หน้าแรก / รวมหลักสูตรฝึกอบรม / หมวดทั่วไป (Other) / หลักสูตรฝึกอบรม การบริหารความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิผล (Confilict Management)
(วิทยากรที่ปรึกษา ด้านการบริหารองค์กร การขาย การตลาด การลงทุน โลจิสติกส์)
ติดต่อสอบถาม
093-649-3561 / 091-770-3350 (HOTLINE)
asst.entraining@gmail.com, cocoachentraining@gmail.com
การบริหารงาน (Management and Productivity)
การบริหารงาน (Management and Productivity)
การบริหารงาน (Management and Productivity)
การบริหารงาน (Management and Productivity)
Advance Thinking
Advance Management and Productivity
“บริหารความขัดแย้งให้เป็นผลของความสำเร็จที่องค์กรปรารถนา”
หลักการและเหตุผล ความขัดแย้งมีเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเกิดความขัดแย้งระหว่าง พนักงานกับพนักงาน หน่วยงานกับหน่วยงาน องค์กรกับองค์กร พนักงานกับองค์กร พนักงานกับลูกค้า หน่วยงานกับลูกค้า เป็นต้น จึงต้องมีการบริหารความขัดแย้งที่เป็นขั้นตอน มีการไกล่เกลี่ยเจรจาต่อรอง มีระบบการจัดการข้อขัดแย้งที่มีขั้นตอนและเป็นธรรม มีการอบรมพนักงานให้มีความรู้เรื่องของการบริหารความขัดแย้ง เพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดให้เบาบางลง และสามารถที่จะทำให้ความขัดแย้งของทั้งสองฝ่ายลงเอยมีผลประโยชน์ร่วมกันในแบบชนะชนะ
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในแต่ละรูปแบบ สามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เข้ารับการอบรมก้าวไปสู่การเป็นนักบริหารที่เข้าใจทั้งในเรื่องของ ตัวเอง ผู้อื่น ทีมงาน หน่วยงาน องค์กร ลูกค้า สถานการณ์โดยรอบต่างๆ รวมถึงขั้นตอนที่จะใช้ในการลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า สร้างวิสัยทัศน์ที่ยาวไกล ลดผลกระทบที่มาจากหลายปัจจัย และมุมมองของการบริหารที่เอื้อผลดีต่อทุกฝ่ายอย่างมีสัมพันธ์
ผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้ทักษะและเทคนิคต่างๆในการบริหารความขัดแย้ง พร้อมช่วยวิเคราะห์และพัฒนาความสามารถในด้านการไกล่เกลี่ยเจรจาต่อรองข้อขัดแย้งของทั้งสองฝ่าย ลักษณะข้อขัดแย้งในรูปแบบต่างๆ ขั้นตอนวิธีการบริหารความขัดแย้งเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด รวมไปถึงผลประโยชน์ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับเป็นที่น่าพึงพอใจและเป็นธรรม
“เรียนรู้เรื่องของความน่าเชื่อถือ จะช่วยให้การลดข้อขัดแย้งเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิผล”
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างแนวความคิดในการบริหารความขัดแย้งที่เกิดขึ้นกับตัวเอง ผู้อื่น ทีมงาน และองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมองเห็นสาเหตุของความขัดแย้ง และเทคนิคการเอาชนะหลุมพรางทางความคิดได้ด้วยตัวเอง
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งและให้คำปรึกษากับผู้เข้ารับการอบรมทั่วไป ในการบริหารความขัดแย้งได้ด้วยตัวเอง
รายละเอียดของหลักสูตรฝึกอบรม เรียนรู้และเข้าใจถึงความขัดแย้งขั้นรุนแรง
คีย์สำคัญที่เกิดความขัดแย้ง
วิเคราะห์สาเหตุของความขัดแย้ง
ลักษณะของความขัดแย้ง
ธรรมชาติของความขัดแย้ง
แนวความคิดเชิงลบเมื่อเกิดความขัดแย้ง
เรียนรู้และเข้าใจถึงภาวะผู้นำต่อการบริหารความขัดแย้งขั้นรุนแรง
ข้อดีและข้อเสียของความขัดแย้ง
ระดับของความขัดแย้งขั้นรุนแรง
ปัจจัยและผลของความขัดแย้ง
วิธีคิดวิเคราะห์เกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งขั้นรุนแรง
วิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้งขั้นรุนแรง
วิธีมองปัญหาความขัดแย้งและค้นหาข้อสรุป
กระบวนการบริหารความขัดแย้ง
หลุมพรางทางความคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง
หลักการบริหารความขัดแย้ง
เทคนิควิธีการเอาชนะหลุมพราง
กระบวนการแก้ไขปัญหาเชิงสร้างสรรค์
แก้ปัญหาความขัดแย้งในแบบชนะ-ชนะ
ทักษะที่สำคัญของผู้บริหารความขัดแย้ง
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการวิเคราะห์
ทักษะการบริหารความขัดแย้ง
ทักษะการไกล่เกลี่ย
ทักษะการเจรจา
ทักษะการมนุษยสัมพันธ์
ทักษะสำคัญในการลดความขัดแย้งกับผู้อื่น
สร้างทัศนคติเชิงบวกกับผู้อื่น
การยอมรับในความคิดเห็นที่แตกต่าง
การสื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดี
การให้ความสำคัญกับเป้าหมายมากกว่าปัญหา
การจูงใจให้ผู้อื่นคล้อยตามแนวความคิด
วิเคราะห์“ความคิด-อารมณ์-ความรู้สึก”ของตนเอง
ปรับการบริหารความขัดแย้งให้เข้ากับลักษณะของคุณ
การประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ
การหลีกเลี่ยงข้อขัดแย้งล่วงหน้า
การให้คำปรึกษาแนวทางบริหารความขัดแย้ง
การสร้างกลยุทธ์บริหารจัดการความขัดแย้งของหน่วยงาน
การพัฒนาแนวความคิดเรื่องการบริหารความขัดแย้งให้ทีมงาน
กรณีศึกษาจากประสบการณ์ตรงของวิทยากร
Workshop แบ่งกลุ่มฝึกปฎิบัติ
ให้โจทย์การบริหารความขัดแย้ง
วิเคราะห์อย่างละเอียดถึงความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
นำเสนอถึงปัญหาของความขัดแย้งและวิธีการบริหารความขัดแย้งในแบบบูรณาการ
ผู้เข้ารับการอบรมและวิทยากร ร่วมกันวิเคราะห์ความสำเร็จของแต่ละกลุ่มที่นำเสนอ
วิทยากรให้ผลลัพธ์ที่ได้ของเวิร์กช็อบนี้
สรุปเนื้อหาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ด้วยการวิเคราะห์จากผู้เข้ารับการอบรม
ข้อคิดฝากให้กับผู้เข้ารับการอบรม เพื่อนำกลับไปฝึกปฎิบัติให้เกิดการพัฒนาที่ดียิ่งขึ้น
วิธีการ (ทฤษฎี 30% ปฏิบัติ 70%) การบรรยาย – สาธิต – ประสบการณ์
เน้นให้มีส่วนร่วมคิดวิเคราะห์ เพื่อดึงศักยภาพของผู้เข้ารับการอบรมออกมา
ระดมสมอง – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ – เกมส์สอดแทรก – การแสดงบทบาทสมมติ
สไตล์การสอนของวิทยากร Psychology for motivated thinking (การใช้จิตวิทยาเพื่อกระตุ้นความคิด)
Training interactive for leverage the real performance (การฝึกอบรมเชิงโต้ตอบสำหรับการใช้ประโยชน์จากการปฏิบัติจริง)
Psychology (จิตวิทยา) และ Interactive (เชิงโต้ตอบ) คือการนำจิตวิทยามาใช้ร่วมในการฝึกอบรม และกระตุ้นความคิดของผู้เรียนอยู่ตลอดในเชิงโต้ตอบแบบอินเตอร์แอคทีฟ
กลุ่มเป้าหมายของการอบรม ผู้จัดการ
หัวหน้างาน
พนักงาน
การเรียนรู้ VDO ด้วยระบบ Learning Management Platform (LMP)
รับชมการเรียนรู้ภายใน Classroom ด้วยบวนการ Adult learning
รับชมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มย่อย Group Coaching & Clinic
รับชมการพูดคุยเชิงลึกด้วย 1:1 Coaching & Mentor
รับชมการนำเสนอโครงการเพื่อนำไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง
รับชมการนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ชัดเจน และการสรุปผลลัพธ์ของการฝึกอบรม
รับชม