หน้าแรก / บริการ / คอร์สฝึกอบรม 2564 / Advance Softskill / การทำงานภายใต้แรงกดดัน
ติดต่อสอบถาม
0-2374-8638 / 0-2732-2345
086-303-6747 / 091-770-3350 / 091-770-3354 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
หลักการและเหตุผล การทำงานที่มุ่งมั่นกับเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่ดีเลิศ เป็นเรื่องที่ดีแต่ก็จะหนีไม่พ้นความกดดัน (Pressure) ที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน ในเรื่องใหญ่ๆ 3 เรื่องคือ
1. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด
2. สภาพแวดล้อมที่เกิดความสามารถของตัวเอง
3. การโต้ตอบกับสิ่งเร้าด้วยสภาวะของตัวเอง การบริหารจัดการความเครียดอย่างสร้างสรรค์ เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะสามารถทำให้เราทำงานภายใต้แรงกดดัน (Working Under Pressure) ได้มากขึ้น เพราะแรงกดดันที่เกิดขึ้นกับตัวเรานั้น เป็นกลไกการทำงานของสมองของตัวเองที่ได้ตอบกับสิ่งเร้าทีเกิดขึ้น หากเราสามารถใช้เทคนิคการโปรแกรมภาษาสื่อกับสมอง (Neuro Linguistic Programming) ได้เป็นอย่างดีแล้วก็จะสามารถทำให้ลดความเครียดอยู่ในระดับที่บริหารจัดการกับการทำงานได้มากขึ้น
การทำงานภายใต้แรงกดดันให้มีประสิทธิผลมากขึ้น เราต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่การทำงานอย่างมีความสุข (Working on Happiness) เพื่อให้พร้อมรับแรงกดดันที่จะเกิดขึ้น โดยไม่คาดหมายได้ตลอดเวลา ดังนั้น เทคนิคการพัฒนาตัวเองให้ทำงานอย่างมีความสุขจึงเป็นหัวใจสำคัญในการทำงานของเรา
วัตถุประสงค์ เพื่อทำให้ผู้เรียนเรียนรู้และเข้าใจ หลักการพื้นฐานของการจัดการความเครียดกับการทำงานภายใต้แรงกดดันและสามารถประยุกต์ใช้ได้ด้วยตัวเองกับสภาพแวดล้อมของตัวเอง
เพื่อให้ผู้เรียนสร้างการเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่การทำงานที่มีความสุขด้วยเทคนิคการโปรแกรมภาษสื่อสมอง (NLP) ได้อย่างมีประสิทธิผล
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถมีแนวทางพัฒนาตัวเองให้พร้อมรับกับการทำงานภายใต้แรงกดดันได้ดีขึ้นด้วย Style ของตัวเอง
เพื่อทำให้ผู้เรียนสามารถนำหลักคิด แนวทางและกรอบของหลักสูตรไปพัฒนาให้ผู้อื่นสามารถทำงานภายใต้แรงกดดันด้วยตัวของเขาเอง
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม
DAY I : การเรียนรู้และเข้าใจการทำงานภายใต้แรงกดดัน หลักการพื้นฐานของการจัดการความเครียด
สำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการความเครียด
ความหมาย : การทำงานภายใต้แรงกดดัน
ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเครียดในการทำงาน
หลักการสำคัญในการจัดการความเครียด
Workshop : สรุปแนวความคิดด้านการทำงานภายใต้แรงกดดัน
การเรียนรู้และเข้าใจสภาวะความกดดันของตัวเอง
การเข้าใจการทำงานของสมองและฮอร์โมน
NLP Communication Model
หลุมพรางทางความคิดเกี่ยวกับการทำงาน
เทคนิคการเอาชนะหลุมพราง
Workshop : การเอาชนะหลุมรางทางความคิด
การบริหารจัดการตัวเองกับการทำงานภายใต้แรงกดดัน
เทคนิคการจัดการตัวเองด้วย NLP
กิจกรรมย่อย : การบริหารจัดการตัวเอง
เทคนิคการลดแรงกดดันกับการทำงาน
กิจกรรมย่อย : การออกแบบการฝึกฝนการลดแรงกดดัน
เทคนิคการสร้างความสุขในการทำงาน
กิจกรรมย่อย : การวางแผนปฏิบัติในการสร้างความสุขในการทำงาน
การประยุกต์ใช้ NLP กับเหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นแรงกดดัน
การตั้งเป้าหมายที่มีความท้าทายความสามารถ
การเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคที่คาดไม่ถึง
การเอาชนะความกลัวในเรื่องต่างๆ
การสื่อสาร สร้างสัมพันธ์กับคนที่ติดต่อยาก
การจัดการกับอารมณ์เชิงลบที่มีต่อเหตุการณ์
Workshop : กำหนดแนวทางการพัฒนาตัวเอง
DAY II : การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีความสุข การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) สร้างความสุขในการทำงาน
EQ & EI คืออะไร?
nองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์
ความสำคัญของอารมณ์
เทคนิคการปรับเปลี่ยนอารมณ์ของคน
Workshop : การเปลี่ยนความคิดของคุณเสียใหม่ด้วยการโค้ช
การเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีความสุข (คุณเป็นได้ดีกว่าที่คุณคิด)
คุณรู้สึกอย่างไรกับเรื่องเหล่านี้
สำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับตัวเอง
พลังของจิตใต้สำนึก
ทุกอย่างเป็นทางเลือก...คุณเลือกได้
Workshop : กำหนดแนวทางการพัฒนาตัวเอง
กรณีศึกษา : การสร้างทัศนคติเชิงบวกในการทำงาน
การสื่อสาร สร้างสัมพันธ์ เพิ่มความสำเร็จในการทำงาน
ความหมายของการสื่อสารสร้างสัมพันธ์
อุปสรรคของการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ
หลุมพรางทางความคิดของการสื่อสารสร้างความสัมพันธ์
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
Workshop : เทคนิคการเอาชนะหลุมพรางทางความคิด
การทำให้ผู้อื่นทำงานภายใต้แรงกดดันได้ (Training & Group Coaching)
หลักการสำคัญของการสอนแนว T&GC
กระบวนการสอนแนว T&GC
เทคนิคการเชื่อมโยงสไลด์ให้เกิดความเข้าใจ
การทำให้ผู้อื่นเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยตัวเอง
Role Playing : กำหนดแนวทางการพัฒนาตัวเอง
การบ้าน เพื่อการนำไปฝึกฝนและปฏิบัติจริง
กรอบความคิดหลักสูตร (Course Framework)
ผู้ที่เหมาะสมกับหลักสูตรนี้ พนักงานระดับปฏิบัติการ
หัวหน้างาน
ผู้จัดการ
อาจารย์ ปกรณ์ วงศ์รัตนพิบูลย์
Executive Coach Leadership and Strategic Development Consultant
ดาวน์โหลดโปรไฟล์วิทยากร
Keyword ที่เกี่ยวข้อง : การพัฒนาตัวเอง, NLP, การสื่อสาร
แสดงความคิดเห็น