอิสระ)
ติดต่อสอบถาม
091-770-3354 / 091-770-3350 / 086-303-6747 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและเหตุผล การคิดเชิงวิพากษ์ คือ ความสามารถในการพิจารณา ประเมินและตัดสินสิ่งต่างๆ หรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ที่มีข้อสงสัยหรือ ข้อโต้แย้ง โดยการพยายามแสวงหาคำตอบที่มีความสมเหตุสมผล โดยการคิดวิพากษ์นั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีการเผชิญสถานการณ์แปลกๆ ที่ไม่คาดหวัง การพบปัญหาที่ยากๆ เกิดความสงสัยหรือเกิดข้อโต้แย้ง ในเหตุผลหรือข้ออ้างนั้น การที่ต้องการตรวจสอบ และสืบค้นความจริง
สถานการณ์การทำงานในปัจจุบัน มีการแข่งขัน และความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย ทำให้ต้องมีการปรับตัว ทั้งส่วนองค์กรและส่วนพนักงาน ผู้ปฏิบัติงานจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาศักยภาพของตนอยู่เสมอ เพื่อให้เป็นมืออาชีพที่แท้จริง มีการปรับวิธีการทำงาน ป้องกันและแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเหมาะสม สามารถสื่อสารและประสานงานกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับคุณภาพตัวเอง แข่งขันกับคนอื่น ทันสถานการณ์
การปลูกฝังให้พนักงานในองค์กรมีหลักการในการคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อการแก้ปัญหาในการทำงาน ย่อมส่งผลดีต่อการบริหารงาน และการวางแผนงานในเวลาเดียวกันได้ด้วย การฝึกฝนทักษะ การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) เป็นการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของความเสี่ยงหรือประเด็นปัญหาตามข้อเท็จจริง ข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวข้องโดยปราศจากอิทธิพลจากความรู้สึกส่วนตัว ความคิดเห็นหรืออคติ โดยมุ่งเน้นไปยังข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงเพียงอย่างเดียวและใช้หลักตรรกะเหตุผล ความเชื่อมโยงต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ มีความเป็นเหตุเป็นผล มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สามารถใช้สำหรับโต้แย้งในประเด็นและความเสี่ยงต่างๆ ที่น่าจะเกิดขึ้นมากที่สุด การประเมินและการตีความเพื่อเกิดการตัดสินใจได้อย่างสมเหตุผลเพื่อแก้ปัญหาเชิงรุก
องค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจหรือองค์กรสาธารณะ ต่างย่อมมุ่งหวังให้ลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร ได้รับความพึงพอใจจากการทำงานขององค์กร ซึ่งทักษะในการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) เพื่อการแก้ปัญหาเชิงรุก ในองค์กรถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน อันจะช่วยทำให้องค์กรไปสู่เป้าหมายที่ประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล
วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง และเป็นการกระตุ้นให้เกิดคำถามอยู่เสมอ ให้สงสัยในสิ่งที่ได้ยิน ได้เห็น ได้อ่าน และสำรวจความคิดของตนเอง กับการจัดการงาน และ การวางแผนการทำงานเชิงรุก
2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เกิดความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการคิดวิพากษ์และแนวทางหลักในการการนำหลักคิดมาใช้แก้ปัญหาต่างๆให้ประสบความสำเร็จ
3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เกิดความรู้ความเข้าใจหลักการใช้เหลักคิดและกระบวนการคิดวิพากษ์เพื่อแก้ปัญหาเชิงรุกและการนำหลักคิดไปใช้ในการดำเนินงาน
4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาทักษะทางด้านความคิด โดยเน้นพื้นฐานของการคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการคิดเชิงวิพากษ์ จะส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ แนวคิด ประสบการณ์ และ สิ่งที่ได้จากการฝึกปฏิบัตินำกลับไปใช้ในการทำงานได้จริง
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม ทฤษฎีด้านการคิดเชิงวิพากษ์ที่มีพื้นฐานมาจากผลงานของ เบนจามิน บลูม (Benjamin Bloom)
ความรู้ (Knowledge) – เน้นการจำและการอ้างอิงข้อมูล
ความเข้าใจ (Comprehension) – เน้นการเชื่อมโยงและจัดการข้อมูลที่ได้เรียนมา
การประยุกต์ใช้ (Application) – เน้นการใช้ข้อมูล โดยการนำเอากฎหรือหลักการมาประยุกต์ใช้
วิเคราะห์ (Analysis) – เป็นการคิดเชิงวิเคราะห์ส่วนประกอบและหน้าที่ของสิ่งต่างๆ
สังเคราะห์ (Synthesis) – เน้นการคิดในการนำเอาส่วนประกอบปลีกย่อยหรือรายละเอียดมารวมกันสร้างสิ่งใหม่
การประเมิน (Evaluation) – เน้นการประเมินและการตัดสินโดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน
กระบวนการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา
ยุทธวิธีการคิดวิพากษ์ เพื่อวิเคราะห์ ประเมินปัญหา และตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
การระบุและคิดทบทวนปัญหา (Redefine the problems)
คิดอย่างมีวิจารณญาณ (Adopt a critical perspective)
ใช้หลักการของเหตุผล (Use analogies)
คิดหลากหลาย (Think divergently)
ใช้แนวคิดแบบองค์รวม (Use Holistic)
ทดลองแก้ปัญหาหลายๆ แบบ (Experiment with various solutions)
ระบุประเด็นสำคัญได้ (Identify the issue)
เปรียบเทียบความเหมือนกันและความแตกต่างกัน (Comparatively)
ตัดสินใจได้ว่าข้อมูลใดใช้ได้หรือเกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ๆ (Make decision)
ตั้งคำถามที่เหมาะสมได้ (Appropriate questioning)
แยกแยะระหว่างความจริงกับความคิดเห็นได้ และตัดสินได้ว่าการกระทำใดเป็น การกระทำที่ สมเหตุสมผล (Distinguish between facts and opinions)
ตรวจสอบความคงที่ได้ (Checking consistency)
ระบุความคิด / สมมุติฐานที่แฝงไว้ (Unstated ideas) ได้
รู้ว่าอะไรเป็นการพูดแบบ Stereotype คือ การคิดถึงลักษณะของคนใดคนหนึ่งแล้วเหมารวมว่าคนอื่นๆ จะเป็นเช่นเดียวกัน
รู้ว่าข้อมูลใดเบี่ยงเบน (Bias) ข้อมูลใดเป็นการชวนเชื่อ หรือลำเอียง
รับรู้ถึงค่านิยมที่แตกต่างกันและรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี
ประเมินได้ว่าข้อมูลที่จำเป็นมีอะไรบ้าง ต้องใช้ข้อมูลมากเพียงใด
คาดเดาผลที่จะเกิดขึ้นภายหลังได้ (Consequences)
การรู้จักสังเกตและสงสัย ข้อเท็จจริงและความคิดเห็น ตรรกะและ เหตุผลวิบัติ
เทคนิคการตั้งคำถาม: หัวใจสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์
การถามแบบโสเครติค (Socratic Questioning)
การถามแบบอุปมาน (Inductive Questioning)
การถามแบบอนุมาน (Deductive Questioning)
การรับฟังอย่างมีวิจารณญาณและการโต้แย้งด้วยเหตุผล
แนวทางในการวัดหรือประเมินผลทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
ประยุกต์การคิดเชิงวิพากษ์กับการทำงานเพื่อการแก้ปัญหาเชิงรุกและการทำงานอย่างมีความหมาย (Meaningful working)
Inspiring Workshop: กิจกรรมสำรวจความคิดของตนเองต่อความท้าทายของธุรกิจในยุคดิจิตอล เปิดโอกาสให้อภิปรายแสดงความเห็นอย่างอิสระในลักษณะ ระดมสมองพร้อมกับยอมรับความคิดเห็น ของทุกคน
การบรรยายแบบให้ผู้เข้าสัมมนาเป็นศูนย์กลางการอบรม การตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและนำเสนอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง และ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop กิจกรรมกลุ่มระดมความคิด: ผู้เข้าอบรมได้เข้าไป “มีส่วนร่วม”
การเสวนาตีความ : ฝึกวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อการประยุกต์ใช้
การสัมมนาใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่และการฝึกประสบการณ์ (Adult Learning & Experiential Learning) ด้วยวิธีการบรรยายควบคู่กับการปฏิบัติ
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
การเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
กระบวนการทำ Group Coaching / Show & Share
กระบวนการโค้ช (Coaching) ที่ประเด็นสำคัญของบุคคล
การนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
การนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม